การคาดหมายคงชีพ

การคาดหมายคงชีพ (อังกฤษ: life expectancy) เป็นค่าเฉลี่ยทางสถิติจำนวนปีที่มนุษย์คนหนึ่งมีชีวิต โดยสันนิษฐานภาวะการตายระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด ค่านี้แปรผันตามภูมิภาคและยุคสมัย ในยุคสำริดและยุคเหล็ก การคาดหมายคงชีพ คือ 26 ปี แต่ค่าเฉลี่ยของโลกใน ค.ศ. 2010 อยู่ที่ 67.2 ปี อัตราตายทารกสูงและการเสียชีวิตในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นจากอุบัติเหตุ โรคระบาด กาฬโรค สงครามและการคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนมีแพทยศาสตร์สมัยใหม่แพร่หลาย ลดการคาดหมายคงชีพโดยรวมอย่างสำคัญ แต่สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจากภยันตรายในวัยหนุ่มสาวแล้ว การคาดหมายคงชีพหกสิบหรือเจ็ดสิบปีจะมิใช่เรื่องแปลก ตัวอย่างเช่น สังคมที่มีการคาดหมายคงชีพ 40 ปี อาจมีคนจำนวนน้อยเสียชีวิตเมื่ออายุ 40 ปี ส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 30 ปีหรือหลัง 55 ปี ในประเทศที่มีอัตราตายทารกสูง การคาดหมายคงชีพเมื่อคลอดไวสูงต่ออัตราตายในช่วงขวบปีแรก ๆ ของชีวิต เพราะความไวต่อภาวะการตายของทารกนี้ การคาดหมายคงชีพเมื่ออายุศูนย์ปีธรรมดาจึงอาจทำให้การตีความรวมผิดพลาดได้ ลวงให้เชื่อว่าประชากรที่มีอายุขัยรวมต่ำจะต้องมีสัดส่วนประชากรสูงอายุน้อย[1] ตัวอย่างเช่น ประชากรคงที่สมมุติซึ่งประชากรครึ่งหนึ่งเสียชีวิตก่อนอายุห้าปี แต่ที่เหลือเสียชีวิตเมื่ออายุ 70 ปีพอดี การคาดหมายคงชีพเมื่ออายุศูนย์ปีจะอยู่ที่ประมาณ 36 ปี ขณะที่ราว 25% ของประชากรจะมีอายุระหว่าง 50 ถึง 70 ปี การวัดอีกอย่างหนึ่ง เช่น การคาดหมายคงชีพที่อายุ 5 ปี (e5) สามารถใช้แยกผลภาวะการตายของทารกเพื่อวัดอัตราตายโดยรวมธรรมดานอกเหนือจากวัยเด็กตอนต้น ในประชากรสมมุติข้างต้น การคาดหมายคงชีพเมื่ออายุ 5 ปีจะเพิ่มอีก 65 ปี การวัดประชากรรวมกลุ่ม เช่น สัดส่วนประชากรในกลุ่มอายุต่าง ๆ ยังควรใช้ร่วมกับการวัดยึดปัจเจกบุคคลอย่างการคาดหมายคงชีพรูปนัยเมื่อวิเคราะห์โครงสร้างและพลวัตประชากรในทางคณิตศาสตร์ การคาดหมายคงชีพเป็นจำนวนปีของชีวิตคาดหมาย (ในความหมายทางสถิติ) ที่เหลืออยู่ ณ อายุที่กำหนด[2] แสดงด้วย e x {\displaystyle e_{x}} ซึ่งหมายถึง จำนวนปีชีวิตเฉลี่ยต่อมาสำหรับผู้ที่ปัจจุบันอายุ x ตามประสบการณ์การตายเฉพาะ เพราะการคาดหมายคงชีพเป็นค่าเฉลี่ย บุคคลหนึ่ง ๆ อาจเสียชีวิตได้ก่อนหรือหลังการคงชีพ "คาดหมาย" หลายปี คำว่า "อายุขัยสูงสุด" มีความหมายค่อนข้างแตกต่างการคาดหมายคงชีพยังใช้ในนิเวศวิทยาพืชหรือสัตว์[3] ตารางชีพ (หรือเรียก ตารางประกันภัย) คำว่า การคาดหมายคงชีพยังอาจใช้ในบริบทสิ่งผลิต[4] แม้ใช้คำว่า อายุหิ้ง (shelf life) สำหรับผลิตภัณฑ์บริโภค และคำว่า "เวลาเฉลี่ยพัง" (mean time to breakdown, MTTB) และ "เวลาเฉลี่ยระหว่างขัดข้อง" (mean time between failures, MTBF) ใช้ในวิศวกรรมศาสตร์

ใกล้เคียง

การคารวะแบบนาซี การคายน้ำ การคาดหมายคงชีพ การคาดคะเนการปกป้องของลำดับเหตุการณ์ การคารวะแบบเบลลามี การคารวะแบบโรม การคาดการณ์ของปวงกาเร การคาดคะเนของโกลด์เบิร์ก การค้าประเวณี การคัดเลือกโดยธรรมชาติ