ประวัติ ของ การซื้ออะแลสกา

หน้าแรกการสนธิสัญญาการอนุมัติของจักรพรรดิซาร์อะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย

ในขณะที่รัสเซียอยู่ในสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างแย่ และเกรงการสูญเสียอาณานิคมอเมริการัสเซียโดยปราศจากการชดเชยในความขัดแย้งในอนาคต โดยเฉพาะกับประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ต่อสู้ในสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853-1856) ขณะที่อะแลสกาเริ่มดึงดูดความสนใจของผู้คนในเวลานั้น จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ใกล้อาณาเขตรัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีหลังจากการสู้รบจบลง นอกจากนี้การตื่นทอง (Gold rush) ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการกระตุ้นการขยายอาณานิคมของอังกฤษในเกาะแวนคูเวอร์ (Vancouver Island) ที่ซึ่งกองทัพเรือฝรั่งเศสและอังกฤษล่าถอยไปแล้วหลังการสู้รบที่ Petropavlovsk ในเขตรัสเซียตะวันออกไกล รัสเซียตัดสินใจว่าในอนาคตการสู้รบกับอังกฤษนั้นยากที่จะป้องกันดินแดนอะแลสกาไว้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายหลักและถูกครอบครองอย่างง่ายๆ ด้วยเหตุนี้จักรพรรดิซาร์อะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซียตัดสินพระทัยที่จะขายดินแดน โดยมีการเริ่มประมูลทั้งประเทศอังกฤษและอเมริกา อังกฤษแสดงออกถึงความสนใจเล็กน้อยในการซื้ออะแลสกา ใน ค.ศ. 1859 รัสเซียเสนอที่จะขายดินแดนแก่สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามการซื้อดินแดนต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากสงครามกลางเมืองอเมริกัน

หลังจากการติดตามชัยชนะของฝ่ายเหนือในสงครามกลางเมือง พระเจ้าซาร์ชี้นำให้รัฐมนตรีรัสเซียนามว่า Eduard de Stoeckl เดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะเจรจาต่อรองกับวิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด ในช่วงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1867 การเจรจาดำเนินไปตลอดคืนและจบลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาเมื่อเวลาตี 4 ของวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1867 ด้วยการซื้อดินแดนอะแลสกาในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราคาประมาณ 2 เซนต์ ต่อเอเคอร์ (4.74 ดอลลาร์ ต่อตารางกิโลเมตร)

บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์

ใกล้เคียง

การซื้ออะแลสกา การซื้อลุยเซียนา การซื้อของออนไลน์ การซื้อดับเบิลยูดับเบิลยูอีโดยเอนเดฟเวอร์ การซื้อเจ้าสาว การซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต การซื้อสินค้าจากบ้าน การสืบเชื้อสายร่วมกัน การสื่อสารในภาวะฉุกเฉินของวิทยุสมัครเล่น การดื้อแพ่ง