เหตุการณ์ ของ การปะทุลิมนิก

ทะเลสาบโมนูน
ทะเลสาบนีออส
ตำแหน่งทะเลสาบที่เคยเกิดการปะทุลิมนิกสองครั้งในสมัยปัจจุบัน

เนื่องจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ตรวจพบได้ยากในธรรมชาติ จึงเป็นการยากในการระบุการปะทุลิมนิกในอดีต พลูทาร์ก นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันบันทึกว่าในปี 406 ก่อนคริสตกาล ระดับน้ำในทะเลสาบอัลแบโนเพิ่มสูงขึ้นจนท่วมเนินเขารอบ ๆ ทั้งที่ไม่มีฝนตกหรือรับน้ำจากลำน้ำสาขา[2] ระดับน้ำนั้นท่วมไร่นาและไร่องุ่นก่อนจะไหลออกสู่ทะเล เหตุการณ์นี้เชื่อว่าเกิดจากแก๊สภูเขาไฟใต้ตะกอนก้นทะเลสาบปะทุขึ้นมาจนดันระดับน้ำล้น[3]

พบการปะทุลิมนิกในสมัยปัจจุบัน 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดที่ทะเลสาบโมนูนในประเทศแคเมอรูนในปี ค.ศ. 1984 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากภาวะขาดอากาศหายใจ 37 คน[4] ครั้งที่สองเกิดที่ทะเลสาบนีออสที่อยู่ใกล้เคียงในปี ค.ศ. 1986 โดยในครั้งนี้มีปริมาณ CO2 ปะทุออกมากว่า 80 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,700 คนและปศุสัตว์ตาย 3,000 ตัว[5]

ทะเลสาบคีวูตรงพรมแดนระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกกับรวันดาเป็นจุดหนึ่งที่มีรายงานถึงปริมาณแก๊ส CO2 จำนวนมาก ทะเลสาบแห่งนี้มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากรายล้อมด้วยชุมชนหนาแน่นและอยู่ใกล้กับภูเขาเนียรากองโกซึ่งเป็นภูเขาไฟมีพลัง นอกจากนี้ยังพบปริมาณแก๊สมีเทนและอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงขึ้น ในปี ค.ศ. 2010 รวันดาดำเนินการวางท่อแก๊สในทะเลสาบคล้ายกับที่ทะเลสาบนีออสเพื่อนำแก๊สมีเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิง และเป็นการลดปริมาณ CO2 ทางหนึ่ง[6]

ใกล้เคียง

การปะทะที่บางกลอย พ.ศ. 2535 การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2565 การปะทะตามแนวชายแดนพม่า พ.ศ. 2553–2554 การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566 การปะทุลิมนิก การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะลาปัลมา พ.ศ. 2564 การปะทุของเขามาราปี พ.ศ. 2566 การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556 การปะทุแบบพลิเนียน