การปกครองประเทศฝรั่งเศส

การปกครองประเทศฝรั่งเศส เป็นระบบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5รัฐสภาแห่งประเทศฝรั่งเศส แบ่งเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ โดยมีประธานาธิบดีใช้อำนาจบริหารร่วมกับนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีสามารถถูกถอดถอนได้โดยสภาผู้แทนราษฎร หรือ"สภาล่าง" โดยการลงมติไม่ไว้วางใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีจะต้องผ่านการสนับสนุนโดยเสียงส่วนมากของสภาฯรัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อทำหน้าที่ผ่านร่างกฎหมายและงบประมาณ รวมทั้งตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ผ่านทางการถามกระทู้สดในรัฐสภา โดยมีสภารัฐธรรมนูญ ("Conseil Consitutionnel") มีหน้าที่รับรองให้บทบัญญัติต่าง ๆ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยสมาชิกสภารัฐธรรมนูญ จะได้รับการคัดเลือกจากประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา อนึ่ง อดีตประธานาธิบดียังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภารัฐธรรมนูญด้วยระบบตุลาการ ซึ่งเป็นแบบระบบกฎหมายโดยสืบทอดจากประมวลกฎหมายนโปเลียน แบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ศาลแพ่งและอาญา (ดูแลคดีแพ่งและอาญา) และศาลปกครอง (ดูแลเรื่องการใช้อำนาจรัฐ) โดยแต่ละฝ่ายจะมีศาลสูงสุด คือ ศาลยุติธรรมสูงสุด (ศาลฎีกา) สำหรับคดีความทางแพ่งและอาญา และศาลปกครองสูงสุด (ประเทศฝรั่งเศส) สำหรับคดีด้านปกครอง โดยรัฐบาลฝรั่งเศสรวมถึงหน่วยงานและองค์กรอิสระอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอีกหลายทางด้วยประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบรัฐเดี่ยว และแบ่งการปกครองย่อยเป็นแคว้น (région) จังหวัด (départements) และเทศบาล (communes) ซึ่งจะมีขอบเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของตนทั้งด้านการคลังและงบประมาณ ซึ่งรัฐบาลกลางไม่สามารถเข้ามาแทรกแทรงได้เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสเป็นสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community) ซึ่งต่อมาภายหลังได้พัฒนาเป็นสหภาพยุโรป ดังนั้นประเทศฝรั่งเศสจึงต้องถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้กับสหภาพยุโรปตามรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพยุโรป และรัฐบาลฝรั่งเศสจำต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาและกฎข้อบังคับแห่งสหภาพยุโรป

ใกล้เคียง

การปกครองประเทศฝรั่งเศส การปกครอง การปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองเวียดนามของจีนครั้งแรก การปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองของบริษัทในอินเดีย การปกครองส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย) การปกครองส่วนกลาง การปกปิดการจัดสรร การปกครองส่วนภูมิภาค