การบาดเจ็บจากไฟฟ้า
การบาดเจ็บจากไฟฟ้า

การบาดเจ็บจากไฟฟ้า

การบาดเจ็บจากไฟฟ้า หรือเรียกอย่างง่ายว่า ไฟฟ้าดูด คืออาการบาดเจ็บหรือความเสียหายที่เกิดจากการที่ผิวหนังหรืออวัยวะภายในร่างกายสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าโดยตรง[2][3]การบาดเจ็บนั้นจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า การต้านทานของเนื้อเยื่อ และระยะเวลาที่ถูกสัมผัส[4] หากถูกสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเพียงในปริมาณที่น้อยมาก ร่างกายอาจไม่สามารถรู้สึกได้ หรืออาจรู้สึกเหน็บชาเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม หากเป็นกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่ไม่ถึงกับน้อยมาก อาจทำให้ผู้ถูกสัมผัสรู้สึกสะดุ้งและเกิดการบาดเจ็บจากการชักกระตุกเพียงเล็กน้อยหรือการล้มได้ การถูกไฟฟ้าดูดในปริมาณมากมักทำให้เกิดการชักกระตุกของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดรุนแรงมาก และทำให้เกิดอาการข้อเคลื่อนหรืออาจถึงขั้นกระดูกหักได้ การที่ผู้ถูกสัมผัสไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อของตนเองได้เป็นเหตุผลที่ผู้ถูกสัมผัสเองอาจไม่สามารถดึงตนเองออกมาจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ตนถูกสัมผัสได้ โดยหากผู้ถูกสัมผัสสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อที่ระดับความสูงเดียวกับสายไฟฟ้าเหนือศีรษะ ก็อาจถูกเหวี่ยงและตกลงมาได้[5][6] และหากเป็นกระแสไฟฟ้าปริมาณมาก ก็อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย และอาจทำให้เกิดอาการหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวหรือหัวใจหยุดเต้นได้[7] หากการเสียชีวิตเป็นผลจากไฟฟ้าดูด สาเหตุการเสียชีวิตก็มักจะถูกระบุว่าเกิดจากการเสียชีวิตด้วยไฟฟ้า (electrocution)การบาดเจ็บจากไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อส่วนของร่างกายถูกสัมผัสเข้ากับไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าที่แรงพอที่จะเคลื่อนที่ผ่านเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้ โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดมักเป็นการสัมผัสกับสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่เกิดไฟฟ้ารั่ว ในกรณีที่เป็นการสัมผัสไฟฟ้าแรงสูง เช่น บนเสาไฟฟ้า การสัมผัสโดยตรงอาจจะไม่จำเป็น เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงสามารถเคลื่อนที่ข้ามผ่านอากาศไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าได้[8]ในกรณีของการบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้าในบ้านหรือในครัวเรือน หากผู้บาดเจ็บไม่มีอาการใด ไม่มีปัญหาพื้นเดิมเกี่ยวกับหัวใจ และไม่ได้ตั้งครรภ์ ก็ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจใด ๆ เพิ่มเติม[9] หรือหากมีอาการก็สามารถตรวจด้วยวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือดเพื่อทำการตรวจหัวใจ และการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสัญญาณของความเจ็บป่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อได้[9]

ใกล้เคียง

การบาดเจ็บ การบาดเจ็บจากไฟฟ้า การบาดเจ็บที่แอกซอนอย่างกระจาย การบาดเจ็บจากแรงกดดัน การบาดเจ็บที่สมองซ้ำ ๆ การบินไทย การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบุกครองโปแลนด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบาดเจ็บจากไฟฟ้า https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28846317 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30358379 https://medlineplus.gov/ency/article/000053.htm https://books.google.com/books?id=dx9FAgAAQBAJ&q=%... https://web.archive.org/web/20170306102959/https:/... https://www.hse.gov.uk/electricity/injuries.htm https://www.hse.gov.uk/electricity/precautions.htm https://www.worldcat.org/issn/1559-3908 https://www.merckmanuals.com/professional/injuries...