ภูมิหลัง ของ การทัพนอร์เวย์

ความสำคัญของนอร์เวย์

ทั้งสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสต่างก็ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือทางทหารกับโปแลนด์ และอีกสองวันหลังจากการรุกรานโปแลนด์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทั้งสองประเทศก็ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้งสองก็มิได้เปิดแนวรบด้านตะวันตก และมิได้เกิดการรบกันครั้งสำคัญใด ๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายเดือนที่เรียกกันว่า สงครามลวง[ต้องการอ้างอิง]

ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายกำลังมองหาแนวรบที่สอง สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร ฝรั่งเศสนั้นมีความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการรบแบบสนามเพลาะอีกครั้งแบบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สำหรับฝ่ายเยอรมนี นายทหารระดับสูงนั้นมีความเห็นว่าเยอรมนีนั้นยังมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะทำการรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในขณะนี้ ดังนั้นจึงควรโจมตีนอร์เวย์ก่อนจึงจะสามารถแผ่อิทธิพลออกไปในภายหลัง

นอร์เวย์ซึ่งยังคงวางตัวเป็นกลาง นั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายโดยมีสองสาเหตุ อย่างแรกคือความสำคัญของเมืองท่านาร์วิก ซึ่งสามารถขนส่งเหล็กและโลหะจากสวีเดน ซึ่งเยอรมนีต้องการมาก เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเป็นเส้นทางสำคัญมากเป็นพิเศษในช่วงที่ทะเลบอลติกนั้นได้กลายเป็นน้ำแข็ง นาร์วิกยังได้มีความสำคัญมากขึ้นต่ออังกฤษ เมื่ออังกฤษทราบว่าโครงการแคทเธอรีนของอังกฤษที่จะครอบครองทะเลบอลติกนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ อย่างที่สอง เมืองท่าของนอร์เวย์ยังเป็นช่องว่างของการปิดล้อมเยอรมนี ซึ่งเรือรบเยอรมันสามารถแล่นออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกได้

นอร์เวย์ยังถูกมองจากพรรคนาซีว่าเป็นแหล่งกำเนิดของชนชาตินอร์ดิก-อารยันตามคำกล่าวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซี

การยึดครองนอร์เวย์ยังมีผลสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการใช้อำนาจทางทะเลเพื่อต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร เมื่อนอร์เวย์ยังคงดำรงตนเป็นกลาง โดยไม่ถูกยึดครองโดยคู่สงครามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอร์เวย์ก็จะยังคงไม่เป็นพิษภัย แต่ความอ่อนแอในการป้องกันชายฝั่งของนอร์เวย์ และความไร้ความสามารถของกองทัพบกที่จะต่อกรกับศัตรูที่เข้มแข็งกว่า นายพลเรือรีดเดอร์ได้ชี้ให้เห็นหลายครั้งถึงความเป็นอันตรายของนอร์เวย์ที่จะมีแก่เยอรมนีโดยอังกฤษ เมื่ออังกฤษฉวยโอกาสที่จะรุกรานนอร์เวย์ ถ้ากองเรืออังกฤษยึดเมืองท่าเบอร์เกน นาร์วิกและทรอนด์แฮมได้ เยอรมนีจะถูกปิดล้อมทางทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง และกองทัพเรือเยอรมันที่ประจำอยู่ในทะเลบอลติกจะตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง

สงครามฤดูหนาว

ดูบทความหลักได้ที่ สงครามฤดูหนาว

สหภาพโซเวียตรุกรานฟินแลนด์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1939 ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นได้ร่วมมือกับเดนมาร์กและสวีเดนที่จะช่วยเหลือสวีเดนจากผู้รุกราน

เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นโอกาสสำหรับฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งได้มอบความเห็นใจอย่างจริงใจต่อฟินแลนด์ และยังเห็นโอกาสที่จะอ้างที่จะส่งกองกำลังของตนเขาไปยึดครองแหล่งแร่ในสวีเดนและเมืองท่าในนอร์เวย์ แผนการเริ่มต้นนั้นกำหนดให้มีกองพลทหารราบ 2 กองพลซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนทหารเป็น 150,000 นาย เพื่อที่จะทำการรบในสวีเดนตอนกลาง

การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลแก่เยอรมนี สนธิสัญญาเมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟนั้นได้ทำให้ฟินแลนด์กลายเป็นเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และข้างเยอรมนีก็ได้วางตัวเป็นกลางในความขัดแย้งดังกล่าว นโยบายนี้ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านเยอรมนีขึ้นในประชาชนแถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่มีความเชื่อกันว่าเยอรมนีนั้นเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต ความกลัวเยอรมนีนั้นทำให้นายทหารระดับสูงของเยอรมนีทำนายว่านอร์เวย์และสวีเดนอาจรับเอาความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตร

แต่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้น เนื่องจากนอร์เวย์และสวีเดนได้เพิ่มความระมัดระวังหลังเฝ้าจับตามอง "การทรยศโดยชาติตะวันตก" ของโปแลนด์เมื่อโปแลนด์ถูกรุกรานในเดือนกันายายน ทั้งสองประเทศนั้นไม่ต้องการที่จะทำลายความเป็นกลางของตนและเข้าไปพัวพันกับสงครามโดยการให้ทหารชาวต่างชาติเดินผ่านเข้ามาตามแนวชายแดน ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพมอสโกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1940 ทำให้แผนการต่างๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรมีอันต้องล้มเลิกไป

วิดคัน ควิสลิงและการทาบทามของเยอรมนี

วิดคัน ควิสลิง ในปี ค.ศ. 1942 ต่อมา ผู้คนใช้ชื่อของเขาในความหมายว่า "ผู้ขายชาติ"

นายทหารระดับสูงของเยอรมนีนั้นเพ่งความสนใจไปยังความเป็นกลางของนอร์เวย์มาก ตราบเท่าที่เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรยังไม่แล่นเข้าสู่น่านน้ำของทะเลนอร์เวย์ เรือขนส่งสินค้าของเยอรมนีก็ยังคงปลอดภัยที่จะแล่นไปตามชายฝั่งของนอร์เวย์และขนส่งโลหะจากสวีเดนซึ่งเยอรมนีนำเข้าอยู่

จอมพลเรืออิริช เรดเดอร์ ได้โต้แย้งต่อแผนการการโจมตี เขานั้นเชื่อว่าเมืองท่าของนอร์เวย์นั้นเป็นที่ที่สะดวกที่สุดที่เรืออูของเยอรมันใช้สำหรับการปิดล้อมหมู่เกาะอังกฤษ และยังคงมีความเป็นไปได้ที่กองทัพสัมพันธมิตรอาจจะยกพลขึ้นบกที่สแกนดิเนเวีย

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 1939 ฮิตเลอร์และเรดเดอร์ได้เดินทางไปพบกับวิดคัน ควิสลิง (ต่อมาเขาก็ได้รับฉายาว่าเป็น "ผู้ทรยศระหว่างโลก" เลยทีเดียว) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลนิยมนาซีมาก่อนในนอร์เวย์ เขาได้บอกกับฮิตเลอร์และเรดเดอร์ถึงภัยคุกคามขนาดใหญ่ที่อังกฤษอาจจะโจมตีนอร์เวย์และรัฐบาลนอร์เวย์จะสนับสนุนการยึดครองของเยอรมนีอย่างเป็นความลับ (ข้อความในตอนหลังนั้นไม่เป็นความจริง) เขายังบอกกับอีกสองคนด้วยว่าเขาอยู่ในตำแหน่งที่รับประกันจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่กองทัพเยอรมัน รวมไปถึงการลดปริมาณยามฝั่งของนอร์เวย์และช่วยอำนวยความสะดวกที่จะสร้างฐานทัพให้แก่เยอรมนี อีกสามวันต่อมา ฮิตเลอร์เรียกประชุมเพื่อที่จะวางแผนการรุกรานนอร์เวย์

ระหว่างการประชุมครั้งที่สองกับนายควิสเซลลิงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ฮิตเลอร์ย้ำถึงความปรารถนาของเขาที่จะให้นอร์เวย์คงความเป็นกลางแต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะขยายขอบเขตของสงครามมายังนอร์เวย์หรือไม่ ถ้าใช่ เขาก็จะดำเนินการตอบโต้ทันที ข้อพิรุธนั้นเกิดขึ้นเมื่อนายควิสเซลลิ่งได้พูดเกินความเป็นจริง ฮิตเลอร์จึงยกเลิกแผนการต่างๆ ที่จะร่วมมือกับเขาในอนาคต

เหตุการณ์อัลท์มาร์ค

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1940 เรือบรรทุกเยอรมัน อัลท์มาร์ค (เยอรมัน: Altmark) ได้บรรทุกเชลยสงครามชาวอังกฤษจำนวน 303 คน ได้รับอนุญาตให้แล่นผ่นน่านน้ำของนอร์เวย์ได้ ตามกฎหมายนานาชาติอนุญาตให้เรือพลเรือนจากประเทศสงครามสามารถจอดพักได้เป็นบางครั้งในน่านน้ำของประเทศเป็นกลางหากได้รับอนุญาตจากประเทศนั้นๆ กลุ่มของเรือรบอังกฤษได้ปรากฏตัวขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ขณะที่เรืออัลท์มาร์คยังคงจอดอยู่ที่ริมฝั่งของนอร์เวย์ เรือรบอังกฤษได้ฝ่าฝืนกฎหมายนานาชาติและความเป็นกลางของนอร์เวย์ เรือเอชเอมเอสคอร์แซกได้เข้าโจมตีเรืออัลท์มาร์ค สังหารทหารเยอรมันไปเจ็ดนายและปลดปล่อยนักโทษทั้งหมด การละเมิดความเป็นกลางได้ก่อให้เกิดความโกรธในความรู้สึกของชาวนอร์เวย์ และมีปากเสียงกันระหว่างสองประเทศ

ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะทำให้นอร์เวย์ตัดขาดการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเกือบจะทิ้งแผนไปแล้ว แต่ว่าแผนการดังกล่าวก็ถูกเลื่อนออกไปด้วยความหวังว่านอร์เวย์อาจจะยังคงเห็นด้วยที่จะให้ทการสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่นั่น

สำหรับฝ่ายเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่านอร์เวย์นั้นไม่มีความสามารถที่จะรักษาความเป็นกลางไว้ได้ และอังกฤษเองก็มิได้ยินยอมต่อการวางตัวเป็นกลางของนอร์เวย์ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้เร่งแผนการรุกรานให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด แผนการคือนำเอานอร์เวย์เข้าสู่สงครามและเข้ายึดเมืองท่านาร์วิกที่สำคัญ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายพลนิโคเลาส์ ฟอน ฟัลเก็นโฮสต์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการการโจมตีดังกล่าว

ใกล้เคียง

การทัพนอร์เวย์ การทัพกัลลิโพลี การทัพมาลายา การทัพปราบตั๋งโต๊ะ การทับศัพท์ การทัพหมู่เกาะโซโลมอน การทัพตามแนวชายแดนจีน-พม่า การทัพอัลอันฟาล การทัพอินโดจีนฝรั่งเศสครั้งที่สอง การทัพกัวดัลคะแนล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทัพนอร์เวย์ http://www.electronicmuseum.ca/Poland-WW2/norwegia... http://www.achtungpanzer.com/articles/norway.htm http://www.blackvault.com/documents/ADA394016.pdf http://www.feldgrau.com/norwegian.html http://hem.fyristorg.com/robertm/norge/index.html http://www.magweb.com/sample/sconflic/co03wese.htm http://digital.library.wisc.edu/1711.dl/FRUS.FRUS1... http://www.army.mil/cmh-pg/books/70-7_02.htm http://www.dtic.mil/doctrine/jel/jfq_pubs/jfq1301.... http://www.naval-history.net/WW2CampaignsNorway.ht...