การปะทุของกริมสวอทน์_พ.ศ._2554
การปะทุของกริมสวอทน์_พ.ศ._2554

การปะทุของกริมสวอทน์_พ.ศ._2554

การปะทุของกริมสวอทน์ พ.ศ. 2554 เป็นการปะทุของภูเขาไฟกริมสวอทน์ ภูเขาไฟที่มีพลังมากที่สุดของไอซ์แลนด์ ซึ่งทำให้เกิดการขัดขวางการเดินทางทางอากาศอย่างกว้างขวางทั่วทวีปยุโรปในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 การปะทุครั้งล่าสุดของกริมสวอทน์เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547[1] และการปะทุในอดีตครั้งรุนแรงที่สุดเคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2416[2]เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เกิดการปะทุขนาดเล็กขึ้น และในวันเดียวกัน การปะทุได้ทำลายน้ำแข็งซึ่งปกคลุมธารน้ำแข็ง ก่อนจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยพ่นเถ้าภูเขาไฟขึ้นไปสูงถึง 20 กิโลเมตรในอากาศ[3] นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กตามมาหลายครั้งขณะที่เกิดการปะทุขึ้น[4]เมื่อถึงวันที่ 22 พฤษภาคม เถ้าภูเขาไฟเริ่มแพร่กระจายไปถึงสกอตแลนด์และทางเหนือของแคว้นอังกฤษ ซึ่งส่งผลทำให้ต้องปิดน่านฟ้า และเกิดความขัดข้องในการเดินทางทางอากาศครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์เมื่อปีที่แล้ว ไอซ์แลนด์ยังได้ปิดท่าอากาศยานนานาชาติเคฟลาวิก ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของไอซ์แลนด์ โดยเที่ยวบินโดยสารภายในประเทศถูกยกเลิกเช่นเดียวกัน[5] เที่ยวบินโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกยังได้ประสบกับความล่าช้า และยังมีความเป็นไปได้ว่าการขัดข้องในการเดินทางทางอากาศอาจทำให้การเดินทางเยือนไอร์แลนด์ของประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา ต้องถูกยกเลิกไป[6]ส่วนประกอบของเถ้าภูเขาไฟจากกริมสวอทน์มีปริมาณซิลิกาต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับเถ้าภูเขาไฟจากเอยาฟยาตลาเยอคุตล์เมื่อปีที่แล้ว (50% เทียบกับ 63%) ซึ่งหมายความว่า การปะทุเมื่อปีที่แล้วมีความเหนียวกว่า เถ้าที่ถูกปลดปล่อยจากกริมสวอทน์มีความหยาบมากกว่าอนุภาคที่เล็กกว่าและถูกกัดกร่อนมากกว่าที่ถูกปลดปล่อยมาจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์[7]เมื่อถึงวันที่ 23 พฤษภาคม ทางการเดนมาร์กประกาศปิดน่านฟ้าที่มีความสูงต่ำกว่า 6.4 กิโลเมตรในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีบางเที่ยวบินล่าช้าหรือถูกยกเลิกไปที่โคเปนเฮเกน[8]

ใกล้เคียง

การปะทะที่บางกลอย พ.ศ. 2535 การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2565 การปะทะตามแนวชายแดนพม่า พ.ศ. 2553–2554 การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566 การปะทุลิมนิก การปะทุของเขามาราปี พ.ศ. 2566 การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะลาปัลมา พ.ศ. 2564 การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556 การปะทุแบบพลิเนียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปะทุของกริมสวอทน์_พ.ศ._2554 http://www.ft.com/cms/s/0/8c7bf100-8512-11e0-871e-... http://www.ibtimes.com/articles/149766/20110522/ic... http://www.reuters.com/article/2011/05/25/us-icela... http://en.vedur.is/about-imo/news/2011/nr/2174 http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-1350... http://www.bbc.co.uk/news/uk-13498477 http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-13487858 http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-13489944