หลักทั่วไป ของ การทับศัพท์ภาษาจีน

1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษาจีนกลางที่เขียนด้วยอักษรโรมันระบบพินยิน (Pīnyīn System) แต่เพื่อความสะดวกแก่การเขียนทับศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ระบบอื่น ได้แก่ ระบบเวด-ไจลส์ (Wade-Giles System) ระบบเยล (Yale System) และระบบจู้ยิน ฝูฮ่าว (Zhùyīn Fúhào System) ซึ่งยังมีปรากฏในหนังสือต่าง ๆ อยู่มาก จึงได้เทียบเสียงของระบบดังกล่าวไว้ด้วย

2. การเทียบเสียงพยัญชนะและสระ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงพยัญชนะและสระภาษาจีน และตัวอักษรในตารางแทนอักษรโรมันทั้งตัวตาม (ตัวเล็ก) และตัวนำ (ตัวใหญ่)

3. เครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ในระบบพินยิน ระบบเยล และระบบจู้ยิน ฝูฮ่าวใช้ ˉ ´ ˇ ` ส่วนในระบบเวด-ไจลส์ใช้ 1 2 3 4 เทียบเคียงกับเสียงวรรณยุกต์ไทยได้ดังนี้

3.1 เสียงหนึ่ง ใช้เครื่องหมาย ˉ หรือ 1 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงสามัญ[# 1]3.2 เสียงสอง ใช้เครื่องหมาย ´ หรือ 2 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงจัตวา3.3 เสียงสาม ใช้เครื่องหมาย ˇ หรือ 3 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงเอก[# 2] (ยกเว้นเมื่ออยู่หน้าพยางค์ที่มีเสียงสาม ให้ออกเสียงเป็นเสียงสองโดยคงเครื่องหมายเสียงสาม เช่น Kǒng Zǐ = โขงจื่อ, ขงจื่อ แทนที่จะเป็น โข่งจื่อ, ข่งจื่อ)3.4 เสียงสี่ ใช้เครื่องหมาย ` หรือ 4 ในการทับศัพท์เลือกใช้เสียงโทคำที่ออกเสียงเบาจะไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับ

4. ความสั้น-ยาวของเสียงสระ เสียงสระในภาษาจีนไม่มีความแตกต่างระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาวเหมือนในภาษาไทย โดยปรกติพยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสามจะออกเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ ยกเว้นเสียงสี่จะออกเสียงสั้นเสมอ

5. เครื่องหมายพินทุ พินทุที่อยู่ใต้ตัวพยัญชนะแสดงว่าพยัญชนะตัวนั้น ๆ ออกเสียงควบกล้ำกับตัวที่ตามมา ยกเว้นตัว ห ที่มีเครื่องหมายพินทุกำกับจะออกเสียงควบกล้ำและเป็นอักษรนำด้วย เช่น Huá = หฺวา, Huái = ไหฺว, หฺวาย

6. สระประสม เสียงสระประสมบางเสียงในภาษาจีน เมื่อถอดเป็นอักษรไทยแล้วจะมีเสียงพยัญชนะ ย หรือ ว อยู่ด้วย ให้ใส่เครื่องหมายพินทุใต้ตัวพยัญชนะต้นซึ่งผสมกับสระนั้น เช่น jiǒng = จฺย่ง, yuè = เยฺว่

7. เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ ช ฝ ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น า, ชือ, เฝิน, ฟั่

ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งในการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านได้สะดวก เช่น yún = ยฺวิน

8. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ ให้ออกเสียงพยัญชนะนั้นด้วย เช่น érzi = เอ๋อร์จึ, fēi = เฟย์

9. การเว้นวรรค ในการเขียนทับศัพท์ภาษาจีน การแยกคำให้ยึดตามต้นฉบับ ยกเว้นคำที่ใช้ในภาษาไทยจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น Kǒng Zǐ = ขงจื่อ (ขงจื๊อ)

หมายเหตุ
  1. เสียงหนึ่งในภาษาจีนกลางใกล้เคียงกับเสียงสามัญในภาษาไทย
  2. เสียงสามในภาษาจีนกลางใกล้เคียงกับเสียงเอก+เสียงจัตวาในภาษาไทย

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทับศัพท์ การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพปราบอ้วนสุด การทัพกัวดัลคะแนล