ภูมิหลัง ของ การประชุมเจนีวา_(ค.ศ._1954)

ปัญหาเกาหลี

ดูบทความหลักที่: สงครามเกาหลี

ในการลงนามสงบศึกหลังจากสงครามเกาหลีได้มีข้อกำหนดไว้ว่าจะต้องมีการประชุมทางการเมืองภายใน 3 เดือน ซึ่งเป็นกำหนดการที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ "เพื่อจัดการผ่านการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาของการถอนกองกำลังต่างชนิดทั้งหมดออกจากเกาหลี การจัดการอย่างสันติเกี่ยวกับปัญหาเกาหลี และอื่น ๆ"[3]

ปัญหาอินโดจีน

การประชุมเจนีวา

หลังจากความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 รัฐบาลเฉพาะกาลสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ฟื้นฟูการปกครองอาณานิคมในอินโดจีนฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1946 ได้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนพวกชาตินิยมและคอมมิวนิสต์ สงครามอาณานิคมครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างกองทัพรบนอกประเทศของสหภาพฝรั่งเศสและกองโจรเวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ซึ่งได้เปลี่ยนไปสู่วิกฤตการณ์สงครามเย็นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1950[4] คอมมิวนิสต์เวียดมินห์ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเพิ่งจะได้รับการประกาศใหม่ และสหภาพโซเวียต ในขณะที่ฝรั่งเศสและกองทัพแห่งชาติเวียดนามซึ่งเพิ่งจะได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่ ก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน

ยุทธการที่เดียนเบียนฟูซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคมและดำเนินไประหว่างการประชุม ปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องการมีชัยชนะและสร้างตำแหน่งซึ่งอำนวยประโยชน์สำหรับการเจรจาที่ได้รับการวางแผนไว้เกี่ยวกับ "ปัญหาอินโดจีน" หลังจากมีการรบเป็นเวลา 55 วัน ที่ตั้งของฝรั่งเศสซึ่งถูกล้อมได้พ่ายแพ้และตำแหน่งกลางของฝรั่งเศสทั้งหมดถูกยึดครองโดยเวียดมินห์

สงครามครั้งนี้มีความสำคัญซึ่งได้แสดงให้เห็นอย่างเต็มตาว่ามหาอำนาจอาณานิคมตะวันตกสามารถถูกเอาชนะได้โดยกองกำลังปฏิวัติของชนพื้นเมือง ที่ผ่านมา ฝรั่งเศสได้ปราบปรามการลุกฮือที่คล้ายคลึงกันในอาณานิคมมาดากัสการ์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ไม่กี่เดือนหลังจากยุทธการที่เดียนเบียนฟู ได้วางกำลังทหารในแอลจีเรีย และสงครามประกาศอิสรภาพซึ่งเป็นสงครามกองโจร เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1954 ความไม่ไว้วางใจและการต่อต้านของบรรดาเสนาธิการของกองทัพต่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 หลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง นำไปสู่รัฐประหารสองครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1958 และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1961 นายพลกบฏส่วนใหญ่เป็นทหารผ่านศึกอินโดจีน รวมไปถึงอดีตผู้บัญชาการ ราอูล ซาลัน

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท