สาเหตุ ของ การปะทุลิมนิก

ทะเลสาบที่จะเกิดการปะทุลิมนิกจะมีความอิ่มตัวระหว่างน้ำกับแก๊สใกล้เคียงกัน แก๊สดังกล่าว ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน CO2 อาจเกิดจากแก๊สภูเขาไฟที่ผุดจากใต้ทะเลสาบหรือการเน่าสลายของอินทรียวัตถุ ใต้ทะเลสาบซึ่งมีความดันสูงและอุณหภูมิต่ำเอื้อให้ CO2 ละลายน้ำจนเมื่อ CO2 อิ่มตัว ทะเลสาบจะอยู่ในสภาวะไม่เสถียรและส่งกลิ่นคล้ายไข่เน่าและดินปืน[7] อย่างไรก็ตามการปะทุต้องการสิ่งกระตุ้น เช่น ดินถล่ม การปะทุของภูเขาไฟหรือแผ่นดินไหว รวมถึงความอิ่มตัวของแก๊สที่ความลึกเฉพาะก็อาจส่งผลให้แก๊สปะทุเฉียบพลัน[8] เมื่อมีปัจจัยกระตุ้นและความดันเปลี่ยนแปลง ฟองแก๊สจะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำและอาจส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิ

การปะทุลิมนิกเป็นปรากฏการณ์หายากเนื่องจากต้องมีแหล่ง CO2, เป็นทะเลสาบเมโรมิกติกอันเป็นทะเลสาบที่ชั้นน้ำต่างกัน ซึ่งหากชั้นน้ำถูกรบกวนจะส่งผลให้แก๊สปะทุ และทะเลสาบต้องมีความลึกและความดันเพียงพอเพื่อให้ CO2 ละลายในน้ำ

ใกล้เคียง

การปะทะที่บางกลอย พ.ศ. 2535 การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2565 การปะทะตามแนวชายแดนพม่า พ.ศ. 2553–2554 การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566 การปะทุลิมนิก การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะลาปัลมา พ.ศ. 2564 การปะทุของเขามาราปี พ.ศ. 2566 การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556 การปะทุแบบพลิเนียน