การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน

การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน (อังกฤษ: immunization stress-related response, ย่อ: ISRR) เป็นการอธิบายอาการและอาการแสดงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อน ระหว่างและหลังการก่อภูมิคุ้มกัน โดยไม่ได้เกิดจากวัคซีน จัดอยู่ในกลุ่มอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse events following immunization, AFFI)[1]:2 อาการอาจพบในผู้ได้รับวัคซีนหลายคนในหลักนาที ชั่วโมงหรือวัน ซึ่งอาจพบในสถานที่เดียวกัน[1]:4สำหรับกลุ่มอาการที่มีอธิบายในคู่มือขององค์การอนามัยโลก ได้แก่ กลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน (Complex regional pain syndrome, CRPS) ซึ่งอาจรวมถึงไวต่อความปวดมากขึ้น รับรู้อุณหภูมิไม่เท่ากัน บวมหรือเหงื่อออก ตลอดจนพิสัยการเคลื่อนไหวลดลง อ่อนแรง สั่น หรือความตึงของกล้ามเนื้อผิดปกติ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยหลังตัดโรคอื่นออกแล้ว; กลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วท่ายืนตรง (Postural orthostatic tachycardia syndrome, POTS) โดยไม่มีความดันเลือดต่ำ และอาจมีอาการอย่างใจสั่น เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ชาปลายมือปลายเท้า ผิวหนังม่วง ตาพร่า และบางคนอาจหมดสติชั่วคราวได้;[1]:4–5 และปฏิกิริยาอาการทางประสาทแบบดิสโซซิเอชัน (Dissociative neurological symptom reactions, DNSR) ซึ่งอาจมีอาการอ่อนแรงหรืออัมพาต การเคลื่อนไหวผิดปกติ ท่าเดินผิดปกติ พูดลำบาก และชักแบบไม่ใช่โรคลมชัก โดยอาจเกิดได้หลายชั่วโมงหรือวันหลังได้รับวัคซีน โดยพบมากกว่าในหญิง ทั้งนี้ ตามแบบเป็นการวินิจฉัยหลังตัดโรคอื่นออกแล้ว[1]:9

ใกล้เคียง

การตอบสนองโดยสู้หรือหนี การตอบสนองเหตุตกใจ การตอบสนองของพืช การตอบของคอสแซ็กซาปอริฌเฌีย การตอบสนองโดยดูแลและผูกมิตร การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน การตอบสนองต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ การตอบสนองของก้านสมองต่อเสียง การตั้งชื่อทวินาม