ที่มา ของ การต่อต้านยิว

ที่มาของคำว่า “ความเป็นอคติต่อชาวยิว” ในภาษาอังกฤษ “antisemitic” (antisemitisch) อาจจะใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1860 โดยผู้คงแก่เรียนชาวออสเตรียิวมอริทซ์ ชไตน์ชไนเดอร์ (Moritz Steinschneider) ในวลี “antisemitic prejudices” (เยอรมัน: "antisemitische Vorurteile") (ความมีอคติต่อชาวเซมิติค) [5] ชไตน์ชไนเดอร์ใช้วลีนี้ในการบรรยายความคิดของเอิร์นเนสต์ เรนัน (Ernest Renan) ที่กล่าวถึงสาเหตุที่ว่า “ชนเซมิติค” มีลักษณะต่ำกว่า “ชนอารยัน” ทฤษฎีเคลือบแคลงทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์, วัฒนธรรม และ “ความก้าวหน้า” เหล่านี้แพร่หลายไปทั่งยุโรปในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะเมื่อนักประวัติศาสตร์ชาตินิยมชาวปรัสเซียไฮน์ริค ฟอน ไทรท์สเคอ (Heinrich von Treitschke) เผยแพร่ปรัชญาการดูถูกชาติพันธุ์อย่างกว้างขวาง สำหรับไทรท์สเคอแล้วคำว่า “เซมิติค” ก็คือไวพจน์ของคำว่า “ชนยิว”

ในปี ค.ศ. 1873 นักหนังสือพิมพ์ชาวเยอรมันวิลเฮล์ม มารร์ (Wilhelm Marr) พิมพ์จุลสารชื่อ “ชัยชนะของของความเป็นยิวต่อของความเป็นเยอรมัน. ข้อสังเกตจากความเห็นนอกกรอบความคิดทางศาสนา” (“Der Sieg des Judenthums über das Germanenthum. Vom nicht confessionellen Standpunkt aus betrachtet”) ที่มารร์ใช้คำว่า “ชนเซมิติค” (Semitismus) และคำว่า “ชนยิว” แลกเปลี่ยนกัน แม้ว่ามารร์จะไม่ได้ใช้คำว่า “Antisemitismus” หรือ “ความมีอคติต่อชนเซมิติค” ในจุลสาร การใช้คำหลังนี้ก็ตามมาโดยธรรมชาติจากคำว่า “Semitismus” ที่เป็นการแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อชนยิวในฐานะกลุ่มชน หรือความเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นยิว หรือความเป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญาของความเป็นยิว ที่มารร์เห็นว่าเป็นสิ่งที่แทรกซึมเข้ามาในวัฒนธรรมเยอรมัน[6] ในจุลสารฉบับต่อมา “ทางสู่ชัยชนะของความเป็นเยอรมันต่อความเป็นยิว” (The Way to Victory of the Germanic Spirit over the Jewish Spirit) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1880 มารร์ขยายความคิดเพิ่มขึ้นและเริ่มใช้คำภาษาเยอรมัน “Antisemitismus” (ความมีอคติต่อชาวเซมิติค) ที่มาจากคำว่า “Semitismus” ที่ใช้ในจุลสารฉบับแรก

จุลสารกลายมาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ในปีเดียวกันมารร์ก็ก่อตั้ง “กลุ่มสันนิบาตผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อเซมิติค” (Antisemiten-Liga) ซึ่งเป็นองค์การเยอรมันองค์การแรกที่มีจุดประสงค์ในการต่อต้านสิ่งที่กลุ่มเห็นว่าเป็นอันตรายต่อประเทศเยอรมนีและวัฒนธรรมเยอรมันที่มาจากชาวยิวและอิทธิพลของชาวยิว และสนับสนุนโครงการโยกย้ายประชากร (Population transfer) ด้วยกำลังออกจากเยอรมนี

เท่าที่ทราบคำว่า “ความมีอคติต่อชาวเซมิติค” เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1881 เมื่อมารร์พิมพ์ “Zwanglose Antisemitische Hefte” และวิลเฮล์ม เชอร์เรอร์ ใช้คำว่า “Antisemiten” ใน “สิ่งพิมพ์เสรีใหม่” (Neue Freie Presse) ฉบับเดือนมกราคม

ใกล้เคียง

การต่อต้านระบอบนาซีของชาวเยอรมัน การต่อต้านยิว การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563 การต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านลัทธิราชาธิปไตยในประเทศญี่ปุ่น การต่อสู้ระหว่างชนชั้น การต่อต้านภาษี การต่อสู้ด้วยโต๊ะ บันได และเก้าอี้ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ การต่อสู้ข้างถนน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การต่อต้านยิว http://www.warrenkinsella.com/words_extremism_nas.... http://www.archive.org/details/DerSiegdesJudenthum... http://middleeastinfo.org/library/lewis_antisemiti... //th.wikibooks.org/wiki/Special:Search/Antisemitis... //commons.wikimedia.org/wiki/Category:Antisemitism //th.wikiquote.org/wiki/Antisemitism //th.wikisource.org/wiki/Special:Search/Antisemiti... //th.wikiversity.org/wiki/Special:Search/Antisemit... //th.wiktionary.org/wiki/Antisemitism http://observer.guardian.co.uk/uk_news/story/0,690...