ใบสั่งแพทย์ ของ การชำระเลือดผ่านเยื่อ

ใบสั่งแพทย์สำหรับการฟอกเลือดจะออกโดยนักไตวิทยา (ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านไต) ซึ่งจะระบุพารามิเตอร์ต่างๆสำหรับการบำบัดด้วยการฟอกเลือด พารามิเตอร์เหล่านี้รวมถึงความถี่ (จำนวนการรักษาต่อสัปดาห์), ระยะเวลาของการบำบัดในแต่ละครั้งและอัตราการไหลของเลือดและสารละลายฟอกเลือด รวมทั้งขนาดของสารฟอกไต นอกจากนี้ส่วนผสมของสารละลายฟอกเลือดบางครั้งยังมีการปรับเปลี่ยนในแง่ของระดับโซเดียมและโพแทสเซียมและระดับของไบคาร์บอเนต โดยทั่วไป ยิ่งผู้ป่วยมีร่างกายขนาดใหญ่, เขา / เธอยิ่งต้องการฟอกเลือดมากขึ้น ในทวีปอเมริกาเหนือและสหราชอาณาจักร การบำบัด 3-4 ชั่วโมง(บางครั้งถึง 5 ชั่​​วโมงสำหรับผู้ป่วยตัวใหญ่) 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเรื่องปกติ การบำบัดสองครั้งต่อสัปดาห์จะถูกจำกัดสำหรับผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตที่เหลืออยู่มากพอสมควร สี่ครั้งต่อสัปดาห์มักจะกำหนดให้สำหรับผู้ป่วยที่มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับของเหลวที่มากเกินพิกัด ในที่สุดแล้ว มีความสนใจมากขึ้นสำหรับการฟอกเลือดในบ้านระยะสั้นประจำวันซึ่งเป็นการบำบัด 1.5-4 ชั่วโมง 5-7 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีความสนใจในการฟอกเลือดในเวลากลางคืนให้กับผู้ป่วยที่บ้าน 8-10 ชั่วโมงต่อคืน 3-6 คืนต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ การฟอกไตในศูนย์ในเวลากลางคืน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ยังมีให้บริการด้วยเครื่องฟอกไตเต็มกำลังในสหรัฐอเมริกา

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน

การฟอกเลือดมักจะเกี่ยวข้องกับการกำจัดของเหลว (ผ่านการกรองยิ่งยวด (อังกฤษ: ultrafiltration)) เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะไตวายจะปัสสาวะน้อยหรือไม่มีเลย ผลข้างเคียงที่เกิดจากการเอาของเหลวออกมากเกินไปและ / หรือการเอาของเหลวออกอย่างรวดเร็วเกินไปจะได้แก่ความดันโลหิตต่ำ, ความเมื่อยล้า, การปวดหน้าอก, ตะคริวที่ขา, คลื่นไส้และปวดหัว อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการบำบัดและจะยังคงอยู่หลังจากนั้น; บางครั้งอาการเหล่านี้จะเรียกรวมกันว่าอาการเมาค้างหรือการชะล้างจากการฟอกไต (อังกฤษ: hangover หรือ dialysis washout) ความรุนแรงของอาการเหล่านี้มักจะเป็นสัดส่วนกับปริมาณและความเร็วของการเอาของเหลวออก อย่างไรก็ตามผลกระทบของจำนวนหรืออัตราการเอาของเหลวออกที่กำหนดจะแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคนและในแต่ละวัน ผลข้างเคียงเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้และ / หรือลดความรุนแรงของมันลงได้โดยการจำกัดการดื่มของเหลวระหว่างการช่วงการบำบัดในแต่ละครั้งหรือจำกัดการเพิ่มปริมาณยาของการฟอกไต เช่นทำการฟอกให้บ่อยขึ้นหรือใช้เวลานานขึ้นกว่าการบำบัดมาตรฐานที่เกินสามครั้งต่อสัปดาห์ 3-4 ชั่วโมงต่อครั้งตามตารางเวลาการบำบัด

เนื่องจากการฟอกเลือดต้องเข้าถึงระบบการไหลเวียนของเลือด ผู้ป่วยที่เข้ารับการฟอกเลือดอาจเปิดระบบไหลเวียนเลือดของตัวเองให้เผชิญกับจุลินทรีย์ที่สามารถนำไปสู่​​การติดเชื้อที่มีผลต่อลิ้นหัวใจ (เยื่อบุหัวใจอักเสบ) หรือการติดเชื้อที่มีผลต่อกระดูก (osteomyelitis) ความเสี่ยงของการติดเชื้อแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของการเข้าถึงที่ใช้ (ดูด้านล่าง) อาจมีการตกเลือด การติดเชื้ออาจลดลงให้น้อยสุดได้โดยยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในการควบคุมการติดเชื้อในทางปฏิบัติให้มากที่สุด

Heparin เป็นสารกันเลือดแข็งที่ใช้กันมากที่สุดในการฟอกเลือด เนื่องจากโดยทั่วไปมันอดทนได้ดีและสามารถกลับตัวได้อย่างรวดเร็วด้วย protamine sulfate การแพ้ Heparin อาจจะเป็นปัญหาไม่บ่อยนักและอาจทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ในผู้ป่วยดังกล่าว สารกันเลือดแข็งที่เป็นทางเลือกสามารถนำมาใช้ได้ ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงการตกเลือดสูง การล้างไตอาจสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้สารกันเลือดแข็ง

First Use Syndrome เป็นปฏิกิริยาการแพ้ (อังกฤษ: anaphylactic reaction) ที่หายากแต่รุนแรงต่อไตเทียม อาการของมันรวมถึงจาม หอบ หายใจถี่ ปวดหลัง เจ็บหน้าอกหรือเสียชีวิตอย่างกะทันหัน มันอาจเกิดจากสารฆ่าเชื้อ (อังกฤษ: sterilant) ที่ตกค้างในไตเทียมหรือจากวัสดุของเมมเบรนมันเอง ในปีที่ผ่านมาอุบัติการณ์ของโรค First Use Syndrome ได้ลดลงเนื่องจากการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของการฉายรังสีแกมมา การฆ่าเชื้อด้วยการอบไอน้ำ หรือการฉายรังสีลำแสงอิเล็กตรอนแทนการใช้สารฆ่าเชื้อที่เป็นสารเคมี และการพัฒนาของเยื่อ semipermeable ใหม่ที่มีวัสดุชีวะ (อังกฤษ: biocompatibility) สูง วิธีการใหม่ของขบวนการชิ้นส่วนการฟอกเลือดที่ผ่านการยอมรับก่อนหน้านี้จะต้องนำมาพิจารณาเสมอ ยกตัวอย่างเช่นในปี 2008 ปฏิกิริยาชนิดแรกของอาการ first-use ได้แก่การเสียชีวิต, ได้เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนยา heparin ในระหว่างขั้นตอนการผลิตที่มี chondroitin sulfate ที่มีซัลเฟสมากเกินไป (อังกฤษ: oversulfated)[2]

ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวของการฟอกเลือดจะรวมถึง amyloidosis (การผิดปรกติที่มีลักษณะของการสะสมของ amyloid (สารที่มีลักษณะคล้ายแป้ง) ในอวัยวะหรือในเนื้อเยื่อ) รวมทั้งการอักเสบและรูปแบบต่างๆของโรคหัวใจ การเพิ่มความถี่และระยะเวลาของการรักษาก็เพื่อปรับปรุงการโอเวอร์โหลดของของเหลวและหลีกเลี่ยงการขยายตัวของหัวใจที่มักเห็นได้บ่อยในผู้ป่วยดังกล่าว[3][4]

ข้างล่างนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเภทของการเข้าถึงที่แตกต่างกันของการฟอกเลือด

ใกล้เคียง

การชำระเลือดผ่านเยื่อ การชำเราแบบวิตถาร การชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง การชำระให้บริสุทธิ์ การชำระบัญชี การชำเราสัตว์ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การนำความร้อน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การชำระเลือดผ่านเยื่อ http://www.cannt.ca/en//files/CANNT_Nursing_Standa... http://www.hcup-us.ahrq.gov/reports/statbriefs/sb1... http://google2.fda.gov/search?q=dialyzer+reprocess... http://kidney.niddk.nih.gov/Kudiseases/pubs/choosi... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2653681 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3778681 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12490682 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14638924 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16034894 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17176915