ภูมิหลัง ของ การขายไตในประเทศอิหร่าน

การปลูกถ่ายไตครั้งแรกในภูมิภาคตะวันออกกลางมีขึ้นในอิหร่านเมื่อปี 1967 และเริ่มเป็นหัตถการที่พบได้ไม่ยากในราวกลางทศวรรษ 1980s อิหร่านยินยอมให้มีการนำไตมาปลูกถ่ายจากทั้งร่างของผู้เสียชีวิตที่มีเจตจำนงบริจาคร่างกายและผู้บริจาคอวัยวะเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ปัจจุบันมีการประมาณว่าราว 13 เปอร์เซ็นต์ของการบริจาคไตมรจากร่างผู้เสียชีวิต ลดลงจากก่อนกฎหมายอนุญาตให้มีการค้าไตจะผ่านในปี 2000 ซึ่งมีการพึ่งพาไตจากร่างผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วอยู่ที่เกือบ 99 เปอร์เซ็นต์[4] ผู้สนับสนุนรายใหญ่ของตลาดอย่างสถาบันแคโต อ้างว่านับตั้งแต่มีการนำเสนอแรงจูงใจทางธุรกิจเข้ามาในตลาดค้าไต อิหร่านสามารถกำจัดการรอคิวรับบริจาคไตเพื่อปลูกถ่ายได้ภายในปี 1999[5] อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบโดยละเอียดจะพบว่าชาวอิหร่านจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคไตระยะสุดท้ายไม่ได้รับการวินิจฉัย ไม่ได้รับการส่งไปเพื่อรับการฟอกไต และฉะนั้นจึงไม่มีสิทธิ์รับการปบูกถ่ายไตตั้งแต่แรก[6] แอแฮด ฆอดส์ (Ahad Ghods) จากโรงพยาบาลไตแฮเชมี เนแญด (Hashemi Nejad Kidney Hospital) ระบุว่า "นี่เป็นสาเหตุหลักว่าทำไมอิหร่านจึงประสบความสำเร็จในการกำจัดการรอคิวปลูกถ่ายไตได้อย่างรวดเร็ว"[7]

ใกล้เคียง

การขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินบี12 การขาดโฟเลต การขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป การขายตรง การขายไตในประเทศอิหร่าน การขาดแอนโดรเจน การขาดเลือดเฉพาะที่ การขายส่ง การขาดแคลน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขายไตในประเทศอิหร่าน http://www.cbsnews.com/8301-504083_162-5190413-504... http://www.economist.com/node/8173039?story_id=817... //ssrn.com/abstract=1263380 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11812868 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17347232 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17699338 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19377209 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1819484 http://www.aakp.org/aakp-library/Compensated-Donat... //doi.org/10.1093%2Fndt%2F17.2.213