การประท้วงหลัก ของ การก่อการกำเริบ_8888

1-7 สิงหาคม

ธงของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า

การประท้วงมาถึงจุดสูงสุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 นักศึกษาวางแผนให้มีการประท้วงทั่วประเทศในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ข่าวของการประท้วงไปถึงเขตชนบท และ 4 วันก่อนการประท้วง นักศึกษาทั่วประเทศออกมาประท้วงให้เส่ง วินลาออกและรัฐบาลทหารสลายตัวไป มีการติดโปสเตอร์ตามถนนในย่างกุ้งโดยสหภาพนักศึกษาพม่าทั้งมวล กลุ่มใต้ดินออกมาเคลื่อนไหวซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงของพระสงฆ์และคนงานใน พ.ศ. 2523 ในช่วง 2-10 สิงหาคม กลุ่มผู้ประท้วงได้ปรากฏตัวในเมืองส่วนใหญ่ในพม่า

ธงของ สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่กลายเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้บนท้องถนนของพม่า

ในช่วงนี้ หนังสือพิมพ์ของฝ่ายต่อต้านได้ตีพิมพ์อย่างอิสระ การเดินขบวนประท้วงสามารถทำได้ และผู้ปราศรัยได้รับการคุ้มครอง ในย่างกุ้ง สัญลักษณ์แรกของการเคลื่อนไหวปรากฏในวันพระที่ชเวดากอง ซึ่งนักศึกษาออกมาสนับสนุนการประท้วง ในบางพื้นที่มีการบริจาคเพื่อสนับสนุนการเดินขบวน

ในช่วง 2-3 วันแรกของการประท้วงในย่างกุ้ง ผู้ประท้วงได้ติดต่อทนายและพระในมัณฑะเลย์เพื่อให้เข้าร่วมการประท้วง นักศึกษาเข้าร่วมการประท้วงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับชาวพม่าหลายอาชีพ การประท้วงบนถนนในย่างกุ้งได้แพร่กระจายไปตามเมืองสำคัญ มีผู้ประท้วง 10,000 คนที่พระเจดีย์สุเล มีการเผาหุ่นของเน วินและเส่ง วิน มีการประท้วงเกิดขึ้นต่อเนื่องในสนามกีฬาและโรงพยาบาลทั่วประเทศ[19] รัฐบาลได้ประกาศกฏอัยการศึกในวันที่ 3 สิงหาคมห้ามชุมนุมเกิน 5 คนและห้ามออกนอกเคหสถานระหว่าง 20.00 – 4.00 น.

8-12 สิงหาคม

การนัดหยุดงานที่วางแผนไว้เริ่มในวันที่ 8 สิงหาคม การประท้วงอย่างหนักเกิดขึ้นทั้งพม่ารวมทั้งชนกลุ่มน้อย ชาวพุทธและมุสลิม นักศึกษา คนงาน เยาวชน ล้วนออกมาประท้วง มีการเรียกร้องให้ทหารออกมาร่วมกับการเรียกร้องของประชาชน ในมัณฑะเลย์มีการประท้วงอย่างเป็นระบบและอภิปรายเกี่ยวกับระบบหลายพรรค ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ผู้เข้าร่วมมาจากเมืองและหมู่บ้านใกล้เคียง มีการนัดหยุดงาน ชาวนาที่ไม่พอใจรัฐบาลได้ไปประท้วงที่ย่างกุ้ง

หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลไดมีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ เน วินสั่งว่า “ปืนไม่ได้มีไว้ยิงขึ้นฟ้า” ผู้ประท้วงได้ใช้ดาบ มีด ก้อนหิน สารพิษและรถจักรยานเป็นอาวุธ ผู้ประท้วงเผาสถานีตำรวจ ในวันที่ 10 สิงหาคม ทหารได้บุกเข้าไปในโรงพยาบาลย่างกุ้ง ฆ่าหมอและพยาบาลที่รักษาผู้บาดเจ็บจากการประท้วง วิทยุของรัฐบาลรายงานว่ามีผู้ถูกจับกุม 1,451 คน ทหารได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 95 คน บาดเจ็บ 240 คน

13 – 31 สิงหาคม

เส่ง วินได้ลาออกอย่างไม่มีใครขาดหมายในวันที่ 12 สิงหาคม ทำให้ผู้ประท้วงเกิดความสับสน ในวันที่ 19 สิงหาคม ท่ามกลางเสียงเรียกร้องต้องการรัฐบาลพลเรือน ดร. หม่อง หม่องได้เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งเขาเป็นพลเรือนคนเดียวในพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ามาของหม่อง หม่องทำให้นักศึกษาที่เป็นแกนนำในการประท้วงได้ประกาศปฏิเสธการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ การประท้วงเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ในมัณฑะเลย์มีผู้ออกมาประท้วง 100,000 คนรวมทั้งพระสงฆ์ และในชิตตเวอีก 50,000 คน มีการเดินขบวนในตองจีและมะละแหม่ง อีก 2 วันต่อมามีผู้คนหลากหลายอาชีพเข้าร่วมการประท้วง ในช่วงนี้

ในวันที่ 26 สิงหาคม อองซาน ซูจีได้ออกมาร่วมกับผู้ประท้วงที่พระเจดีย์ชเวดากองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการกลายเป็นสัญลักษณ์เพื่อการต่อสู้ในพม่า ซูจีเรียกร้องให้ประชาชนชุมนุมโดยสงบ ณ จุดนี้ ในเวลานั้น การลุกฮือมีลักษณะคล้ายกับการกำเริบพลังประชาชนในฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2529 ในเวลานี้ อูนุและอาวจีได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีก

กันยายน

ในการประชุมสภาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 มีผู้ออกเสียงให้ใช้ระบบหลายพรรคการเมืองถึง 90% พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าออกมาประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้ลาออก เพื่อให้มีรัฐบาลชั่วคราวเข้ามาจัดการเลือกตั้ง พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าปฏิเสธ ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงออกมาอีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2531 ในช่วงกลางเดือนกันยายน การประท้วงเป็นไปด้วยความรุนแรงและผิดกฎหมาย เกิดการประท้วงกันอย่างรุนแรง

ใกล้เคียง

การก่อการกำเริบ 8888 การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศมาเลเซีย (ค.ศ. 1968–1989) การก่อการร้าย การก่อการกำเริบในลาว การก่อการกำเริบวอร์ซอ การก่อการกำเริบฮุกบาลาฮับ การก่อเทือกเขา การก่อสร้าง การก่อการกำเริบควังจู

แหล่งที่มา

WikiPedia: การก่อการกำเริบ_8888 http://books.google.com/books?id=Oa9_uCi83RsC&pg=P... http://www.iht.com/articles/reuters/2008/08/08/asi... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=940... http://www.opendemocracy.net/article/burma-waiting... http://www.foreignaffairs.org/19890301faessay5952/... http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=13772 http://www.irrawaddy.org/research_show.php?art_id=... http://www3.soros.org/burma/Voices88/catalogue_ind... http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7543... http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/3134123.st...