การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน_พ.ศ._2532
การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน_พ.ศ._2532

การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน_พ.ศ._2532

สายแข็ง:สายกลาง:ผู้นำนักศึกษาปัญญาชนการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในจีนแผ่นดินใหญ่ว่า เหตุการณ์ 4 มิถุนายน (จีน: 六四事件; พินอิน: liùsì shìjiàn) เป็นการเดินขบวนที่มีนักศึกษาเป็นหัวหน้า จัดในจัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่งระหว่างปี 2532 ขบวนการประชาชนระดับชาติได้รับบันดาลใจจากผู้ประท้วงกรุงปักกิ่งบ้างเรียก ขบวนการประชาธิปไตยปี 89 (จีน: 八九民运; พินอิน: bājiǔ mínyùn) การประท้วงเริ่มต้นในวันที่ 15 เมษายนและถูกปราบปรามด้วยกำลังในวันที่ 4 มิถุนายนเมื่อรัฐบาลประกาศกฎอัยการศกและส่งกองทัพเข้ายึดครองส่วนกลางของกรุงปักกิ่ง มีเหตุการณ์ที่ทหารถือปืนเล็กยาวจู่โจมและรถถังยิงใส่ผู้ประท้วงและผู้พยายามขัดขวางการรุกของกองทัพเข้าสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเรียก การสังหารหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน มีประมาณยอดผู้เสียชีวิตตั้งแต่หลายร้อยถึงหลายพันคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคน[1][2][3][4][5][6]การประท้วงดัวกล่าวเกิดจากผู้นำคอมมิวนิสต์สายปฏิรูป หู ย่าวปัง เสียชีวิตในเดือนเมษายน 2532 ท่ามกลางฉากหลังที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในประเทศจีนหลังยุคเหมา ผู้ประท้วงสะท้อนความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของประเทศในความสำนึกของประชาชนและในหมู่อภิชนทางการเมือง การปฏิรูปในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่เศรษฐกิจแบบตลาดเพิ่งเริ่มใหม่ที่เอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม แต่ทำให้คนที่เหลือเอาใจออกห่างอย่างรุนแรง และระบบพรรคการเมืองเดียวยังเผชิญกับการท้าทายความชอบธรรม ความเดือดร้อนทั่วไปในเวลานั้นได้แก่เงินเฟ้อ การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเตรียมพร้อมบัณฑิตสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่มีจำกัด[7] และการจำกัดการมีส่วนร่วมทางการเมือง นักศึกษายังเรียกร้องให้รัฐบาลมีภาระความรับผิดเพิ่มขึ้น กระบวนการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพในการพูด แม้นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีการจัดตั้งและมีเป้าหมายหลากหลาย ในช่วงที่การประท้วงสูงสุด มีประชาชนประมาณ 1 ล้านคนชุมนุมในจัตุรัส[8]ขณะที่การประท้วงพัฒนา ทางการตอบโต้ทั้งด้วยยุทธวิธีประนอมและสายแข็ง ซึ่งเปิดเผยความแตกแยกร้าวลึกในหมู่หัวหน้าพรรค[9] เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม การประท้วงอดอาหารที่นักศึกษานำทำให้เกิดการสนับสนุนการเดินขบวนท่วประเทศ และการประท้วงแพร่ไปยังนคร 400 แห่ง[10] สุดท้ายผู้นำสูงสุดของจีน เติ้ง เสี่ยวผิง และผู้อาวุโสในพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่นเชื่อว่าการประท้วงเป็นภัยคุกคามทางการเมืองและตัดสินใจใช้กำลัง[11][12] สภารัฐประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคมและระดมทหารประมาณ 300,000 นายมายังกรุงปักกิ่ง[10] ทหารบุกเข้าสู่ส่วนกลางของกรุงปักกิ่งผ่านถนนสำคัญของนครในเช้ามืดวันที่ 4 มิถุนายน และฆ่าผู้เดินขบวนและคนมุงไปพร้อมกันชุมชนนานาชาติ องค์การสิทธิมนุษยชนและนักวิเคราะห์การเมืองประณามรัฐบาลจีนจากการสังหารหมู่ ประเทศตะวันตกกำหนดการคว่ำบาตรอาวุธต่อประเทศจีน[13] รัฐบาจีนจับกุมผู้ประท้วงและผู้สนับสนุนอย่างกว้างขวาง ปราบปรามการประท้วงอื่นทั่วประเทศ ควบคุมการรายงานเหตุการณ์ของสือในประเทศอย่างเข้มงวด เสริมกำลังตำรวจแกำลังความมั่นคงภายใน และลดระดับหรือขับไล่เจ้าหน้าที่ที่ดูฝักใฝ่การประท้วง[14] กล่าวให้กว้างขึ้น การปราบปรามชะลอนโยบายการเปิดเสรีในคริสต์ทศรรษ 1980 การประท้วงดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์พลิกผัน และกำหนดข้อจำกัดการแสดงออกทางการเมืองในประทศจีนจวบจนปัจจุบัน[15] ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สัมพันธ์กับการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมขอการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง แลเป็นหัวข้อที่มีการตรวจพิจารณามากที่สุดในประเทศจีน[16][17]

การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน_พ.ศ._2532

วิธีการ การประท้วงอดอาหาร ปักหลักชุมนุม การยึดพื้นที่จัตุรัสสาธารณะ
ผล
  • การบังคับใช้กฎอัยการศึกที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เผิงประกาศในบางพื้นที่ของกรุงปักกิ่ง ดำเนินการโดยใช้บังคับตั้งแต่ 3 มิถุนายน 2532 (ประกาศ 20 พฤษภาคม 2532 – 10 มกราคม 2533 รวม 7 เดือน 3 สัปดาห์)
  • พลเรือน รวมทั้งคนมุง ผู้ประท้วง (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงาน) และผู้ก่อจลาจลกีดขวางทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชน ถูกทหารยิงในหลายจุดในกรุงปักกิ่ง (ยกเว้นจัตุรัสเทียนอันเหมิน)
  • มีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน และได้รับบาดเจ็บหลายพันคนทั้งในและนอกจัตุรัสเทียนอันเหมิน
  • ผู้ก่อจลาจลฆ่าทหารหลายนาย และมีหลายพันนายได้รับบาดเจ็บในวันที่ 3 และ 4 มิถุนายนหลังพลเรือนถูกฆ่า
  • มีการประท้วงทั่วประเทศเพื่อตอบโต้การปราบปราม
  • ภายหลังผู้นำการประท้วงและผู้เรียกร้องประชาธิปไตยบางคนถูกเนรเทศหรือจำคุก
  • ประหารชีวิตผู้ก่อจลาจลที่ถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมรุนแรงในอีกไม่กี่เดือนต่อมา
  • ขบวนการประชาธิปไตยถูกปราบปราม
  • จ้าว จือหยางถูกถอดออกจากตำแหน่งเลขาธิการและคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรค
  • เติ้ง เสี่ยวผิงแต่งตั้งเจียง เจ๋อหมิน เดิมเป็นเลขาธิการพรรคเซี่ยงไฮ้ เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และผู้นำสูงสุด
  • ประเทศตะวันตกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและอาวุธต่อประเทศจีน
  • เริ่มปฏิบัติการเยลโลเบิร์ด
  • การปฏิรูปตลาดล่าช้า
  • การควบคุมสื่อเข้มงวดขึ้น
  • การปฏิรูปการเมืองหยุดชะงัก
สาเหตุ
เป้าหมาย ยุติการฉ้อราษฎร์บังหลวงในพรรคคอมมิวนิสต์ การปฏิรูปประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการสมาคม
สถานที่ กรุงปักกิ่งและอีก 400 นครทั่วประเทศ
จัตุรัสเทียนอันเหมิน 39°54′12″N 116°23′30″E / 39.90333°N 116.39167°E / 39.90333; 116.39167พิกัดภูมิศาสตร์: 39°54′12″N 116°23′30″E / 39.90333°N 116.39167°E / 39.90333; 116.39167
วันที่ 15 เมษายน – 4 มิถุนายน 2532
เสียชีวิต ไม่มีตัวเลขแน่นอน มีประมาณตั้งแต่หลักร้อยถึงหลายพันคน

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท