ผลที่ตามมา ของ การประชุมสันติภาพเจนีวา

ผลของการประชุมเจนีวาไม่มีความคืบหน้าที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการยึดครองคูเวตของอิรัก ฏอริก อาสีส มีอำนาจเพียงเล็กน้อยในการเปลี่ยนแปลงทัศนะของอิรักและจำเป็นต้องให้การสนับสนุนทัศนะดั้งเดิมของซัดดัม ซัดดัมได้ใช้การประชุมดังกล่าวเพื่อจุดประสงค์ด้านการโฆษณาชวนเชื่อในอิรัก ขณะที่สหรัฐอเมริกาใช้การประชุมดังกล่าวเพื่อแสดงให้โลกเห็นว่าตนกำลังวิตกกับการแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าวโดยไม่มีปฏิบัติการทางทหาร และเพื่อแจ้งให้ซัดดัมทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นหากเขาไม่สามารถถอนกำลังทหารอิรักออกจากคูเวตได้ การประชุมดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่ในเวลาต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่า สงครามอ่าว หรือปฏิบัติการพายุทะเลทราย ประเทศอาหรับยืนกรานว่าสหรัฐอเมริกาจะต้องดำเนินการตามมติที่ 678 และเสนอการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารเพื่อดำเนินการในมติทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการยึดครองคูเวต

ภายหลังการประชุม อาสีสอธิบายแก่สื่อว่า อิรักต้องการทางออกอย่างสันติต่อปัญหาในภูมิภาค แต่มันไม่สามารถเป็นเพียงสิ่งที่เกี่ยวข้องเฉพาะแต่การยึดครองคูเวตเท่านั้น แต่มันจะต้องรวมถึงการยึดครองกาซา เวสต์แบงก์ และที่ราบสูงโกลัน ปฏิกิริยาของเบเกอร์หลังการประชุม คือ อิรักไม่ปรารถนาที่จะสนับสนุนมติสหประชาชาติ และอิรักต้องการจะคงการยึดครองคูเวตในปัจจุบันต่อไป เบเกอร์มีความหวังน้อยมากว่าจะมีหนทางอื่นนอกเหนือจากการใช้กำลังทหารในการนำอิรักออกจากคูเวต[5] ถึงแม้ว่าการประชุมดังกล่าวจะมีความสำเร็จน้อยมาก แต่มันได้เป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ที่ทั้งสองประเทศพบกันแบบตัวต่อตัว ทั้งสองประเทศยังคงยืนยันทัศนะของตนอย่างหนักแน่นและเป็นความหวังสุดท้ายสำหรับทางออกอย่างสันติ[6]

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การปรับอากาศรถยนต์ การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประมาณราคา การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกันภัย การประกวดเพลงยูโรวิชัน