ผลจากการรบ ของ การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต

"สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพฉบับที่สอง" เป็นชื่อเรียกของ สนธิสัญญามิตรภาพและพรมแดนระหว่างเยอรมนี-โซเวียต ซึ่งได้รับการลงนามในวันที่ 28 กันยายน 1939 แผนที่ของโปแลนด์ลงนามโดยสตาลินและริบเบนทรอพ ได้ปรับปรุงแนวชายแดนเยอรมนี-โซเวียตใหม่หลังจากการบุกครองโปแลนด์ร่วมกันเชลยศึกชาวโปลถูกจับกุมตัวโดยกองทัพแดง หลังจากการบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียตตำรวจและพลเมืองชาวโปล ซึ่งถูกตราหน้าว่าเป็น "ศัตรูของประชาชน" ถูกจับกุมตัวโดยกองทัพแดง หลังจากการบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต
บันทึกของ ลัฟเรนตีย์ เบรียา ได้รับการรับรองจากสมาชิกของโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต – เป็นเอกสารสำคัญในการตัดสินใจสังหารหมู่เชลยศึกนายทหารชาวโปล ลงวันที่ 5 มีนาคม 1940; จากภาพแสดงให้เห็นหน้าแรกของเอกสาร ซึ่งกล่าวถึงขบวนการเคลื่อนไหวภายในนายทหารโปแลนด์ที่ถูกจับกุมตัว
ส่วนหน้าที่สองเป็นการแนะนำให้หน่วยพลาธิการประชาชนเพื่อกิจการภายใน ในการใช้ "บทลงโทษขั้นเด็ดขาด:ยิงทิ้ง" เชลยศึกกว่า 25,700 นาย
โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตพรรณนาถึงการบุกครองของกองทัพแดงเข้าไปในยูเครนตะวันตก ว่าเป็นการปลดปล่อยชาวยูเครน ข้อความในภาษายูเครนสามารถอ่านได้ว่า: "เราได้ยื่นมือมายังพี่น้องของเรา เพื่อให้พี่น้องเหล่านั้นได้รับการสนับสนุนและปลดปล่อยตนเองจากการปกครองด้วยแส้ ซึ่งกินเวลามานานกว่าศตวรรษ"

ในเดือนตุลาคม 1939 โมโลตอฟได้รายงานสภาสูงของโซเวียต ว่ากองทัพโซเวียตเสียชีวิตทหารไป 737 นาย และได้รับความสูญเสีย 1,862 นายระหว่างการทัพ แต่ผู้เชี่ยวชายชาวโปแลนด์อ้างว่ามีทหารเสียชีวิตสูงถึง 3,000 นาย และบาดเจ็บราว 8,000-10,000 นาย ส่วนทางฝ่ายโปแลนด์ มีทหารเสียชีวิตในการรบกับสหภาพโซเวียตราว 6,000-7,000 นาย และถูกจับเป็นเชลยศึกราว 230,000-450,000 นาย[1][40] ทหารโซเวียตมักจะไม่ให้เกียรติในเงื่อนไขการยอมจำนน พวกเขาให้สัญญาทหารโปแลนด์ว่าจะมอบอิสรภาพให้ แต่กลับเข้าจับกุมในทันทีที่วางปืนลง[4]

สหภาพโซเวียตล้มเลิกการรับรองรัฐโปแลนด์นับตั้งแต่เริ่มต้นการบุกครองแล้ว[9][10] ผลที่ตามมา คือ รัฐบาลของทั้งสองไม่เคยประกาศสงครามอย่างเป็นทางการระหว่างกัน ฝ่ายโซเวียตไม่ได้จัดเชลยศึกที่เป็นทหารโปแลนด์ว่าเป็นเชลยศึก แต่จัดว่าเป็นกบฏต่อรัฐบาลใหม่อันชอบธรรมของยูเครนตะวันตกและเบโลรุสเซียตะวันตก ฝ่ายโซเวียตสังหารเชลยศึกชาวโปแลนด์นับหมื่นนาย บางคนอย่างเช่น นายพลโจเซฟ ออลซีนา วิลซินสกี ผู้ซึ่งถูกจับกุมตัว สืบสวน และถูกยิงเมื่อวันที่ 22 กันยายน นับเป็นการประหารระหว่างการทัพเลยทีเดียว[41][42] ในวันที่ 24 กันยายน ทหารโซเวียตสังหารเจ้าหน้าที่ 42 คนและคนไข้ของโรงพยาบาลทหารโปแลนด์ในหมู่บ้านกราโบวิค ใกล้กับ Zamość[43] ฝ่ายโซเวียตยังได้ประหารนายทหารทุกนายที่สามารถจับกุมตัวได้ภายหลังยุทธการแห่ง Szack นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 1939[35] ทหารโปแลนด์และพลเรือนมากกว่า 20,000 นายเสียชีวิตในการสังหารหมู่คาทิน[4][32]

ในการควบคุมตัวในเรือนจำของโซเวียต ได้มีการทรมานผู้ต้องขังกกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมืองขนาดเล็ก ในเมือง Bobrka ผู้ต้องขังถูกราดด้วยน้ำต้มเดือด ใน Przemyslany ผู้ต้องขังถูกตัดจมูก หูและนิ้ว รวมไปถึงควักลูกตาออก ในเมือง Czortkow สตรีในเมืองถูกตัดเต้านมออกจากร่าง และในเมือง Drohobycz ได้มีการพบเหยื่อถูกมัดติดกันด้วยลวดหนาม ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน Sambor, Stanislawow, Stryj และ Zloczow[44] รวมไปถึงเมื่อในเมือง Czortków และระหว่างการลุกฮือขึ้นโดยชาวโปแลนด์ท้องถิ่น เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1940 ได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยฝ่ายโซเวียต

นักประวัติศาสตร์อย่างเช่น แจน ที. กรอส ได้บันทึกไว้ว่า:

"เราไม่สามารถหลีกหนีข้อสรุปที่ว่า: ระบบความปลอดภัยของรัฐโซเวียตทรมานผู้ต้องขังในเรือนจำของตนไม่เพียงแต่ต้องการบีบคั้นให้มีการสารภาพเท่านั้น แต่รวมไปถึงทำให้พวกเขาเหล่านั้นเสียชีวิตลงด้วย ไม่ใช่ว่าหน่วยเอ็นเควีดีจะมีความซาดิสต์ แต่ถ้าจะพูดให้ถูกแล้ว การทรมานนี้เป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและมีระเบียบ" [45]

ฝ่ายโปแลนด์และสหภาพโซเวียตได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1941 หลังจากข้อตกลงซิคอร์สกี-เมย์สกี แต่สหภาพโซเวียตได้ยุติความสัมพันธ์ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1943 หลังจากที่รัฐบาลโปแลนด์และทหารนาซีเยอรมันที่สโมเลนสค์ที่ตรวจการอยู่ได้ตรวจสอบ เมื่อได้ค้นพบหลุมมรณะที่ Katyn[46] หลังจากนั้น ฝ่ายโซเวียตได้พยายามวิ่งเต้นฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกให้ยอมรับรัฐบาลนิยมโซเวียตของ วานดา วาซิลลีว์สกา ในกรุงมอสโก[47]

ในวันที่ 28 กันยายน 1939 สหภาพโซเวียตและเยอรมนีได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลับของสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ โดยยกลิทัวเนียให้อยู่ในเขตอิทธิพลของโซเวียต และเลื่อนแนวชายแดนในโปแลนด์มาทางด้านตะวันออก โดยยกให้เป็นดินแดนของเยอรมนีมากขึ้น[2] จากการจัดการดังกล่าว มักจะถูกพิจารณาว่าเป็นการแบ่งโปแลนด์ครั้งที่สี่ในประวัติศาสตร์[4] สหภาพโซเวียตได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกเกือบทั้งหมดของแม่น้ำพิซา นาโรว์ บั๊กตะวันตกและซาน ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 200,000 ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองชาวโปแลนด์อาศัยอยู่ 13.5 ล้านคน[5]

กองทัพแดงได้หว่านความสับสนให้กับชาวบ้านท้องถิ่น โดยกล่าวอ้างว่าพวกเขามายังโปแลนด์ เพื่อช่วยป้องกันภัยจากนาซี[48] การบุกครองของพวกเขาสร้างความประหลาดใจให้กับประชาคมโปแลนด์และผู้นำ ซึ่งยังไม่ได้แนะนำวิธีการรับมือกับภัยการบุกครองของสหภาพโซเวียตเลย พลเมืองชาวโปแลนด์และชาวยิวอาจเลือกที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของโซเวียตมากกว่าอยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมนี[49] อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโซเวียตได้พยายามสอดแทรกแนวคิดของตนลงไปในวิถีชีวิตท้องถิ่นอย่างรวดเร็ว และยังได้เริ่มการริบทรัพย์ การยึดในเป็นของรัฐบาล และกระจายทรัพย์สินของเอกชนและของรัฐโปแลนด์ทั้งหมดเสียใหม่[50] ระหว่างการยึดครองเป็นระยะเวลานานสองปี ฝ่ายโซเวียตได้จับกุมพลเมืองชาวโปแลนด์กว่า 100,000 คน[51] และเนรเทศชาวโปแลนด์เป็นจำนวนระหว่าง 350,000–1,500,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เสียชีวิต 250,000–1,000,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเมือง[52]

ดินแดนซึ่งถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียต

จากจำนวนประชากร 13.5 ล้านคนซึ่งอาศัยอยู่ในเขตยึดครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต เชื้อชาติโปลเป็นเชื้อชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ชาวเบลารุสและชาวยูเครนเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนคิดเป็น 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด การผนวกดินแดนในครั้งนี้ไม่ได้รวมเอาเชื้อชาติเบลารุสหรือชาวยูเครนทั้งหมด มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตยึดครองของเยอรมนีทางตะวันตก แม้กระนั้น ก็สามารถทำให้เกิดการรวมตัวกันของชนส่วนใหญ่ของประชากรทั้งสองเชื้อชาติ และเกิดเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุส และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ซึ่งขยายเพิ่มขึ้นมา

โฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตต่อประชากรชาวยูเครนตะวันตก ภาษายูเครนอ่านได้ว่า: “ตัวเลือกของผู้ใช้แรงงาน! จงลงคะแนนเพื่อที่จะรวมยูเครนตะวันตกกับโซเวียตยูเครน เพื่อการรวมตัวกัน อิสระและความเจริญ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน จงทำลายเขตกั้นระหว่างยูเครนตะวันตกกับโซเวียตยูเครน ขอให้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนจงเจริญ!"

ในวันที่ 26 ตุลาคม 1939 การเลือกตั้งสภาเบลารุสและสภายูเครนถูกจัดขึ้น ในการรับรองการผนวกดินแดนดังกล่าวให้เป็นการสมเหตุสมผล ชาวเบลารุสและชาวยูเครนในโปแลนด์มักจะถูกเบียดขับให้เกิดความเป็นต่างด้าวมากขึ้น โดยนโยบายของรัฐบาลโปแลนด์ และการสลายขบวนการแบ่งแยกดินแดน ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความจงรักภักดีน้อยมากต่อรัฐโปแลนด์[53][54] อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ชาวเบลารุสเซียนและชาวยูเครนทั้งหมดที่เชื่อในความรับผิดชอบจากการปกครองของโซเวียต หลังจากทุพภิกขภัยชาวยูเครนแห่งปี 1932-1933[48] ในทางปฏิบัติแล้ว คนจนมักจะให้การต้อนรับพวกโซเวียต และพวกผู้ดีชั้นสูงจะเข้าร่วมกับการต่อต้าน ถึงแม้ว่าจะสนับสนุนให้มีการรวมชาติใหม่ก็ตาม[53][55]

ใกล้เคียง

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบุกครองโปแลนด์ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การบุกครองนอร์ม็องดี การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 การบุกครองยูโกสลาเวีย การบุกเข้าปราซาดุสเตรสโปเดริส พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต http://www.electronicmuseum.ca/Poland-WW2/katyn_me... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&hl=en&vid=I... http://books.google.com/books?vid=ISBN0271010541&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN0415338735&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN0786403713&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN0806526092&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN1841764086&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN8849812760&i... http://www.zwoje-scrolls.com/zwoje01/text03p.htm http://web.ku.edu/~eceurope/hist557/lect16.htm