การก่อการกำเริบวอร์ซอ
การก่อการกำเริบวอร์ซอ

การก่อการกำเริบวอร์ซอ


กองทัพอากาศแอฟริกาใต้[2]
กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
(เฉพาะวันที่ 18 กันยายน) กองทัพโปแลนด์ที่ 1
(จากวันที่ 14 กันยายน)[1]
กองทัพอากาศโซเวียต
(จากวันที่ 13 กันยายน) ซึกมุนต์ แบร์ลินก์
คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี(initially)5,000 WIA[7]
15,000 POW[7]

Berling 1st Army: 5,660 casualties[7]การก่อการกำเริบวอร์ซอ(โปแลนด์: powstanie warszawskie; เยอรมัน: Warschauer Aufstand) เป็นปฏิบัติการครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1944 โดยฝ่ายต่อต้านใต้ดินโปลิช ภายใต้การนำโดยกองทัพบ้านเกิด(โปแลนด์: Armia Krajowa) เพื่อปลดปล่อยกรุงวอร์ซอจากการยึดครองของเยอรมัน การก่อการกำเริบครั้งนี้ได้ประจวบกับการล่าถอยของกองทัพเยอรมันจากโปแลนด์ก่อนที่การรุกของโซเวียตจะมาถึง ในขณะที่ได้เข้าใกล้ชานเมืองทางตะวันออกของเมือง กองทัพแดงได้หยุดปฏิบัติการรบเพียงชั่วคราว ทำให้เยอรมันสามารถรวบรวมกองกำลังใหม่และปราบปรามฝ่ายต่อต้านโปแลนด์และทำลายล้างเมืองเพื่อล้างแค้น การก่อการกำเริบครั้งนี้ได้ต่อสู้รบเป็นเวลา 36 วันด้วยการสนับสนุนจากภายนอกเล็กน้อย มันเป็นความพยายามทางทหารที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินเพียงลำพังโดยขบวนการต่อต้านของยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การก่อการกำเริบครั้งนี้ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 1944 เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเทมเพสท์ที่ก่อการทั่วทั้งประเทศ เปิดฉากพร้อมเดียวกับช่วงการรุกลูบลิน-เบรสต์ของโซเวียต เป้าหมายหลักของโปลคือขับไล่เยอรมันออกไปจากวอร์ซอ ในขณะที่ได้ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะเยอรมนีได้สำเร็จ ส่วนที่เพิ่มเติม, เป้าหมายทางการเมืองของรัฐใต้ดินโปแลนด์คือการปลดปล่อยเมืองหลวงของโปแลนด์และยืนยันอำนาจอธิปไตยของโปแลนด์ก่อนที่คณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยโปแลนด์ที่ได้รับการสนับสนุนจากโซเวียตจะเข้ามาควบคุม ด้วยสาเหตุอื่นๆถัดมา รวมถึงภัยคุกกคามของมวลชนชาวเยอรมันได้ไล่ต้อนชาวโปลที่ร่างกายแข็งแรงสำหรับ"การอพยพ" ที่ถูกเรียกโดยวิทยุมอสโกของราชการโปแลนด์สำหรับการก่อการกำเริบและความต้องการทางอารมณ์ของโปลแลนด์เพื่อความยุติธรรมและการล้างแค้นต่อศัตรูหลังห้าปีที่ถูกเยอรมันยึดครอง ในช่วงแรก, โปลได้จัดตั้งการควบคุมบนพื้นที่ส่วนใหญ่ในส่วงกลางของวอร์ซอ แต่โซเวียตได้เพิกเฉยต่อความพยายามของโปลในการติดต่อทางวิทยุกับพวกเขาและไม่รุกคืบเกินขอบเขตของเมือง การต่อสู้รบกันบนถนนอย่างดุเดือดระหว่างเยอรมันและโปแลนด์ยังคงดำเนินต่อไป เมื่อวันที่ 14 กันยายน ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำวิสตูลาตรงข้ามกับตำแหน่งฝ่ายต่อต้านโปลที่ยึดครองโดยทหารโปแลนด์ที่ต่อสู้ภายใต้การบังคับบัญชาของโซเวียต 1,200 นายได้ก้าวข้ามแม่น้ำ แต่พวกเขาไม่ได้รับการเสริมกำลังโดยกองทัพแดง ด้วยเหตุนี้และขาดการสนับสนุนทางอากาศจากฐานทัพโซเวียตที่ใช้เวลาบินภายใน 5 นาที นำไปสู่การกล่าวหาว่าโจเซฟ สตาลิน​ได้สั่งให้กองกำลังของเขาหยุดอย่างมีชั้นเชิงเพื่อให้ปฏิบัติการล้มเหลวและทำให้ฝ่ายโปแลนด์ถูกบดขยี้ Arthur Koestler ได้เรียกท่าทีของโซเวียตว่า "หนึ่งในความอัปยศครั้งใหญ่ของสงครามครั้งนี้ซึ่งจะจัดอันดับให้นักประวัติศาสตร์ในอนาคตในระดับศีลธรรมเดียวกับลิดยิตแซ" วินสตัน เชอร์ชิลได้ขอร้องกับโจเซฟ สตาลินและแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ได้ช่วยเหลือแก่โปแลนด์ พันธมิตรของบริเตนแต่ไร้ประโยชน์แต่อย่างใด จากนั้น, ด้วยปราศจากการเคลียร์ทางอากาศของโซเวียต เชอร์ชิลได้ส่งสัมภาระที่ความสูงระดับต่ำกว่า 200 ฟุตโดยกองทัพอากาศหลวง กองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และกองทัพอากาศโปแลนด์ ภายใต้การบัญชาการของอังกฤษ ในปฏิบัติการได้เป็นที่รู้จักกันคือ การขนส่งทางอากาศวอร์ซอ ต่อมา,หลังได้รับการเคลียร์ทางอากาศของโซเวียต กองทัพอากาศสหรัฐได้ส่งสัมภาระจำนวนมากในความสูงระดับหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Franticแม้ว่าจะไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่นอน แต่ก็ได้มีการคาดการณ์ว่ามีสมาชิกของกลุ่มต่อต้านโปลประมาณ 16,000 คนถูกฆ่าตายและบาดเจ็บประมาณ 6,000 คน ในส่วนที่เพิ่มเติม, จำนวนพลเมืองระหว่าง 150,000 และ 200,000 คนล้วนเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดจากการประหารชีวิตหมู่ ชาวยิวที่ถูกหลบซ่อนโดยชาวโปลได้ถูกเปิดเผยโดยการค้นทั่วบ้านต่อบ้านของเยอรมันและการขับไล่มวลชนในละแวกที่ใกล้เคียงทั้งหมด เยอรมันสูญเสียทหารไปทั้งหมดกว่า 17,000 นายที่ถูกฆ่าตายและสูญหาย ในช่วงระหว่างการสู้รบในเมือง อาคารของกรุงวอร์ซอได้ถูกทำลายประมาณ 25% หลังการยอมจำนวนของกองกำลังโปแลนด์ ทหารเยอรมันได้ทำลายเพิ่มอีกเป็น 35% ของเมืองโดยบล็อกต่อบล็อกอย่างเป็นระบบ เมื่อรวมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในการบุกครองโปแลนด์ ปี ค.ศ. 1939 และการก่อการกำเริบวอร์ซอเกตโต ปี ค.ศ. 1943 เมือง 85% ได้ถูกทำลายโดยเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 ช่วงเวลาของเหตุการณ์ในแนวรบด้านตะวันออกได้บีบบังคับเยอรมันต้องละทิ้งเมือง

การก่อการกำเริบวอร์ซอ

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่1 สิงหาคม – 2 ตุลาคม 1944
(2 เดือน กับอีก 1 วัน)
สถานที่วอร์ซอ, โปแลนด์
ผลลัพธ์เยอรมนีชนะสงคราม
กรุงวอร์ซอถูกเผาทำลาย
สถานที่ วอร์ซอ, โปแลนด์
ผลลัพธ์ เยอรมนีชนะสงคราม
กรุงวอร์ซอถูกเผาทำลาย
วันที่ 1 สิงหาคม – 2 ตุลาคม 1944
(2 เดือน กับอีก 1 วัน)

ใกล้เคียง

การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย การก่อการกำเริบ 8888 การก่อการร้าย การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศมาเลเซีย (ค.ศ. 1968–1989) การก่อการกำเริบในลาว การก่อการกำเริบวอร์ซอ การก่อสร้าง การก่อการกำเริบในสาธารณรัฐมาซิโดเนีย พ.ศ. 2544 การก่อเทือกเขา การก่อการกำเริบควังจู

แหล่งที่มา

WikiPedia: การก่อการกำเริบวอร์ซอ http://www.cnn.com/2004/fyi/news/06/03/cnnpce.wars... http://www.cnn.com/CNN/Programs/presents/shows/war... http://www.polandinexile.com/rising.htm http://www.poloniatoday.com/uprisingix.htm http://www.warsaw-life.com/poland/warsaw-1944-upri... http://www.warsawuprising.com/ http://www.warsawuprising.com/faq.htm http://www.herder-institut.de/warschau/ http://wings.buffalo.edu/info-poland/exhib/warsaw/... http://ww.orla.fm