ความหมาย ของ การค้าประเวณี

หญิงนครโสเภณีนั้นเรียกสั้น ๆ ว่า หญิงโสเภณี หรือโสเภณี ซึ่งเดิมพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ฉบับ พ.ศ. 2493) ให้นิยามว่า "หญิงงามเมือง, หญิงคนชั่ว"

ภาคอีสานเรียกหญิงนครโสเภณีว่า "หญิงแม่จ้าง" คือ เป็นผู้หญิงที่รับจ้างกระทำชำเราสำส่อน โดยได้รับเงินหรือผลประโยชน์เป็นค่าจ้าง

นครโสเภณี

ที่มีชื่อว่า "นครโสเภณี" นั้น ราชบัณฑิตยสถานว่าเห็นจะเป็นเพราะว่า หญิงพวกนี้อาศัยเมืองหรือนครเป็นที่หาเลี้ยงชีพ หญิงโสเภณีตามชนบทนั้นไม่มี เพราะการเป็นโสเภณีนั้นเป็นที่รังเกียจของสังคม ผู้หญิงพวกนี้จึงอาศัยที่ชุมชนเป็นที่หากิน อีกประการหนึ่ง ในเมืองหรือนครนั้นมีผู้คนลูกค้ามากมาย เป็นการสะดวกแก่การค้าประเวณี

อนึ่ง ว่ากันตามรากศัพท์แล้ว ราชบัณฑิตยสถานว่า "นคร" แปลว่าเมือง "โสภิณี" แปลว่าหญิงงาม "นครโสภิณี" จึงแปลว่า หญิงงามประจำเมือง หรือหญิงผู้ทำเมืองให้งาม คำว่า "นครโสเภณี" ปัจจุบันมักเรียกสั้น ๆ ว่า "โสเภณี"

หญิงโสเภณีมักรวมกลุ่มกันในสถานค้าประเวณีที่เรียกกันว่า "ซ่องโสเภณี" ซึ่งในภาษาไทยตามกฎหมายเก่า (พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทรศก 127) ว่า "โรงหญิงนครโสเภณี" อย่างไรก็ดี หญิงโสเภณีอาจอยู่ตามโรงแรม สถานอาบอบนวด โรงน้ำชา ภัตตาคาร ร้านเสริมสวย หรือตามสถานบันเทิง หรืออาจอยู่บ้านส่วนตัวและรับจ้างร่วมประเวณีเฉพาะโอกาสก็ได้

หญิงงามเมือง

ที่แปลว่า "หญิงงามเมือง" นั้น คำนี้ความหมายเดิมหมายถึงเพียงนางบำเรอชั้นสูงประจำนครใหญ่ ๆ หรือนครหลวง มีหน้าที่ปรนนิบัติและบำเรอชายทั้งที่เป็นแขกเมืองและชาวเมืองให้เป็นที่ชอบใจโดยไม่ประสงค์จะมีลูกสืบสกุล เพราะหญิงประเภทนี้ถือว่าถ้ามีลูกแล้วตนก็ไม่เป็นที่ชอบใจของชายที่จะมาให้บำเรออีก นี้เป็นวัฒนธรรมโบราณของแถบเอเชียตะวันตก

มีตัวอย่างในสมัยพุทธกาลคือ นางสาลวดี มารดาของหมอชีวกโกมารภัจ นางเป็นนางบำเรอชั้นสูงประจำกรุงราชคฤห์ นครหลวงแคว้นมคธ (ปัจจุบันคือรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) เมื่อบำเรอชายแล้วก็เกิดตั้งท้องขึ้นจึงอ้างว่าเจ็บป่วยเพื่อปิดความจริงและไม่ยอมพบใครทั้งสิ้นตลอดเวลาตั้งท้องนั้น เมื่อคลอดแล้วได้เอาเบาะหุ้มห่อทารกใส่กระด้งไปทิ้งในเวลากลางคืน เจ้าชายอภัย พระราชโอรสพระเจ้าพิมพิสาร เสด็จไปพบและรับมาเลี้ยงจึงรอดตาย ทารกนั้นจึงได้ชื่อว่า "ชีวก" (/ชีวะกะ/) แปลว่า "ผู้มีชีวิต"

กะหรี่

คำว่า "กะหรี่" เป็นคำตลาดหมายถึง หญิงโสเภณี ตัดทอนและเพี้ยนมาจากคำเต็มว่า "ช็อกกะรี" และคำ "ช็อกกะรี" นี้ก็เพี้ยนมาจาก "ชอกกาลี" ซึ่งมาจากคำ "โฉกกฬี" ในภาษาฮินดี แปลว่า เด็กผู้หญิง คู่กับ "โฉกกฬา" (छोकरा, Chōkarā) ที่แปลว่า เด็กผู้ชาย เป็นทอด ๆ [3]

จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สันนิษฐานว่า ที่เรียกหญิงโสเภณีว่า "โฉกกฬี" อันแปลว่า เด็กผู้หญิงนั้น คงเป็นทำนองเดียวกับที่เรียกหญิงโสเภณีว่า "อีหนู"[3]

คำ "กะหรี่" ในความหมายว่า โสเภณี ยังไม่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับใด ๆ แต่ราชบัณฑิตยสถานบันทึกไว้ใน พจนานุกรมคำใหม่ ว่า "กะหรี่ น. โสเภณี (เป็นคำไม่สุภาพ)."[4] ส่วนคำ "ช็อกกะรี" ปรากฏใน พจนานุกรมคำใหม่ เช่นกัน ความว่า "ช็อกกะรี น. โสเภณี."[5]

ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้นหาแบบทวิภาค การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก

แหล่งที่มา

WikiPedia: การค้าประเวณี http://www.merriam-webster.com/dictionary/prostitu... http://www.time.com/time/health/article/0,8599,170... http://definitions.uslegal.com/p/prostitution http://www.komchadluek.net/2008/05/11/x_main_a001_... http://dara.trueid.net/detail/288969 http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=... http://www.royin.go.th/upload/246/FileUpload/1823_... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/05... https://commons.wikimedia.org/wiki/Prostitution?us...