การควบคุม ของ การขายไตในประเทศอิหร่าน

การค้าและซื้อไตนั้นดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่แบะองค์กรเพื่อการกุศล โดยมีผู้รับไตและรัฐบาลจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริจาคไต รวมถึงมีองค์กรการกุศลอื่น ๆ ที่คอยอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้กับผู้ต้องปลูกถ่ายไตแต่ขาดทุนทรัพย์[8]

องค์การการกุศลเพื่อการสนับสนุนผู้ป่วยไต (Charity Association for the Support of Kidney Patients; CASKP) และ มูลนิธิการกุศลเพื่อโรคพิเศษ (CFSD) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและแพทยศาสตร์ศึกษาเป็นผู้ควบคุมการค้าขายใตภายใน้การสนับสนุนของรัฐบาล โดยมีองค์กรทั้งสองเป็นผู้จับคู่ผู้ให้กับผู้รับ จัดการตรวจสอบทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อป้องกันไม่ให้มีความไม่โปร่งใสหรือการฉ้อโกงเกิดขึ้น รัฐบังมีมาตรการ “ไม่ให้สถานปลูกถ่ายหรือแพทย์ผู้ทำการปลูกถ่ายเลือกผู้บริจาคไต”[5] ค่าตอบแทนของการบริจาคไตในอิหร่านแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ โดยทั่วไปอยู่ที่ 2,000 ถึง 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 60,000 ถึง 120,000 บาท) ต่อการค้าไตหนึ่งข้าง[2] ในทางกลับกัน ไตหนึ่งข้างที่ค้าขายในตลาดมืดระดับโลก อาจราคาสูงได้ถึง 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ (4,800,000 บาท) ในบางกรณี[9]

ใกล้เคียง

การขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินบี12 การขาดโฟเลต การขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป การขายตรง การขายไตในประเทศอิหร่าน การขาดแอนโดรเจน การขาดเลือดเฉพาะที่ การขายส่ง การขาดแคลน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขายไตในประเทศอิหร่าน http://www.cbsnews.com/8301-504083_162-5190413-504... http://www.economist.com/node/8173039?story_id=817... //ssrn.com/abstract=1263380 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11812868 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17347232 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17699338 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19377209 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1819484 http://www.aakp.org/aakp-library/Compensated-Donat... //doi.org/10.1093%2Fndt%2F17.2.213