สิ่งพิมพ์ ของ การตรวจพิจารณาในประเทศไทย

การตรวจพิจารณาในประเทศไทยกรณีแรกเกิดขึ้นเมื่อเริ่มมีสิ่งพิมพ์ในประเทศ[7] หนังสือกฎหมายเล่มแรกของไทยถูกห้ามและทุกสำเนาและต้นฉบับเดิมถูกสั่งให้ทำลาย[8]

ภายใต้พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ตำรวจสันติบาล (เจ้าพนักงานการพิมพ์) มีอำนาจออกคำเตือนแก่สิ่งพิมพ์เผยแพร่ด้วยการละเมิดต่าง ๆ เช่น ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน[9]

จากการศึกษาของหอสมุดรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2393 ถึง 2542 มีหนังสือและวารสารถูกห้ามอย่างเป็นทางการโดยมีการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งหนังสือหลายเล่มที่ได้รับพิจารณาเป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน หนังสือหลายเล่มสะท้อนความรู้สึกต่อต้านคอมมิวนิสต์แห่งยุคสมัย แต่ตีพิมพ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งในภาษาไทย จีน เวียดนาม เกาหลี มลายู อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศสและสเปน

ในอดีต พระราชบัญญัตินี้และอีกหลายฉบับถูกใช้เพื่อจำกัดเสรีภาพสื่ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างรัฐบาลทหารที่มีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี (ถึงปี 2516) หนังสือเกี่ยวกับศักดินาไทย พะมหากษัตริย์และศาสนาที่ถูกรัฐบาลไทยมองว่าก่อปัญหาถูกห้าม และผู้ประพันธ์ถูกจำคุก[10] การก่อการกำเริบที่นำโดยนักศึกษาในปี 2516 นำมาซึ่งยุคเสรีภาพสื่อสั้น ๆ กระทั่งการปราบปรามอย่างรุนแรงของทหารในปี 2519 ซึ่งลงเอยด้วยการจำกัดเสรีภาพสื่อขนานใหญ่ ทศวรรษต่อมาค่อย ๆ เห็นการลดการตรวจพิจารณาสื่อลงเป็นลำดับ

หนังสือ

แม้จะมีการวิพากวิจารณ์ราชวงศ์ พระมหากษัตริย์และประเด็นที่ละเอียดอ่อนของรัฐบาล หนังสือทั้งนอกและในประเทศโดยปกติจะไม่ถูกห้ามและแจกจ่ายได้อย่างเสรี การถกสาธารณะทั้งหมดเกี่ยวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถึงเหตุต้องพระแสงปืนเข้าที่พระเจ้าถูกห้ามและมิให้สอนในโรงเรียนแม้กระทั่งวิชาเอกประวัติศาสตร์

The Devil's Discus โดยเรน ครูเกอร์ (2507) ผลของรายงานการสืบสวน ซึ่งสอบสวนกรณีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ถูกห้ามทันที และผู้ประพันธ์ถูกห้ามมิให้เข้าประเทศไทย แต่น่าแปลกที่ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาไทย (ใช้ชื่อว่า กงจักรปีศาจ) ในปี 2515 ไม่ถูกห้ามทั้งคู่ อย่างไรก็ดี 16 หน้าแรกของกงจักรปีศาจทุกสำเนาที่มีอยู่ถูกตัดออกและดูเหมือนจะไม่มีข้อความใดที่ขาดหายไปตรงกับต้นฉบับภาษาอังกฤษ

หนังสือ การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (2538) ของ สายพิน แก้วงามประเสริฐ ที่ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ค้นหาคำตอบ จนพบว่า วีรกรรมของท้าวสุรนารีถูกนำมาใช้เพื่อเป้าประสงค์ทางการเมืองและชี้ให้เห็นความล้มเหลวของการสอนวิชาประวัติศาสตร์ แต่เมื่อถึงปี 2539 ผู้เขียนก็ถูกชาวจังหวัดนครราชสีมาประท้วง และข่มขู่ จนสำนักพิมพ์มติชนต้องเก็บหนังสือออกจากท้องตลาด และผู้เขียนย้ายออกจากจังหวัดนครราชสีมา[11]

The Revolutionary King โดยวิลเลียม สตีเวนสัน (2542) มีความผิดพลาดพื้น ๆ และเอ่ยถึงพระมหากษัตริย์ตลอดทั้งเล่มด้วยพระนามเล่นครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า "เล็ก" หนังสือเล่มนี้ยังแสดงทฤษฎีใหม่ถึงการมีส่วนเกี่ยวข้องของญี่ปุ่นในการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หนังสือเล่มนี้ถูกห้ามอย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทยนับแต่วันตีพิมพ์ อย่างไรก็ดี ในปี 2548 ตามรายงานว่า หนังสือดังกล่าวสามารถสั่งซื้อได้จากร้านหนังสือในประเทศ โดยการแทรกแซงของพระมหากษัตริย์ แต่ไม่มีร้านใดเต็มใจเก็บไว้

ข้อโต้เถียงที่ปัจจุบันกว่าเกิดขึ้นเมื่อ เดอะคิงเนเวอร์สไมส์ (2549) โดยพอล แฮนด์ลีย์ อดีตผู้สื่อข่าวในกรุงเทพมหานคร ที่สำนักพิมพ์อธิบายว่าเป็น "ชีวประวัติตีความ" ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หนังสือเองถูกห้ามในประเทศไทยตั้งแต่ตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม 2549 แต่เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการขายหนังสือดังกล่าวถูกห้ามตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 เนื่องจากสำนักพิมพ์ไม่เผยแพร่สำเนาหรือส่วนที่คัดมาของหนังสือออกมาก่อน จึงเหมือนกับว่าหนังสือถูกห้ามเป็นการป้องกันไว้ก่อนเนื่องจากชื่อเรื่องเพียงอย่างเดียว

การตรวจพิจารณาหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาไทยที่ตีพิมพ์ในประเทศ ขณะเดียวกัน หนังสือส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 2542 ถูกห้าม "อย่างไม่เป็นทางการ" ซึ่งทำให้เป็นการยากที่จะรวบรวมข้อมูลการตรวจพิจารณา

การเซ็นเซอร์ตนเองเป็นกระแสที่เติบโตขึ้นในประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปฏิเสธจะบรรจุหนังสือ "รัฐประหาร 19 กันยา รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ซึ่งเป็นประชุมบทนิพนธ์วิจารณ์รัฐประหารเมื่อปี 2549 ในภาษาไทย เขียนโดยปัญญาชนและนักวิชาการชั้นนำ รวมทั้งนิธิ เอียวศรีวงศ์, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ธงชัย วินิจจะกูลและสุลักษณ์ ศิวรักษ์ อย่างไรก็ดี ร้านหนังสือภาษาไทยบางร้านได้นำมาวางขาย และมีรายงานว่าขายได้รวดเร็ว ในเดือนเดียวกัน ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผิดสัญญาความตกลงทั้งขายและจัดจำหน่าย "อะกูป์ฟอร์เดอะริช" ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ เป็นเพราะบางแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงมาจาก เดอะคิงเนเวอร์สไมล์ หนังสือดังกล่าวเขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ รองศาสตราจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 6 มีนาคม ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปฏิเสธการขายหนงสือตาม แม้จะไม่ได้ถูกห้ามอย่างเป็นทางการ และอธิการบดีจะกลับการตัดสินใจและมีการขายหนังสือที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยฯ ปัจจุบัน ข้อสรุปอย่างกว้างขวางในคณะผู้อภิปรายซึ่งจัดที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย คณะผู้อภิปรายคาดว่า อะกูป์ฟอร์เดอะริช จะถูกยึดและถูกห้าม

กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) ริเริมโครงการหนังสือที่ถูกห้ามเพื่อสแกนหนังสือที่ถูกห้ามในประเทศไทยให้ได้มากที่สุดเพื่อการตีพิมพ์เสรีบนเว็บ เริ่มด้วยหนังสือในหลายภาษาเกี่ยวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ระหว่างที่ยังมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอยู่นั้น หนังสือที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม (อ้างถึงคาร์ล มาร์กซ, ฟรีดริช เองเกลส์, เลนิน, สตาลิน, ทร็อตสกีหรือเหมา เจ๋อตุง) ร่วมกับสิ่งพิมพ์เผยแพร่ที่เกี่ยวข้อง เช่น แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ทุน ถูกห้าม ถึงขนาดที่มิให้ถูกใช้ และ/หรือ สอนในวิชาสังคมศาสตร์ การห้ามนี้ขยายไปถึงสิ่งพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งโดยปกติเกี่ยวข้องกับองค์การลัทธิเหมา และขบวนการผู้นิยมระหว่างประเทศปฏิวัติ (Revolutionary Internationalist Movement) ปัจเจกบุคคลที่มีวรรณกรรมคอมมิวนิสต์ (หนังสือ สิ่งพิมพ์/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียง ภาพวีดิทัศน์) ในครอบครอง จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นกบฏต่อรัฐบาลไทย

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ในราชกิจจานุเบกษามีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๖๐๙/๒๕๕๗ อาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 สั่งห้ามนำเข้าหนังสือ "A Kingdom in Crisis" ของแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ โดยอาศัยบทวิจารณ์หนังสือสองบท[12]

หนังสือพิมพ์และนิตยสาร

สื่อยังถูกตรวจพิจารณาจากการตีพิมพ์ข่าวที่สร้างความเสียหายแก่พระมหากษัตริย์ รัฐบาลไทยถูกกล่าวหาว่ากดดันสื่อให้จำกัดการรายงานข่าวที่สร้างความเสียหายนั้น

หนังสือพิมพ์ ดิอีโคโนมิสต์ ฉบับหนึ่งในปี 2545 ถูกยึด เพราะอ้างถึงพระมหากษัตริย์ "อย่างไม่เหมาะสม"[13] นิตยสารวิจารณ์การเมืองและสังคม ฟ้าเดียวกัน ถูกห้ามและผู้ขายถูกแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองที่มีสุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี[14] กฎหมายความผิดฐานหมิ่นประมาทและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกใช้เป็นปกติเพื่อการตรวจพิจารณาและการปราบทางการเมืองในประเทศไทย เช่นเดียวกับเป็นกฎหมายที่ห้ามอภิปรายหรือวิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลไทย

วันที่ 6 สิงหาคม 2548 บางกอกโพสต์ ตีพิมพ์ขึ้นหน้าหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรอยแตกที่ทางวิ่งตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เอ่ยนาม บทความที่ผู้เชี่ยวชาญการบินแนะนำให้ก่อสร้างใหม่เพื่อซ่อมแซมรอยแตกขนาดใหญ่ในทางวิ่ง การสอบสวนภายในของหนังสือพิมพ์พบว่า ขณะที่ยังมีรอยแตกขนาดเล็กบนไหล่ทางวิ่ง แหล่งข่าวอ้างอย่างผิด ๆ ว่าผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าทางวิ่งต้องมีการก่อสร้างใหม่ แหล่งข่าวนิรนาม ผู้อ้างว่าเป็นนักธุรกิจที่มีพี่ชายใกล้ชิดกับสมาชิกพรรคไทยรักไทยบางคน ปฏิเสธจะยืนยันความเห็นของเขา หัวหน้าผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการข่าวถูกตัดสินว่ากระทำการโดยประมาทในการตีพิมพ์เรื่องราวถูกไล่ออก นักวิจารณ์บางคนในหนังสือพิมพ์อ้างว่า แหล่งข่าวถูกกดดันจากรัฐบาลมิให้ยืนยันรายละเอียดของเรื่อง[15]

ในปี 2549 หม่อมราชวงศ์ทองน้อย ทองใหญ่ ราชเลขานุการส่วนพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้กำลังจะได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการผู้บริหารบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น เมื่อการแต่งตั้งของเขาถูกพระราชวังขัดขวาง หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ต้องดึงหลายพันสำเนาออกจากเครื่องพิมพ์หลังตีพิมพ์เรื่องราวโดยอ้างคำพูดของนักวิชาการฝ่ายซ้ายซึ่งเรียกร้องให้สื่อสืบสวนว่าเหตุใดหม่อมราชวงศ์ทองน้อยจึงถูกไล่ออกในลักษณะแปลก ๆ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงเรียกผู้สื่อข่าวกลุ่มหนึ่งไปยังพระราชวัง ซึ่งมีรายงานว่าพระองค์ตรัสว่า "Do you have a problem with me?"[16]

วันที่ 22 กันยายน 2558 สำนักพิมพ์ไทยของหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ปฏิเสธไม่ยอมพิมพ์บทความพาดหัว "As Thai king ails, crown’s future unclear" (เมื่อพระมหากษัตริย์ไทยทรงพระประชวร อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ชัดเจน)[17] วันที่ 1 ธันวาคม 2558 สำนักพิมพ์ไทยของหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ปฏิเสธไม่ยอมพิมพ์บทความพาดหัว "Thai economy and spirits are sagging" (เศรษฐกิจและจิตวิญญาณของไทยกำลังร่วง)[18]

แบบเรียน

ในเดือนกันยายน 2557 มีข่าวว่า ชื่อของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ถูกลบออกจากแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า อภิชนไทยปฏิบัติทั่วไป แต่จะยากขึ้นเพราะมีสื่อสังคมและการควบคุมความคิดของมหาชนไม่ง่ายเหมือนก่อนแล้ว คริส เบเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย มองว่าการตรวจพิจารณาประวัติศาสตร์เป็นความหลงผิด และว่าการตัดประวัติศาสตร์อย่างนี้ถอดมาจากคู่มือของระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ วินัย รอดจ่าย ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง ว่า การละเว้นทักษิณเป็นความผิดปกติ แต่เขาอธิบายไม่ได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม เขาว่า บรรณาธิการอาจตัดชื่อออก และชื่อทักษิณจะถูกแทรกในฉบับปรับปรุงครั้งหน้า[19]

แบบเรียนใหม่นี้ไม่กล่าวถึงรัฐบาลทักษิณและยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ระบุว่ามีรัฐบาลหนึ่งที่ "ได้ความนิยมจากประชาชนผ่านงบประมาณมหาศาล" แต่กล่าวถึงการคัดค้านการปกครองของทักษิณ โดยอธิบายการประท้วงซึ่งเกิดก่อนการโค่นอำนาจเขาว่าเป็น "ขบวนการประชาชนต่ออำนาจเผด็จการ การทุจริตและการยักยอก"[19]

ใกล้เคียง

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ การตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การตรวจพิจารณาในประเทศไทย การตรวจปัสสาวะ การตรวจการทำงานของตับ การตรึงพระเยซูที่กางเขน การตรวจสอบความปลอดภัยข้อมูล การตรวจลงตรา การตรวจเลือด การตรวจทั่วไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: การตรวจพิจารณาในประเทศไทย http://asiancorrespondent.com/44124/thailand-lifts... http://asiancorrespondent.com/61962/as-opposition-... http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_c... http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/03/WW06_0602... http://www.bangkokpost.com/tech/technews/31336/com... http://pages.citebite.com/b1u2r1x6o0eeg http://articles.cnn.com/2010-12-21/world/thailand.... http://www.deseretnews.com/article/700139296/Thail... http://translate.google.com/translate?sl=auto&tl=e... http://translate.google.com/translate?sl=auto&tl=e...