เยื่อกรองและฟลักซ์ ของ การชำระเลือดผ่านเยื่อ

เยื่อกรองในตัวฟอกเลือดจะมีรูพรุนขนาดเล็กหลายขนาด รูพรุนที่มีขนาดเล็กเรียกว่า "ฟลักซ์ต่ำ" และรูพรุนที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า "ฟลักซ์สูง" โมเลกุลขนาดใหญ่เช่นเบต้า-2-microglobulin ไม่ถูกลบออกเลยเมื่อใช้ตัวฟอกแบบฟลักซ์ต่ำ; ล่าสุดมีแนวโน้มที่จะใช้ตัวฟอกแบบฟลักซ์สูง อย่างไรก็ตาม ตัวฟอกดังกล่าวต้องการเครื่องฟอกไตสมัยใหม่ที่มีสารละลายฟอกเลือดคุณภาพสูงเพื่อควบคุมอัตราการกำจัดของเหลวอย่างเหมาะสมและเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกจากสารละลายการฟอกไตที่อาจไหลกลับผ่านเยื่อกรองเข้าไปในผู้ป่วยได้

เยื่อกรองในตัวฟอกเลือดเคยทำจากเซลลูโลสเป็นหลัก (มาจากผ้าฝ้าย) พื้นผิวของเยื่อดังกล่าวไม่ใช่วัสดุชีวะ (อังกฤษ: biocompatible) อย่างมากเพราะกลุ่มไฮดรอกซิลที่ผ่านการสัมผัสแล้วจะเปิดใช้งานระบบเสริมให้กับเลือดที่กำลังผ่านเยิ่อกรอง ดังนั้นเยื่อเซลลูโลส "ที่ไม่ได้ทดแทน" ขั้นพื้นฐานได้มีการปรับเปลี่ยน หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนั้นก็เพื่อจะห่อหุ้มกลุ่มไฮดรอกซิลเหล่านี้ด้วยกลุ่มอะซิเตท (เซลลูโลส acetate); อีกการเปลี่ยนแปลงหนึ่งคือเพื่อผสมในสารบางอย่างที่จะยับยั้งการเปิดใช้งานระบบเสริมที่พื้นผิวของเยื่อกรอง(เซลลูโลสที่ผ่านการปรับเปลี่ยน) เยื่อกรอง "เซลลูโลสที่ไม่ถูกแทนที่" ต้นฉบับไม่ได้มีการใช้อย่างกว้างขวางอีกต่อไปในขณะที่เซลลูโลสอะซิเตตและตัวฟอกเลือดที่ทำจากเซลลูโลสที่ผ่านการดัดแปลงยังคงมีการใช้งาน เยื่อกรองแบบเซลลูโลสสามารถทำให้เป็นแบบฟลักซ์ต่ำหรือฟลักซ์สูงได้ขึ้นอยู่กับขนาดรูพรุนของมัน

อีกกลุ่มของเยื่อกรองจะทำจากวัสดุสังเคราะห์ โดยใช้สารโพลีเมอเช่น polyarylethersulfone, polyamide, polyvinylpyrrolidone, โพลีคาร์บอเนต, และ polyacrylonitrile เยื่อกรองสังเคราะห์เหล่านี้เปิดใช้งานระบบเสริมในระดับที่น้อยกว่าเยื่อกรองเซลลูโลสที่ไม่ถูกแทนที่ เยื่อกรองสังเคราะห์สามารถทำเป็นแบบฟลักซ์ต่ำหรือฟลักซ์สูงได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบฟลักซ์สูง

นาโนเทคโนโลยีจะถูกใช้ในบางกรณีของเยื่อกรองแบบฟลักซ์สูงล่าสุดเพิ่อสร้างขนาดรูขุมขนที่มีขนาดเดียว เป้าหมายของเยื่อกรองฟลักซ์สูงคือการให้ผ่านโมเลกุลที่ค่อนข้างใหญ่เช่นเบต้า-2-microglobulin (MW 11,600 ดาลตัน) แต่ไม่ให้ผ่านอัลบูมิน (MW ~ 66,400 ดาลตัน) ทุกเยื่อกรองจะมีรูพรุนในช่วงขนาดหนึ่ง เมื่อขนาดรูพรุนเพิ่มขึ้น บางตัวกรองแบบฟลักซ์สูงเริ่มที่จะยอมให้อัลบูมินผ่านออกจากเลือดเข​​้าสู่ตัวฟอก นี่คือความคิดที่ไม่พึงประสงค์ ถึงแม้ว่าความคิดหนึ่งถือว่าการเอาบางอัลบูมินออกอาจจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการเอาสารพิษที่มีโปรตีน (อังกฤษ: protein-bound uremic toxins) ออก

ฟลักซ์ของเยื่อกรองและผลลัพธ์

การใช้ตัวฟอกแบบฟลักซ์สูงจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ในการรักษาให้กับผู้ป่วยหรือไม่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้าง แต่การศึกษาที่สำคัญหลายครั้งบอกว่ามันมีประโยชน์ทางคลินิก การทดสอบการฟอกโดยการอุดหนุนทางการเงินจาก NIH ได้เปรียบเทียบการรอดชีวืตและการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยล้างไตแบบสุ่มเมื่อใช้เยื่อกรองทั้งแบบฟลักซ์ต่ำหรือแบบฟลักซ์สูง แม้ว่าผลลัพธ์เบื้องต้น (ทุกสาเหตุการตาย) ไม่ถึงจุดทางสถิติที่มีนัยสำคัญในกลุ่มสุ่มที่ใช้เยื่อกรองแบบฟลักซ์สูง ผลลัพธ์รองหลายตัวจะดีกว่าในกลุ่มฟลักซ์สูง[8][9] การวิเคราะห์ของ Cochrane ที่ผ่านมาได้ข้อสรุปว่า การเลือกเยื่อกรองมีผลลลัพธ์ที่ยังไม่ได้แสดงให้เห็นประโยชน์[10] การทดลองแบบสุ่มด้วยความร่วมมือจากยุโรปที่เรียกว่า การศึกษา MPO (Membrane Permeabilities Outcomes)[11] เป็นการเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มต้นล้างไตโดยใช้เยื่อกรองฟลักซ์สูงหรือฟลักซ์ต่ำ ได้พบแนวโน้มที่ไม่มีนัยสำคัญสำหรับการอยู่รอดที่ดีขึ้นในผู้ป่วยที่ใช้เยื่อกรองแบบฟลักซ์สูงและอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่มีระดับแอลบูมินในซีรั่มที่ต่ำกว่าหรือในผู้ป่วยไดที่มาจากโรคเบาหวาน

ฟลักซ์ของเยื่อกรองและเบต้า 2 microglobulin amyloidosis

นอกจากนี้เยื่อกรองสำหรับฟอกเลือดที่มีฟลักซ์สูงและ / หรือการฟอกเลือดแบบออนไลน์ไม่สม่ำเสมอ (อังกฤษ: intermittent on-line hemodiafiltration (IHDF)) ยังอาจจะเป็นประโยชน์ในการลดภาวะแทรกซ้อนของการสะสมเบต้า 2 microglobulin เนื่องจากเบต้า-2-microglobulin เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 11,600 ดาลตัน มันจึงไม่ผ่านเยื่อกรองฟอกเลือดแบบฟลักซ์ต่ำเลย Beta-2-M จะถูกกรองออกด้วยตัวฟอกเลือดฟลักซสูง และจะถูกกรองออกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งกว่าด้วย IHDF หลังจากหลายปี (โดยปกติอย่างน้อย 5-7 ปี) ่ของการสะสมของเบต้า-2-M ผู้ป่วยฟอกเลือดเริ่มที่จะพัฒนาภาวะแทรกซ้อน ได้แก่โรคอุโมงค์ carpal, ซีสต์ของกระดูก และการสะสมของ amyloid นี้ในข้อต่อและเนื้อเยื่ออื่น ๆ Beta-2-M amyloidosis สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากรวมทั้ง spondyloarthropathy และมักจะมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาข้อต่อที่หัวไหล่ การศึกษาแบบสังเกตการณ์จากยุโรปและญี่ปุ่นได้แนะนำว่าการใช้เยื่อกรองฟลักซ์สูงในโหมดการฟอกเลือดหรือ IHDF ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากเบต้า-2-M ในการเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดปกติโดยใช้เยื่อกรองฟลักซ์ต่ำ[12][13][14][15][16]

ขนาดและประสิทธิภาพของตัวกรอง

ตัวกรองมีหลายขนาดที่แตกต่างกันมาก ตัวกรองขนาดใหญ่มีพื้นที่เยื่อกรอง (A) ขนาดใหญ่เพื่อกรองสารละลายที่ใหญ่กว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อัตราการไหลของเลือดสูง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน K0 ของเยื่อกรองสำหรับตัวทำละลายนั้นๆ ดังนั้นประสิทธิภาพของตัวฟอกมักจะแสดงค่าเป็น K0A หรือผลคูณของค่าส​​ัมประสิทธิ์การซึมผ่านกับพื้นที่ของเยื่อกรอง ตัวกรองส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ผิวของเยื่อกรองอยู่ที่ 0.8-2.2 ตารางเมตรและค่าของ K0A อยู่ที่ตั้งแต่ประมาณ 500-1,500 มิลลิลิตร/นาที ค่าของ K0A อยู่ในรูปมิลลิลิตร/นาทีสามารถจะคิดว่าเป็นระยะห่างสูงสุดของตัวกรองที่อัตราการไหลของเลือดและสารฟอกที่สูงมาก

การใช้ตัวฟอกซ้ำ

ตัวฟอกอาจจะถูกนำไปทิ้งหลังการบำบัดในแต่ละครั้งหรือถูกนำกลับมาใช้ใหม่ การนำมาใช้ใหม่ต้องมีขั้นตอนที่กว้างขวางของการฆ่าเชื้อโรคในระดับที่สูง ตัวกรองที่นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ควรนำมาใช้ร่วมกับผู้ป่วยรายอื่น มีความขัดแย้งแต่แรกเกี่ยวกับว่าการนำตัวฟอกมาใช้ใหม่จะทำให้ผู้ป่วยได้ผลลัพธ์แย่ลงกว่าเดิมหรือไม่ ฉันทามติในวันนี้คือการนำตัวฟอกกลับมาใช้ใหม่ถ้าทำอย่างรอบคอบและถูกต้องจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คล้ายกับการใช้งานตัวฟอกแบบใช้แล้วทิ้ง[17]

การนำตัวฟอกกลับมาใช้ใหม่ได้มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่มีการประดิษฐ์ตัวฟอก การปฏิบัตินี้รวมถึงการทำความสะอาดตัวฟอกใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้กับผู้ป่วยรายเดิมอีกหลายครั้ง คลินิกฟอกไตจะนำตัวฟอกกลับมาใช้ใหม่เพื่อความประหยัดและลดค่าใช้จ่าย เพราะการใช้ "แบบครั้งเดียวทิ้ง" อาจมีราคาแพงและสิ้นเปลืองอย่างมาก ตัวฟอกที่มีการใช้เพียงครั้งเดียวแล้วโยนทิ้งจะสร้างของเสียชีวภาพทางการแพทย์เป็นจำนวนมากโดยไม่มีการประหยัดค่าใช้จ่าย ถ้าทำถูกต้อง ตัวฟอกที่นำกลับมาใช้ใหม่จะปลอดภัยมากสำหรับผู้ป่วยล้างไต

มีสองวิธีในการนำตัวฟอกกลับมาใช้ใหม่ คือแบบทำด้วยมือกับแบบอัตโนมัติ การนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยมือจะเกี่ยวกับการทำความสะอาดตัวฟอกด้วยมือ ตัวฟอกเป็นแบบกึ่งถอดได้แล้วถ่ายทิ้งซ้ำแล้วซ้ำอีกก่อนที่จะถูกล้างด้วยน้ำ หลังจากนั้นมันจะถูกเก็บไว้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อแบบของเหลว (PAA) เป็นเวลากว่า 18 ชั่วโมงก่อนจะนำมาใช้งานครั้งต่อไป แม้ว่าหลายคลินิกนอกสหรัฐอเมริกาจะใช้วิธีการนี ​​้คลินิกบางแห่งจะเปลี่ยนไปใช้กระบวนการที่อัตโนมัติ/คล่องตัวมากขึ้นตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติการฟอกไต กระบวนการใหม่ของการใช้ซ้ำแบบอัตโนมัติจะทำโดยวิธีการของอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1980 อุปกรณ์เหล่านี้มีประโยชน์ต่อคลินิกฟอกไตที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ - โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานทางคลินิกฟอกไตขนาดใหญ่ - เพราะอุปกรณ์ยอมให้มีวงรอบการทำงานต่อวันได้หลายรอบ ตอนแรกตัวฟอกจะถูกทำความสะอาดล่วงหน้าโดยช่างเทคนิค จากนั้นการความสะอาดจะทำโดยอัตโนมัติผ่านกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอนเป็นรอบจนในที่สุดมันก็จะถูกเติมเต็มด้วยยาฆ่าเชื้อของเหลวในการจัดเก็บ แม้ว่าการนำมาใช้ใหม่โดยอัตโนมัติจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการนำมาใช้ใหม่ด้วยมือ เทคโนโลยีใหม่ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในกระบวนการของการที่นำมาใช้ เมื่อนำกลับมาใช้มากกว่า 15 ครั้งด้วยวิธีการปัจจุบัน ตัวฟอกอาจสูญเสีย B2M, โมเลกุลขนาดกลางและความสมบูรณ์ของโครงสร้างรูพรุนของเส้นใย ซึ่งมีศักยภาพในการลดประสิทธิภาพของเซสชั่นการฟอกเลือดของผู้ป่วย ในขณะนี้คือปี 2010 เทคโนโลยีใหม่และการประมวลผลที่สูงขึ้นได้พิสูจน์ความสามารถในการกำจัดขั้นตอนการทำความสะอาด่วงหน้าโดยสิ้นเชิงและยังได้พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพในการฟื้นฟูฟังก์ชันใหม่ทั้งหมด (เรียกคืนอย่างเต็มที่) ของตัวฟอกให้อยู่ในระดับที่ประมาณเทียบเท่ากับการ ใช้ครั้งเดียวทิ้งมากกว่า 40 รอบ. [29][18] เนื่องจากอัตราการเบิกเงินคืนจากค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เริ่มลดลงมากยิ่งขึ้น, คลินิกฟอกไตจำนวนมากได้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องด้วยโปรแกรมที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากกระบวนการมีความง่ายและคล่องตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ใกล้เคียง

การชำระเลือดผ่านเยื่อ การชำเราแบบวิตถาร การชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง การชำระให้บริสุทธิ์ การชำระบัญชี การชำเราสัตว์ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การนำความร้อน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การชำระเลือดผ่านเยื่อ http://www.cannt.ca/en//files/CANNT_Nursing_Standa... http://www.hcup-us.ahrq.gov/reports/statbriefs/sb1... http://google2.fda.gov/search?q=dialyzer+reprocess... http://kidney.niddk.nih.gov/Kudiseases/pubs/choosi... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2653681 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3778681 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12490682 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14638924 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16034894 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17176915