การทัพ ของ การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต

สถานการณ์การรบหลังวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1939นายทหารโซเวียตและเยอรมันพบกันหลังจากการบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต จากภาพยนตร์ข่าว Why We Fight: The Nazis Strikeเส้นกำหนดแบ่งเขตยึดครองระหว่างกองกำลังเยอรมันและโซเวียต หลังการบุกครองโปแลนด์ร่วมกันในเดือนกันยายน 1939นายพล ไฮนซ์ กูเดเรียน (กลาง) และแซมยอน คริโวเชย์น (ขวา) ที่การเดินขบวนฉลองทั่วไปในเมืองเบรสต์

กองทัพแดงเข้าสู่ภาคตะวันออกของโปแลนด์ ประกอบด้วย 7 กองทัพสนาม มีกำลังพลระหว่าง 450,000 – 1,000,000 นาย[4] ถูกจัดวางกำลังเป็นสองแนวรบ: แนวรบเบลารุส ภายใต้การบังคับบัญชาของมิคาอิล โควัลยอฟ และแนวรบยูเครน ภายใต้การบังคับบัญชาของเซมิออน ตีโมเชนโค[4] เมื่อถึงเวลานี้ กองทัพโปแลนด์ประสบความล้มเหลวที่จะป้องกันแนวชายแดนทางด้านตะวันตกของตน และในการตอบสนองต่อการโจมตีโต้กลับในยุทธการแห่งบซูรา ซึ่งแต่เดิมแล้ว กองทัพโปแลนด์ได้จัดเตรียมแผนการรับมือกับภัยคุกคามจากสหภาพโซเวียตไว้เรียบร้อยแล้ว แต่พวกเขาไม่พร้อมที่จะรับมือกับการโจมตีจากทั้งสองด้านพร้อมกัน และนักยุทธศาสตร์ทางทหารของโปแลนด์ยังเชื่ออีกด้วยว่าไม่มีหนทางที่จะต้านทานการบุกครองจากเยอรมนีและสหภาพโซเวียตพร้อมกันได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อเช่นนั้น แต่กองทัพโปแลนด์ก็ยังไม่ได้พัฒนาแผนการอพยพในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น[27] ในช่วงเวลาที่กองทัพโซเวียตบุกครอง ผู้บัญชาการระดับสูงของโปแลนด์ส่งกองกำลังของตนส่วนใหญ่ไปป้องกันแนวชายแดนทางด้านตะวันตก และเหลือกองกำลังป้องกันแนวชายแดนทางด้านตะวันออกเพียง 20 กองพัน ซึ่งประกอบด้วยกองกำลังป้องกันชายแดนราว 20,000 นาย (Korpus Ochrony Pogranicza) ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล วิลเฮล์ม ออร์ลิค เร็คเคมันน์[1][4]

ในตอนแรก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของโปแลนด์ จอมพลแอดวาร์ด รึดซ์-ชมิกวือ สั่งให้กองกำลังชายแดนต้านทานกองทัพโซเวียต แต่ในภายหลัง เขาเปลี่ยนใจหลังจากที่ได้หารือกับนายกรัฐมนตรี เฟลิคแจน สลาวอจ สคลาวคอฟสกี และสั่งการให้กองกำลังเหล่านั้นล่าถอยและจู่โจมกองทัพโซเวียตในการป้องกันตัวเองเท่านั้น[1][5]

พวกโซเวียตได้มาถึงเราแล้ว ผมได้ออกคำสั่งให้มีการล่าถอยไปยังโรมาเนียและฮังการีด้วยเส้นทางที่สั้นที่สุด อย่าสู้กับพวกบอลเชวิค นอกเหนือจากว่ากองกำลังเหล่านั้นโจมตีคุณหรือพยายามปลดอาวุธกองกำลังของคุณ ภารกิจเพื่อกรุงวอร์ซอและเมืองอื่น ๆ จะยังคงเป็นการป้องกันไม่ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของฝ่ายเยอรมัน - ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เมืองที่ถูกยึดครองโดยพวกบอลเชวิคควรจะเจรจาในการถอนทหารประจำการไปยังฮังการีหรือโรมาเนียด้วย— แอดวาร์ด รึดซ์-ชมิกวือ ผู้บัญชาการสูงสุดกองกำลังติดอาวุธโปแลนด์ 17 กันยายน 1939[28]

ชุดคำสั่งที่ขัดแย้งกันสองชุดทำให้เกิดความสับสนในกองทัพโปแลนด์[4] และเมื่อกองทัพแดงโจมตีกองกำลังโปแลนด์ ก็นำไปสู่การกระทบกระทั่งและยุทธการขนาดเล็กขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้[1] การตอบสนองของผู้ที่ไม่ใช่เชื้อสายโปลได้ทำให้สถานการณ์ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก ในบางกรณี อย่างเช่น ชาวยูเครน ชาวเบลารุส[29] และชาวยิว[30] ซึ่งให้การต้อนรับกองกำลังฝ่ายบุกครองเยี่ยงผู้ปลดปล่อย องค์การชาตินิยมชาวยูเครน ได้ถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อต่อสู้กับชาวโปล และภารดรคอมมิวนิสต์ได้ก่อการปฏิวัติในท้องถิ่น อย่างเช่นที่ Skidel[4]

แผนการเริ่มต้นในการล่าถอยของกองทัพโปแลนด์ คือ การล่าถอยและรวมกำลังใหม่ในเขตหัวสะพานโรมาเนีย ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของโปแลนด์ใกล้กับแนวชายแดนที่ติดกับโรมาเนีย โดยมีแนวคิด คือ การปรับใช้ตำแหน่งป้องกันที่นั่นและรอคอยการโจมตีของอังกฤษและฝรั่งเศสจากทางตะวันตกตามที่สัญญาเอาไว้ แผนการนี้คาดว่าเยอรมนีจะลดการปฏิบัติการในโปแลนด์ เพื่อที่จะนำกำลังของตนไปสู้ในแนวรบที่สอง[4] ฝ่ายสัมพันธมิตรคาดหวังว่ากองทัพโปแลนด์จะยื้อเวลาได้หลายเดือน แต่การโจมตีของสหภาพโซเวียตทำให้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง

ผู้นำทางการเมืองและทางทหารของโปแลนด์รู้ดีว่าตนกำลังพ่ายแพ้สงครามกับเยอรมนี และการโจมตีจากสหภาพโซเวียตยิ่งเป็นการตอกย้ำในประเด็นนี้[4] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยอมจำนนหรือเจรจาสันติภาพกับเยอรมนี แต่กลับสั่งการให้กองทหารทั้งหมดอพยพจากโปแลนด์ และรวมกำลังใหม่ในฝรั่งเศส[4] ส่วนรัฐบาลโปแลนด์ได้หลบหนีข้ามพรมแดนไปยังโรมาเนีย เมื่อราวเที่ยงคืนของวันที่ 17 กันยายน 1939 ผ่านจุดผ่านแดนที่ Zaleszczyki กองทัพโปแลนด์ยังคงดำเนินการเคลื่อนทัพมุ่งหน้าไปยังเขตหัวสะพานโรมาเนีย โดยได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการโจมตีของกองทัพเยอรมันทางด้านหนึ่ง และการปะทะกับกองทัพโซเวียตจากอีกด้านหนึ่ง หลายวันหลังจากคำสั่งอพยพได้ประกาศออกมา กองทัพเยอรมันสามารถทำลายกองทัพคราคอฟ (Army Kraków) และกองทัพลูบลิน (Army Lublin) ได้ที่ยุทธการแห่งโทมาสซอฟ ลูเบลสกี ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 กันยายน[31]

กองทัพโซเวียตมักจะพบกับกองกำลังเยอรมัน ซึ่งกำลังมุ่งหน้ามาจากทิศทางตรงกันข้าม และมีตัวอย่างของการร่วมมือกันหลายครั้งระหว่างทั้งสองกองทัพในการรบ เช่น เมื่อกองทัพเยอรมันเคลื่อนผ่านป้อมปราการเบรสต์ ซึ่งถูกทำลายลง หลังจากยุทธการแห่ง Brześć Litewski ไปยังกองพลน้อยรถถังที่ 29 แห่งสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 17 กันยายน[32] นายพลเยอรมัน ไฮนซ์ กูเดเรียน และนายพลจัตวาโซเวียต แซมยอน คริโวเชย์น ได้มีการจัดขบวนฉลองชัยชนะร่วมกันในเมืองนั้น[32] ลวีฟยอมจำนนเมื่อวันที่ 22 กันยายน ไม่กี่วันหลังจากที่กองทัพเยอรมันยุติปฏิบัติการปิดล้อม และกองทัพโซเวียตได้มาดำเนินการต่อ[33][34] กองทัพโซเวียตได้ยึดเมืองวิลโน เมื่อวันที่ 19 กันยายน หลังจากการสู้รบเป็นเวลาสองวัน และยึดเมืงกรอดโนได้เมื่อวันที่ 24 กันยายน หลังจากการรบเป็นเวลาสี่วัน เมื่อวันที่ 28 กันยายน กองทัพแดงได้มาถึงแนวแม่น้ำนารอว์ บี๊กตะวันตก วิสตูล่าและซาน - ซึ่งเป็นแนวชายแดนซึ่งได้ตกลงไว้ในการบุกครองร่วมกับกองทัพเยอรมัน และการต้านทานของโปแลด์ ซึ่งถูกปิดล้อมในเขตป้องกันซาร์นี โวลฮีเนีย ใกล้กับแนวชายแดนโปแลนด์-โซเวียตเดิม ได้ทำการรบไปจนถึงวันที่ 25 กันยายน

ถึงแม้ว่ากองทัพโปแลนด์จะได้รับชัยชนะทางยุทธวิธีได้ในยุทธการแห่ง Szack เมื่อวันที่ 28 กันยายนก็ตาม แต่ผลของการรบที่ใหญ่กว่าไม่เป็นที่น่าแปลกใจแต่อย่างใด[35] อาสาสมัครพลเรือน ทหารชาวบ้านและทหารที่ล่าถอยกลับมาได้ทำการรบต้านทานในกรุงวอร์ซอ ไปจนถึงวันที่ 28 กันยายน ปราการมอดลิน ทางตอนเหนือของกรุงวอร์ซอ ยอมจำนนเมื่อวันที่ 29 กันยายน ในวันที่ 1 ตุลาคม กองทัพโซเวียตขับไล่กองทัพโปแลนด์ให้ล่าถอยไปจนถึงเขตป่าในยุทธการแห่ง Wytyczno ซึ่งเป็นหนึ่งในการเผชิญหน้าโดยตรงครั้งสุดท้ายของการทัพดังกล่าว[36]

ทหารประจำการบางแห่งได้ป้องกันที่มั่นของตนหลังจากที่ส่วนอื่น ๆ ได้ยอมจำนนไปแล้ว แต่กองกำลังสุดท้ายของโปแลนด์ที่ยอมจำนน คือ กลุ่มปฏิบัติการอิสระโปลิเซ่ นายพลฟรานซิสเซ็ค คลีเบิร์ก (Samodzielna Grupa Operacyjna "Polesie") ในวันที่ 6 ตุลาคม หลังจากยุทธการแห่งค็อก ใกล้กับเมืองลูบลิน เป็นเวลาสี่วัน และเป็นจุดสิ้นสุดของการบุกครอง

กองทัพโซเวียตได้รับชัยชนะ ในวันที่ 31 ตุลาคม วียาเชสลาฟ โมโลตอฟได้รายงานต่อรัฐสภาสูงสุดของโซเวียต ว่า: "หลังจากการโจมตีสั้น ๆ ของกองทัพเยอรมัน และตามด้วยการรุกของกองทัพแดง เท่านี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการทำลายสิ่งมีชีวิตอันอัปลักษณ์ซึ่งหลงเหลืออยู่จากสนธิสัญญาแวร์ซาย"[37]

ใกล้เคียง

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การบุกครองโปแลนด์ การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การบุกครองนอร์ม็องดี การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย การบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 การบุกครองยูโกสลาเวีย การบุกเข้าปราซาดุสเตรสโปเดริส พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต http://www.electronicmuseum.ca/Poland-WW2/katyn_me... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&hl=en&vid=I... http://books.google.com/books?vid=ISBN0271010541&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN0415338735&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN0786403713&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN0806526092&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN1841764086&i... http://books.google.com/books?vid=ISBN8849812760&i... http://www.zwoje-scrolls.com/zwoje01/text03p.htm http://web.ku.edu/~eceurope/hist557/lect16.htm