การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน
การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน

การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน

บทความนี้กล่าวถึงการปฏิรูปเศรษฐกิจในสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการควบคุมสังคมและนโยบายของสหภาพโซเวียต ดูที่ กลัสนอสต์ และ เปเรสตรอยคาบทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน (จีนตัวย่อ: 改革开放; จีนตัวเต็ม: 改革開放; พินอิน: Gǎigé kāifàng; ตรงตัว: ปฏิรูปและเปิดออก) หมายถึงนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็น สังคมนิยมในแบบจีน ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 โดยนักปฏิรูปภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่นำโดยเติ้ง เสี่ยวผิงในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศจีนมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก[1] โดยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 อดัม สมิธ อ้างว่าจีนคือหนึ่งในชาติที่ร่ำรวยที่สุดมาช้านาน และเป็นหนึ่งในชาติที่อุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง มีความเป็นเมือง และมีอุตสาหกรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก[2] แต่เศรษฐกิจจีนเริ่มซบเซาลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16[3] และถดถอยลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 แม้ว่าจะมีช่วงฟื้นตัวสั้น ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ก็ตาม[4]การปฏิรูปเศรษฐกิจที่ใช้หลักการตลาดเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1978 ซึ่งแบ่งออกเป็นสองระยะ คือระยะแรกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้ถ่ายโอนภาคเกษตรกรรมกลับคืนสู่ประชาชนแต่ละปัจเจกบุคคล เปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ และอนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นและเป็นเจ้าของธุรกิจได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังคงเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมส่วนมากในประเทศอยู่เช่นเดิม ส่วนระยะที่สองในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้เริ่มโอนกิจการของรัฐไปเป็นของเอกชน ทำสัญญาให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในอุตสาหกรรมที่รัฐเป็นเจ้าของ รวมทั้งยกเลิกมาตรการควบคุมราคาสินค้า นโยบายปกป้องธุรกิจ และกฎระเบียบหลายอย่างลง แต่ยังคงมาตรการเหล่านี้ไว้ในธุรกิจภาคธนาคารและปิโตรเลียมไว้เช่นเดิม ส่งผลให้ธุรกิจภาคเอกชนเติบโตขึ้นอย่างมากจนมีระดับมากถึงร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปี ค.ศ. 2005[5] โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1978 จนถึง ค.ศ. 2013 เศรษฐกิจจีนเติบโตในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน หรือโดยเฉลี่ยเติบโตร้อยละ 9.5 ต่อปี แต่หลังจากปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลของนายหู จิ่นเทา และนายเวิน เจียเป่า หันกลับมากำกับและควบคุมระบบเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีผลลบล้างต่อการปฏิรูปดังกล่าวบางส่วน[6]ความสำเร็จจากนโยบายและความริเริ่มทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสังคมจีน ทั้งนี้โครงการขนาดใหญ่ที่วางแผนโดยรัฐบาลบวกกับลักษณะตลาดที่เปิดกว้างขึ้นช่วยให้จีนสามารถลดภาวะความยากจนลงได้มาก แต่ในขณะเดียวกันกลับทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและรายได้ขยายตัวมากกว่าเดิม จนถูกนำไปใช้เป็นเหตุผลให้ฝ่ายซ้ายใหม่ของจีนกล่าวโจมตีและวิจารณ์รัฐบาล ส่วนนักวิชาการในแวดวงหลายคนต่างพากันโต้เถียงถึงสาเหตุความสำเร็จจากนโยบายเศรษฐกิจแบบ "คู่ขนาน" นี้ของจีน และนำไปใช้เป็นกรณีเปรียบเทียบกับความพยายามปฏิรูประบบสังคมนิยมในประเทศยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

ใกล้เคียง