สาเหตุที่เป็นไปได้ ของ การค้าหญิงและเด็กในประเทศไทย

สาเหตุที่ทำให้คนเข้าสู่อุตสาหกรรมทางเพศผ่านขบวนการค้ามนุษย์มีมากกว่าหนึ่งสาเหตุ โดยถูกแบ่งได้เป็นเหตุผลทางการเงิน ความรับผิดชอบต่อครอบครัวและความเชื่อทางศาสนา หลายคนสงสัยว่าผู้หญิงและเด็กขายบริการทางเพศเพราะถูกข่มเหง ถูกทอดทิ้ง ถูกลักพาตัวหรือถูกขายเพื่อชำระหนี้พ่อแม่[4]

เหตุผลทางการเงิน

เศรษฐกิจของประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในแรงผลักดันในการค้ามนุษย์ เนื่องจากหลายครอบครัวเป็นเกษตรกรที่ยากจน เช่น ภาคเหนือ ลิซ่า เรนด์ เทเลอร์ นักมนุษยวิทยาผู้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เพื่อการค้าบริการทางเพศในประเทศไทย พบว่าการค้าประเวณีในเชิงพาณิชย์เป็นอุตสาหกรรมที่ที่มีกำไรมากจากความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่ชนบทของประเทศไทยกับกรุงเทพมหานคร และระหว่างประเทศไทยกับประเทศมั่งคั่งในเอเชีย[4] เด็ก ๆ มักเริ่มจากการทำงานอื่น เช่น การคุ้ยขยะ การทำงานในโรงงาน หรือการขอทาน [7] แต่อาชีพเหล่านี้มักมีรายได้ต่ำ เด็ก ๆ จึงมักถูกชักจูงให้ไปทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศที่มีรายได้ดีกว่า การค้าประเวณีอาจเป็นวิธีเดียวที่เด็กผู้หญิงจะได้รับเงินเพียงพอที่จะรักษาที่ดินและสถานะของครอบครัว[4][5]

ปัญหาทางเศรษฐกิจไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อผู้ที่ถูกค้ามนุษย์เข้ามาในประเทศไทยด้วย เหยื่อผู้ค้ามนุษย์ที่มาจากประเทศอื่น ๆ ถูก "ล่อลวงหรือล่อลวงได้ง่ายเพราะต้องเผชิญกับความยากจน การว่างงาน ครอบครัวที่ไม่ดีและรัฐบาลที่ไม่มั่นคง" ในประเทศต้นทาง [6]

ความรับผิดชอบต่อครอบครัว

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าปัญหาความยากจนและการขาดการศึกษาไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการค้ามนุษย์ในเด็กและผู้หญิง การวิจัยของเรนด์ เทเลอร์ ส่งเสริมแนวคิดนี้ โดยพบว่าเด็กผู้หญิงจากครอบครัวยากจนและฐานะปานกลางก็มีโอกาสเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ นอกจากนี้การศึกษายังเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กสาวในชนบทจะถูกค้ามนุษย์ เนื่องจากความคาดหวังและต้นทุนโอกาสในการศึกษา หมายความว่าเด็กหญิงที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนในชั้นมัธยมปีที่ 3 หรือ 6 อาจถูกคาดหวังจากครอบครัวให้หารายได้ในเมืองใหญ่เมื่อเทียบกับพี่สาวที่ไม่มีโอกาศศึกษาต่อ เด็กหญิงเหล่านี้มักมีความเสี่ยงถูกชักชวนหรือถูกบังคับให้ค้าประเวณีเพศ หากพวกเขาอาจไม่ได้งานที่วาดฝันไว้ในเมืองและไม่อยากกลับบ้านไปมือเปล่า เด็กหญิงจำนวนมากรู้สึกถึงภาระหน้าที่ที่จะต้องเสียสละเพื่อครอบครัวที่สงเสียเลี้ยงดูมา[4]

ความเชื่อทางศาสนา

มากกว่าร้อยละ 90 ของประชาการในประเทศไทยเป็นชาวพุทธ[8] ความเชื่อทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของประเทศไทยมีส่วนทำให้ชุมชนยอมรับการค้าประเวณี ชาวพุทธไทยเชื่อว่าในการกลับชาติมาเกิด และผลบุญในชาตินี้จะส่งผลในชาติหน้า[5] การให้ความช่วยเหลือแก่พ่อแม่ของตนทำให้ได้บุญแม้เงินจะได้จากการขายบริการเพศ ผลบุญนี้เองที่จะช่วยเด็กผู้หญิงเหล่านี้ในชาติหน้า และลบล้างบาปจากการขายบริการทางเพศ[5] มีการประมาณว่าหญิงค้าประเวณีชาวไทยโอนเงินเกือบ 300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (กว่า 9,700 ล้านบาท) กลับสู่ครอบครัวในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี[9]

ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้นหาแบบทวิภาค การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก