การออกแบบการทดลอง ของ การทดลองรีคัฟเวอรี

การทดลองรีคัฟเวอรี เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมขนาดใหญ่[1][6] เมื่อผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 เข้าร่วมในการทดลอง พวกเขาจะถูกสุ่มโดยอัตโนมัติเพื่อรับการรักษาแนวทางใดแนวทางหนึ่ง (หรืออาจได้รับการรักษาตามมาตรฐานปรกติ) วัตถุประสงค์หลักของการทดลองคือ "ให้การประเมินที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ ผลของการรักษาที่มีต่อการเสียชีวิตทุกสาเหตุที่ 28 วันหลังจากการสุ่มครั้งแรก"[1][6] เป็นการทดลองแบบเปิด ซึ่งผู้ที่ได้รับการรักษา และแพทย์ที่เข้าร่วมทั้งคู่ต่างทราบว่าการรักษาแบบใดที่กำลังดำเนินการอยู่[1]

เป็นการทดลองทางคลินิกแบบปรับได้หลายแนวทาง สามารถเพิ่มการรักษาใหม่เข้าไปในการศึกษาวิจัยในขณะที่ดำเนินไปและ "แนวทาง" การรักษาอื่น ๆ จะไม่ใช้กับผู้ลงทะเบียนใหม่เพื่อความปลอดภัย[3]

โครงการวิจัยได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดภาระการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลซึ่งในเวลานั้น (มีนาคม พ.ศ. 2563)[7] กำลังเผชิญกับการคาดการณ์ว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาจะมีเป็นจำนวนมาก[8]

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดลองของมิลแกรม การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดลองรีคัฟเวอรี http://www.clinicaltrials.gov/ //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/32576548 //doi.org/10.1038%2Fs41587-020-0528-x //doi.org/10.1136%2Fbmj.m2512 http://www.ox.ac.uk/news/2020-06-16-dexamethasone-... https://www.nature.com/articles/s41587-020-0528-x https://www.nytimes.com/2020/06/24/health/coronavi... https://www.clinicaltrials.gov/show/NCT04381936 https://www.covid19treatmentguidelines.nih.gov/dex... https://www.who.int/dg/speeches/detail/who-directo...