ความเสี่ยงและผลข้างเคียง ของ การตัดมดลูก

อันราการเสียชีวิตจากการตัดมดลูกสูงกว่าหลายเท่าในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์อยู่ มีมะเร็ง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นอยู่เดิม[5]

ผลในระยะยาว (Long-term effect) ที่ทำให้เสียชีวิตในทุกกรณีนั้นถือว่าต่ำมาก ผู้ที่อายุต่ำกว่า 45 ปี มีอัตราการเสียชีวิตในระยะยาวหลังตัดมดลูกที่สูงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นผลข้างเคียงของฮอร์โมนส์[6][7] ผลดังกล่าวไม่ได้พบได้เฉพาะในผู้ที่ยังไม่หมดประจำเดือน แม้แต่ในผู้ที่หมดประจำเดือนแล้วก็ยังมีรายงานว่ามีการมีชีวิตรอดในระบะยาวต่ำลงหลังการผ่ารังไข่[8]

การบาดเจ็บของท่อปัสสาวะสามารถพบได้ใน 0.2 กรณีต่อการผ่าตัด 1000 ครั้งในการตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (vaginal hysterectomy) และอยู่ที่ 1.3 กรณีต่อการผ่าตัด 1,000 ครั้งในการการตัดมดลูกผ่านหน้าท้อง (abdominal hysterectomy)[9] การบาดเจ็บมักพบที่ท่อปัสสาวะส่วนปลาย ใกล้กับเส้นเอ็นอินฟันดิบูโลเพลวิก หรือตรงจุดที่ท่อปัสสาวะลอดใต้เส้นเลือดแดงยูเทอรีน (uterine artery) หลายครั้งเป็นผลจากการหนีบหยุดหลอดเลือดผิดพลาด (blind clamping) และการจัดวางเส้นเอ็น (ligature placement) ซึ่งทำไปเพื่อควบคุมเลือดคั่ง[10]

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะพักฟื้นในโรงพยาบาลอยู่ที่ 3 ถึง 5 วันหรือมากกว่าในกรณีการผ่าทางหน้าท้อง และอยู่ที่ 1 และ 2 วัน ในกรณีที่ตัดออกทางช่องคลอด หรือกรณีที่ทำหัตถการโดยมีการส่องกล้องช่วย (laparoscopically assisted)[11] หลังหัตถการ วิทยาลัยสูตินรีเวชศาสตร์อเมริกา (American College of Obstetricians and Gynecologists) แนะนำให้งดการสอดใส่สิ่งใด ๆ เข้าไปในช่องคลอด เช่น ผ้าอนามัยแบบแทมปอน หรือการมีเพศสัมพันธ์สอดใส่ เป็นเวลา 6 สัปดาห์[12]

ใกล้เคียง

การตั้งชื่อทวินาม การตั้งครรภ์ การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน การตั้งชื่อระบบไบเออร์ การตัดหลอดนำอสุจิ การตั้งชื่อดาวฤกษ์ การตัดมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก การตัดศีรษะ การตักบาตร