การตอบสนองเหตุตกใจ

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในสัตว์รวมทั้งมนุษย์ การตอบสนองเหตุตกใจ (อังกฤษ: startle response[1], startle reaction[1], startle reflex) เป็นการตอบสนองเพื่อป้องกันตัวโดยมากเหนืออำนาจจิตใจต่อสิ่งเร้าที่น่ากลัวหรือปรากฏอย่างฉับพลัน เช่น เสียงที่เกิดขึ้นทันที หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว หรือแสงที่จ้าขึ้น และสัมพันธ์กับอารมณ์เชิงลบ[2]การตอบสนองเกิดอย่างรวดเร็วคล้ายรีเฟล็กซ์ ไม่ได้มาจากการเรียนรู้ ก่อพฤติกรรมป้องกันตัว เช่น ปิดตา/กะพริบตา ม่านตาขยาย หน้าสยิ้วคิ้วขมวด ขมิบปาก หดคอ งอไหล่ งอแขน งอข้อศอก งอตัว/ตัวสะดุ้ง งอเข่า หายใจเร็วขึ้น เป็นต้น แต่ก็อาจไม่เกิดในสถานการณ์บางอย่าง เพราะระงับไว้ เพราะเคยชิน[1]อาจต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับสภาพทางอารมณ์[3]กับกิริยาท่าทางของร่างกาย[4]กับการเตรียมจะทำอะไรอยู่[5]และกับกิจกรรมอื่น ๆ[6]ปกติแล้ว การตอบสนองเริ่มต้นด้วยรีเฟล็กซ์ซึ่งเกิดจากก้านสมอง เพื่อป้องกันอวัยวะที่บาดเจ็บได้ง่าย เช่น หลังคอ (เมื่อสะดุ้งทั้งตัว) ตา (เมื่อกะพริบ) และเพื่อเตรียมตัวให้หนีจากสิ่งนั้นได้เป็นปฏิกิริยาที่มีตลอดชีวิตสำหรับสัตว์หลายชนิดและเชื่อว่ามีบทบาทให้เกิดโรคกลัวเฉพาะอย่าง ๆ (specific phobia)[upper-alpha 1]

ใกล้เคียง

การตอบสนองโดยสู้หรือหนี การตอบสนองเหตุตกใจ การตอบสนองของพืช การตอบของคอสแซ็กซาปอริฌเฌีย การตอบสนองโดยดูแลและผูกมิตร การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน การตอบสนองต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ การตอบสนองของก้านสมองต่อเสียง การตั้งชื่อทวินาม