การจับปลาของนกกาน้ำ
การจับปลาของนกกาน้ำ

การจับปลาของนกกาน้ำ

การจับปลาของนกกาน้ำ (อังกฤษ: Cormorant fishing) เป็นการประมงแบบพื้นบ้านประเภทหนึ่ง นิยมทั้งในเอเชียตะวันออกและยุโรป ด้วยการใช้นกกาน้ำ ซึ่งเป็นนกที่เชียวชาญในการว่ายน้ำและดำน้ำจับปลาด้วยปาก ด้วยความที่มีจะงอยปากยาวแหลมและพังผืดที่เท้าเชื่อมติดกันเหมือนเป็ด โดยนกกาน้ำหลายชนิดสามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ บางตัวอาจจะถือกำเนิดมาในคอกเลี้ยงของมนุษย์[1]การจับปลาด้วยวิธีการแบบนี้ เริ่มที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเป็นระยะเวลานานกว่า 1,500 ปี มาแล้ว ในจีนและญี่ปุ่น โดยชาวประมงจะพายเรือออกไปพร้อมด้วยฝูงนกกาน้ำ จากนั้นจะปล่อยให้นกลงไปในน้ำ และใช้ไม้พายตีน้ำเพื่อให้นกตื่นตัวและดำลงไป ทั้งนี้จะต้องใช้เชือกผูกคอนกด้วยเพื่อมิให้นกกลืนปลาลงไป แต่เมื่อนกตัวใดหาปลาได้ ชาวประมงจะแบ่งชิ้นปลาให้แก่นกเป็นรางวัลปัจจุบัน วิธีการประมงแบบนี้ได้ลดน้อยลงไปตามกาลเวลา แต่ในญี่ปุ่นยังคงมีการอนุรักษ์ประเพณีนี้อยู่ ที่เมืองเซะกิ จังหวัดกิฟุ มีประเพณีการจับปลาอะยุ ที่แม่น้ำนะงะระ โดยเป็นประเพณีที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 1,300 ปีแล้ว เรียกว่า "เทศกาลอุไก" (ญี่ปุ่น: 鵜飼) โดยผู้ที่จับปลาจะเรียกว่า "อุโช" (鵜匠) จะมีในระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม-15 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งถือเป็นประเพณีใหญ่มีการเฉลิมฉลองด้วยพลุและดอกไม้ไฟ[2]ที่จีน ที่ทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ ในมณฑลยูนนาน ยังคงอนุรักษ์การจับปลาด้วยนกกาน้ำอยู่ โดยถือเป็นไฮไลต์การท่องเที่ยวที่สำคัญประการหนึ่งของทะสาบแห่งนี้[3]ในยุโรป ที่ประเทศอังกฤษ พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ โปรดการเลี้ยงนกกาน้ำให้จับปลามาก ถึงขนาดสร้างบ่อน้ำขนาดใหญ่เพื่อให้นกกาน้ำได้จับปลา ในบริเวณที่ปัจจจุบันเป็นที่สถานที่ตั้งรัฐสภาอังกฤษ[4]

ใกล้เคียง

การจัดการความเครียด การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดการทาลัสซีเมีย การจัดอันดับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดเส้นทางแบบหัวหอม การจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหิดล การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ไทย การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์