ผลกระทบ ของ การปะทุลิมนิก

เมื่อเกิดการปะทุ กลุ่มแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะลอยตัวเหนือทะเลสาบและแพร่กระจายไปยังบริเวณรอบ ๆ CO2 หนาแน่นกว่าอากาศจึงลอยตัวเหนือพื้นดินและแทนที่อากาศหายใจ ผู้ประสบเหตุที่สูดดม CO2 จะมีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง (hypercapnia) และภาวะกรดเกินจากการหายใจ (respiratory acidosis) เมื่อผู้ประสบเหตุพยายามหายใจมากขึ้นจะยิ่งประสบภาวะขาดอากาศหายใจจนเสียชีวิต

การปะทุลิมนิกที่ทะเลสาบนีออสก่อให้เกิดกลุ่มแก๊สที่แพร่ไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง ส่งผลให้ชาวบ้านเสียชีวิตเกือบทั้งหมด จากการชันสูตรพบผู้เสียชีวิตมีสีผิวเปลี่ยนไปจึงสันนิษฐานว่ากลุ่มแก๊สนี้อาจมีกรดอย่างไฮโดรเจนคลอไรด์เจือปน แต่ข้อสันนิษฐานนี้ยังเป็นที่ถกเถียง[9] นอกจากนี้ยังพบผู้เสียชีวิตมีตุ่มพองตามผิวหนัง ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากแผลเปื่อยจากความดัน เป็นผลจากระดับออกซิเจนในเลือดต่ำเนื่องจากมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง[10]

ใกล้เคียง

การปะทะที่บางกลอย พ.ศ. 2535 การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปะทุของภูเขาไฟฮูงาโตงาและคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2565 การปะทะตามแนวชายแดนพม่า พ.ศ. 2553–2554 การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566 การปะทุลิมนิก การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะลาปัลมา พ.ศ. 2564 การปะทุของเขามาราปี พ.ศ. 2566 การปะทะที่บาเจาะ พ.ศ. 2556 การปะทุแบบพลิเนียน