การก่อความไม่สงบ

การก่อความไม่สงบ (อังกฤษ: civil disorder, civil unrest หรือ civil strife) เป็นคำในความหมายกว้างซึ่งใช้โดยฝ่ายบังคับใช้กฎหมายในการอธิบายรูปแบบของการก่อให้เกิดความวุ่นวายของกลุ่มบุคคลตั้งแต่หนึ่งรูปแบบขึ้นไป[1] การก่อความวุ่นวายของประชาชนเป็นเครื่องแสดงและเป็นรูปแบบหนึ่งของการประท้วงต่อปัญหาทางการเมืองและสังคมขนาดใหญ่ ความรุนแรงของพฤติการณ์เกิดขึ้นพร้อมกับการแสดงออกถึงความไม่พอใจของสาธารณะ ตัวอย่างของการก่อความไม่สงบเช่น การเดินขบวนประท้วงผิดกฎหมาย การยึดพื้นที่ประท้วง และการกีดขวางในรูปแบบอื่น การจลาจล การก่อวินาศกรรม และรูปแบบของอาชญากรรมอื่น ๆ การก่อความไม่สงบมีเจตนาที่จะเป็นการแสดงออกถึงสาธารณชนและรัฐบาล แต่ได้บานปลายจนกลายมาเป็นความสับสนอลหม่านโดยทั่วไป[2]

ใกล้เคียง

การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย การก่อการกำเริบ 8888 การก่อการร้าย การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศมาเลเซีย (ค.ศ. 1968–1989) การก่อการกำเริบในลาว การก่อการกำเริบวอร์ซอ การก่อสร้าง การก่อการกำเริบในสาธารณรัฐมาซิโดเนีย พ.ศ. 2544 การก่อเทือกเขา การก่อการกำเริบควังจู