จรรยาบรรณในการทำการทดลอง ของ การทดลองของมิลแกรม

การทดลองของมิลแกรมนั้น ได้สร้างข้อกังขาต่างๆ เรื่องของงานวิจัยเชิงจรรยาบรรณทางการทดลองวิทยาศาสตร์ อันเนื่องมาจากความเครียดทางอารมณ์ขั้นร้ายแรง และความขัดแย้งภายในของอาสาสมัครจริง นักวิจารณ์บางท่านอย่าง จีนา เพอร์รี ได้แย้งขึ้นมาว่าอาสาสมัครจริงอาจจะไม่ได้ตั้งใจจะทำมากกว่า แต่มิลแกรมก็ได้ออกมาแย้งว่า ร้อยละ 84 จากการทำแบบสำรวจกับอาสาสมัครจริงบอกว่าพวกเขานั้น "ดีใจ" หรือ "ดีใจมากๆ" ทีได้ร่วมการทดลอง ส่วนร้อยละ 15 ก็เลือกว่า "เฉยๆ (neutral)" (จากผลการสำรวจของอาสาสมัครจริง 92%) และที่เหลือส่วนใหญ่ก็เขียนจดหมายขอบคุณ อาสาสมัครจริงหลายคนที่ออกไป ก็เขียนคำร้องมาขอเป็นผู้ช่วยกับมิลแกรมด้วย

หกปีต่อมา (อยู่ในประมาณช่วงสงครามเวียดนาม) มีอาสาสมัครจริงหนึ่งคน ได้เขียนจดหมายถึงมิลแกรม ว่าทำไมถึงดีใจ ทั้งๆ ที่เต็มไปด้วยความกดดันว่า :

ตอนข้าพเจ้าถูกกดขี่ในช่วงปี ค.ศ. 1964 ข้าพเจ้าเชื่อมาตลอดว่ากำลังทำร้ายใครบางคนอยู่ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เอะใจเลย ว่าทำไมข้าพเจ้าถึงทำอย่างนั้น น้อยคนนักที่จะทำตามจิตใต้สำนึกตัวเอง เพราะต้องทำตามคำสั่ง ... ถ้าจะให้ข้าพเจ้าต้องไปเกณฑ์ทหารด้วยความที่เชื่อฟังคำสั่งของผู้มีอำนาจนั้น ก็เข้าใจได้ว่าแค่คำสั่งนั้น ก็สามารถทำให้ทำสิ่งที่ผิดมหันต์จนข้าพเจ้าเองยังหวาด ... ข้าพเจ้าเองก็เตรียมใจที่จะติดคุดติดตะรางแล้วถ้าข้าพเจ้าเองไม่ใช่ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม ตามจริง มันก็เป็นแค่แบบทดสอบว่าข้าพเจ้าเองจะซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่ตัวเองเชื่อได้แค่ไหน ที่ข้าพเจ้าหวังก็เพียงว่าสมาชิกบนบอร์ดของข้าพเจ้าจะยังทำตัวให้สมกับจิตใต้สำนึกของพวกเขา...[9][10]

ในหนังสือ Obedience to Authority: An Experimental View มิลแกรมได้แย้งต่อการโจมตีด้านจรรยาบรรณในการทดลอง เนื่องจากผลที่เขาต้องการรู้นั้น จะเป็นการเปิดเผยความจริงไม่พึงประสงค์ของธรรมชาติของมนุษย์[11] ส่วนข้อโต้แย้งอื่นๆ จะเป็นเรื่องปัญหาอันร้ายแรงในการทดลองทางวิธีวิทยานี้

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองของมิลแกรม การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดลองของมิลแกรม http://neuron4.psych.ubc.ca/~schaller/Psyc591Readi... http://abcnews.go.com/Primetime/story?id=2765416&p... http://www.granta.com http://www.hippolytic.com/blog/2007/01/stanley_mil... http://www.psychologytoday.com/articles/200203/the... http://www.stanleymilgram.com/pdf/understanding%20... http://www.yalealumnimagazine.com/issues/2007_01/m... http://www.ocf.berkeley.edu/~wwu/psychology/compli... http://www.garfield.library.upenn.edu/classics1981... http://perso.wanadoo.fr/qualiconsult/milgramb.html