สาเหตุ ของ การปฏิวัติฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศส

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ:
ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส



ประเทศอื่นๆ · แผนที่

มูลเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสมีความซับซ้อนและยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ชี้ไปที่เหตุการณ์ และปัจจัยภายในต่าง ๆ ของระบอบเก่า (Ancien Régime) จำนวนหนึ่งว่าเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การปฏิวัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจรวมถึงความหิวโหยและทุพโภชนาการในประชากรกลุ่มที่ยากแค้นที่สุด อันเนื่องมาจากราคาขนมปังที่สูงขึ้น หลังจากการเก็บเกี่ยวธัญพืชที่ให้ผลไม่ดีหลายปีติดต่อกัน ซึ่งบางส่วนเกิดจากสภาพอากาศผิดปกติจากสภาพความหนาวเย็นผิดฤดู ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมของภูเขาไฟที่ลากีและกริมสวอทน์ใน 1783-1784 ประกอบกับราคาอาหารที่สูงขึ้น และระบบการขนส่งที่ไม่เพียงพอซึ่งขัดขวางการส่งสินค้าอาหารปริมาณมากจากพื้นที่ชนบทไปยังศูนย์กลางประชากรขนาดใหญ่ ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้สังคมฝรั่งเศสขาดเสถียรภาพในช่วงก่อนการปฏิวัติอย่างยิ่ง[4][5]

สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ ภาวะใกล้จะล้มละลายของรัฐบาลจากค่าใช้จ่ายในสงครามที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมรบจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามเจ็ดปี และสงครามปฏิวัติอเมริกา สงครามใหญ่เหล่านี้ก่อหนี้จำนวนมหาศาลให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงจากการสูญเสียการครอบครองพื้นที่อาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือ และการครอบงำทางพาณิชย์ของบริเตนใหญ่ที่เพิ่มขึ้น ทั้งระบบการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพและล้าสมัยของฝรั่งเศสก็ไม่สามารถจัดการกับหนี้สาธารณะได้ ทางรัฐบาลพยายามจะแก้ไขสถานการณ์ทางการเงินด้วยการเก็บภาษีเพิ่ม แต่ลักษณะการเก็บภาษีเป็นแบบถดถอย (regressive) กล่าวคือยิ่งมีรายได้มากภาระการจ่ายภาษียิ่งลดลง วิธีการเก็บภาษีดังกล่าวนอกจากจะล้าสมัยแล้ว ยังทวีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้นไปอีก[6][7] เมื่อต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติการคลังเช่นนี้ กษัตริย์ฝรั่งเศสจึงทรงเรียกประชุมสภาฐานันดร (États-Généraux) ขึ้นตามคำแนะนำของสมัชชาชนชั้นสูง ในปี 1787

สำหรับปัจจัยทางการเมือง เยือร์เกิน ฮาเบอร์มาส นักปรัชญาชาวเยอรมันอธิบายว่าเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของ "พื้นที่สาธารณะ" ที่กำลังเกิดขึ้นในฝรั่งเศสและยุโรปในช่วง ศ.ที่หนึ่ง8[8] โดยก่อนหน้านี้ (ศตวรรษที่หนึ่ง7) ฝรั่งเศสมีจารีตประเพณีการปกครองที่แยกชนชั้นปกครองออกจากชนชั้นที่ถูกปกครองอย่างชัดเจน ฝ่ายชนชั้นปกครองของฝรั่งเศสเป็นผู้ยึดกุมพื้นที่สาธารณะอย่างสิ้นเชิง และมุ่งจะแสดงออกถึงอำนาจทางการเมืองผ่านทางวัตถุ โดยการสร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะที่ใหญ่โต หรูหรา และมีราคาแพง[9] เช่น พระราชวังแวร์ซาย ซึ่งถูกสร้างให้อาคันตุกะต้องมนต์ของความงดงามอลังการ และเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งอำนาจที่เกรียงไกรของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่พอถึงศตวรรษที่ 18 ประชาชนเริ่มมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น การรู้หนังสือในหมู่ราษฎรมีเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจเอกสารสิ่งพิมพ์มีความคึกคัก มีการพบปะพูดคุยและเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารตามร้านกาแฟ ร้านหนังสือพิมพ์ และโรงช่างฝีมือในกรุงปารีส จนเกิดเป็นพื้นที่สาธารณะนอกการควบคุมของรัฐ และมีศูนย์กลางอยู่ที่ปารีสแทนที่จะเป็นแวร์ซาย[10] กรณีพิพาทบูฟง (Querelle des Bouffons) ในปี 1750 เป็นเหตุการณ์แรก ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าความเห็นของสาธษรณะมีความสำคัญ แม้แต่ในเรื่องรสนิยมทางดนตรีซึ่งเคยเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชนชั้นสูง หลังจากนั้นความเชื่อว่าทัศนะของสาธารณชน (แทนที่จะเป็นราชสำนัก) มีสิทธิที่จะตัดสินปัญหาทางวัฒนธรรมก็พัฒนาไปสู่ความต้องการของสาธารณะที่จะชี้ขาดปัญหาทางการเมืองในเวลาต่อมา

ใกล้เคียง