สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ ของ การทำลายป่า

การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยสูญเสีย พื้นที่ป่าไปแล้วประมาณ 67 ล้านไร่ หรือเฉลี่ยประมาณ 1.6 ล้านไร่ต่อปี กล่าวคือ ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอยู่ถึงร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 171 ล้านไร่ และลดลงมาโดยตลอดจนในปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าเพียงร้อยละ 27.95 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 90 ล้านไร่ รัฐบาลในอดีตได้พยายามจะรักษาพื้นที่ป่าโดยประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ในป่าบกทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2532 แต่หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าไม้ สถานการณ์ดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น ต่อมาการทำลายก็ยังคงเกิดขึ้นไม่แตกต่างจากสถานการณ์ก่อนยกเลิกสัมปทานป่าไม้เท่าใดนัก โดยพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกก่อนการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2525-2532) เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.2 ล้านไร่ และพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกหลังการยกเลิกสัมปทาน (ปี พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ย 1.1 ล้านไร่ต่อปี

พื้นที่ป่าก่อนและหลังการยกเลิกสัมปทานป่าไม้
รายการพื้นที่ป่า (ล้านไร่) /พื้นที่ถูกทำลายเฉลี่ยต่อปี (ล้านไร่)
ปี พ.ศ. 2504171.0-
ปี พ.ศ. 252597.83.5
ปี พ.ศ. 2532 (ประกาศยกเลิกสัมปทานป่าไม้)89.61.2
ปี พ.ศ. 254181.11.1

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2543 มีการประเมินพื้นที่ป่าโดยแปลความจากข้อมูลดาวเทียมมาตราส่วน 1:50,000 พบว่า มีพื้นที่ประมาณ 107 ล้านไร่ หรือร้อยละ 33.40 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นผลการประเมินขั้นต้นที่ยังไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องภาคพื้นดินจากพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่จะมีพื้นที่ที่มีสภาพทางระบบนิเวศที่สมบูรณ์อยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ได้ทำการประกาศก่อนการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ และจากการนำข้อมูลดาวเทียมปี พ.ศ. 2547 ไปทับซ้อนลงบนข้อมูลดาวเทียมปี พ.ศ. 2543 พบว่า นับจากปี พ.ศ. 2543 จนถึง พ.ศ. 2547 มีพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกรวม 1,476 แปลง รวมพื้นที่ 3,852,821 ไร่

ใกล้เคียง

การทำให้เป็นประชาธิปไตย การทำฝนเทียม การทำลายเขื่อนกาคอว์กา การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ การทำแผนที่ การทำให้ไว การทำลายป่า การทำลายล้างวัตถุระเบิด การทำฝันวัยเด็กของคุณให้เป็นจริงได้อย่างแท้จริง การทำเครื่องหมายกางเขน