วรรณกรรมยอดนิยม ของ การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ

ที่แสดงภาพเชิงบวก

นอกจากวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ นักเขียนบางท่านยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับงานวิจัยเรื่องกรรมฐาน เพื่อให้บุคคลทั่วไปอ่านอีกด้วย หนังสือเล่มหนึ่งเช่นนี้คือ Buddha’s Brain (สมองพุทธ) โดย ดร. ริค แฮนสัน ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2009[21] ดร. แฮนสันผู้เป็นนักวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ ได้อธิบายให้ผู้อ่านฟังเกี่ยวกับงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ในภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และประโยชน์ที่อาจจะได้จากผลงานวิจัยข้อความหลักของ ดร. แฮนสันก็คือ อารมณ์เชิงบวก เช่นความรัก สามารถเพิ่มกำลังโดยการเจริญกรรมฐาน ซึ่งจะเปลี่ยนสภาพทางสมอง โดยอ้างงานวิจัยเป็นโหล ๆ เพื่อสนับสนุนความคิดนี้[21] แต่มุมมองนี้ เป็นตัวแทนหนึ่งของขบวนการยอดนิยมในสังคมชาวตะวันตกปัจจุบัน ที่จะศึกษาและเปิดอกรับหลักความคิดของชาวตะวันออกบางอย่าง รวมทั้งการเจริญกรรมฐานด้วย

ข้อโต้แย้ง

ผู้ที่ไม่เห็นด้วย เช่น นักประสาทชีววิทยา ดร. โอเว็น แฟลเนแกน ของมหาวิทยาลัยดุ๊ก เชื่อว่า ดร. แฮนสัน และนักเขียนอื่น ๆ ในแนวเดียวกัน พูดเกินเลยผลที่ได้จากงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] ในหนังสือ Bodhisattva’s Brain: Buddhism Naturalized (สมองพระโพธิสัตว์ หลักพุทธอธิบายตามธรรมชาติ) ดร. แฟลเนแกนแสดงมุมมองที่เคร่งครัดกว่า จากผลที่ได้จากงานศึกษาวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน แล้วเตือนผู้อ่านไม่ให้ตื่นเต้นเกินความจริง เพราะผลงานศึกษาเร็ว ๆ นี้[22] คือเขาไม่เชื่อว่า ผลงานวิทยาศาสตร์สนับสนุนความคิดว่า อารมณ์เชิงบวกสามารถทำให้มีกำลังขึ้น ในทำนองเดียวกับที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถกลับมาใช้แขนขาได้อีกถ้าฝึกใช้[22] ดร. แฟลเนแกนคิดว่า การเจริญกรรมฐานน่าจะมีประโยชน์บางอย่าง แต่ว่า กลไกและกระบวนการที่การเจริญกรรมฐานมีผลต่อสมอง ยังเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน[22] ทั้ง ดร. แฟลเนแกน และ ดร. แฮนสัน ใช้ผลงานวิทยาศาสตร์เดียวกัน เพื่อจะสนับสนุนมุมมองของตน แต่นักเขียนแม้ทั้งสองล้วนแต่ชี้ความจำเป็นและความสำคัญ ในการทำงานวิจัยต่อ ๆ ไปเพื่อศึกษาเรื่องการเจริญกรรมฐาน

ใกล้เคียง

การทำให้เป็นประชาธิปไตย การทำฝนเทียม การทำลายเขื่อนกาคอว์กา การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ การทำแผนที่ การทำให้ไว การทำลายป่า การทำลายล้างวัตถุระเบิด การทำฝันวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงได้อย่างแท้จริง การทำเครื่องหมายกางเขน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ http://cs.oswego.edu/~jferris/psy290/1MeditBrainWa... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2267490 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC226749... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16536641 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17655980 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18365029 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19941676 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6013341 //doi.org/10.1016%2F0013-4694(81)90107-3 //doi.org/10.1016%2Fj.neubiorev.2014.03.016