การปฏิวัติ ของ การปฏิวัติฝรั่งเศส

การประชุมสภาฐานันดรปี 1789

พิธีเปิดประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789

1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดร ซึ่งมีการประชุมครั้งล่าสุดในปี 1614 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย ฌัก แนแกร์ ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี 1788 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากฐานันดรที่หนึ่ง และ 2 ด้วย

การประชุมมีขึ้นที่พระราชวังแวร์ซายในวันที่ 5 พฤษภาคม 1789 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่สาม ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่า "สมัชชาแห่งชาติ" (Assemblée nationale) ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่หนึ่ง7 มิถุนายน ปีเดียวกัน สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่หนึ่งและที่สอง บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ[ต้องการอ้างอิง]

สมัชชาแห่งชาตินี้ประกาศว่า สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิตราหรือแก้ไขกฎหมายภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภาฐานันดรขึ้นอีก พวกขุนนางและพระตอบตกลง แต่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส ในวันที่สอง0 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ เรียกว่า คำปฏิญาณสนามเทนนิส (Serment du Jeu de Paume)

เปิดฉากการปฏิวัติ

คำปฏิญาณสนามเทนนิส

หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภาสมัชชาแห่งชาติด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคม คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ

การทลายคุกบัสตีย์

ดูบทความหลักที่: การทลายคุกบัสตีย์

ทว่า หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อ็องตัวแน็ต และพระอนุชาของพระองค์ คือ เคานต์แห่งอาร์ตัว (Comte d'Artois) ซึ่งจะได้เป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 10 ในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสแลพระราชวังแวร์ซาย ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังทรงปลดฌัก แนแกร์ ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่หนึ่ง2 กรกฎาคม และทลายคุกบัสตีย์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่หนึ่ง4 กรกฎาคม

หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็เรียกแนแกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม แนแกร์ได้พบกับประชาชนที่ออแตลเดอวีล (l'Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง-ขาว-น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น เคานต์แห่งอาร์ตัวก็ได้หลบหนีออกนอกประเทศ ถือเป็นพระญาติองค์แรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส

หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส ในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพล เดอ ลา ฟาแย็ต ซึ่งผ่านสงครามปฏิวัติอเมริกามาแล้ว เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง