ขบวนการประชาธิปไตยในเอเชีย ของ การชูสามนิ้ว

ประเทศไทย

สัญลักษณ์นี้กลายเป็นเครื่องสื่อถึงการสนับสนุนประชาธิปไตยในโลกจริงเป็นครั้งแรกหลังจากที่เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[2] และคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ผู้ก่อรัฐประหาร ได้ห้ามแสดงสัญลักษณ์ดังกล่าว[3] นับแต่นั้น ผู้ประท้วงได้เพิ่มเติมความหมายเชิงสัญลักษณ์ให้แก่การชูสามนิ้ว โดยระบุว่า หมายถึง แนวคิดเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ในการปฏิวัติฝรั่งเศส[4] ภายหลัง ผู้ประท้วงใน พ.ศ. 2563 ได้นำสัญลักษณ์นี้กลับมาใช้อีก[5]

ฮ่องกง

มีการใช้สัญลักษณ์นี้อยู่หนึ่งครั้งในระหว่างขบวนการร่ม อันเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2557[6][7] และผู้ประท้วงใน พ.ศ. 2557 นำสัญลักษณ์นี้กลับมาใช้ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ประท้วงในประเทศไทยในช่วงเดียวกัน[8] และยังขยายการใช้สัญลักษณ์นี้ออกไปเป็นเครื่องสื่อถึงการต่อต้านรัฐบาลจีน[9]

พม่า

สัญลักษณ์นี้ได้กลายเป็นเครื่องแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐประหาร พ.ศ. 2564[10]

กัมพูชา

มูร สุขหัว อดีตรองหัวหน้าพรรคสงเคราะห์ชาติ เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านใช้สัญลักษณ์นี้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับพม่าและแสดงการต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบันของฮุน เซน กับทั้งพรรคประชาชนกัมพูชาของฮุน เซน[11] การเรียกร้องดังกล่าวถูกผู้แทนพรรคประชาชนประณามว่า เป็นการบ่อนทำลายประเทศชาติ[12]

ใกล้เคียง

การชูนิ้วกลาง การชูสามนิ้ว การชู้ตลูกโทษ การชูธงเหนือไรชส์ทาค การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การชำระเลือดผ่านเยื่อ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การบูรณะจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์น้อยซิสทีน การดูแลและหาเพื่อน การสูญเสียปีสุขภาวะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การชูสามนิ้ว https://www.bangkokpost.com/thailand/general/19699... https://www.bangkokpost.com/world/2076319/crowds-g... https://www.inkstonenews.com/politics/belarus-thai... https://www.khmertimeskh.com/50815235/govt-slams-e... https://screenrant.com/hunger-games-three-fingers-... https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/campus... https://www.theguardian.com/world/2014/jun/03/hung... https://www.theguardian.com/world/2021/feb/08/thre... https://www.ucanews.com/news/cambodians-urged-to-a... https://visiontimes.com/2014/11/28/hk-protesters-e...