การปะทุลิมนิก
การปะทุลิมนิก

การปะทุลิมนิก

การปะทุลิมนิก (อังกฤษ: limnic eruption) หรือ การพลิกกลับของทะเลสาบ (lake overturn) เป็นภัยธรรมชาติพบได้ยากซึ่งเกิดจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ผุดขึ้นจากทะเลสาบน้ำลึกอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบริเวณนั้นขาดอากาศหายใจ การปะทุนี้อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ คลื่นเซชและการเพิ่มขึ้นของ CO2 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแผ่นดินไหว ภูเขาไฟและการระเบิดอื่น ๆ เป็นปัจจัยเอื้อให้เกิดการปะทุลิมนิก ทะเลสาบที่เกิดการปะทุเรียกว่า ทะเลสาบมีพลังลิมนิก (limnically active lakes) หรือทะเลสาบระเบิด (exploding lakes)ลักษณะของการปะทุลิมนิก ได้แก่ แหล่งน้ำที่มี CO2 อิ่มตัว, ก้นทะเลสาบที่มีอุณหภูมิต่ำ บ่งบอกถึงการขาดอันตรกิริยาระหว่างภูเขาไฟกับน้ำในทะเลสาบ, ชั้นความร้อนด้านบนและล่างที่มีความอิ่มตัวของ CO2 ต่างกันและความใกล้เคียงกับพื้นที่ภูเขาไฟ อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์เสนอว่าการปะทุอาจไม่เกี่ยวข้องกับภูเขาไฟโดยตรงหลังศึกษาผลกระทบจากทะเลสาบโมนูนและทะเลสาบนีออส[1]

ใกล้เคียง

การปะทะที่บางกลอย พ.ศ. 2535 การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2565 การปะทะตามแนวชายแดนพม่า พ.ศ. 2553–2554 การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566 การปะทุลิมนิก การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะลาปัลมา พ.ศ. 2564 การปะทุของเขามาราปี พ.ศ. 2566 การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556 การปะทุแบบพลิเนียน