การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี_พ.ศ._2560
การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี_พ.ศ._2560

การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี_พ.ศ._2560

จากวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 ถึง 15 มกราคม พ.ศ. 2563 วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ ถูกบล็อกในประเทศตุรกี ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 เจ้าหน้าที่ตุรกีบล็อกการเข้าถึงทางออนไลน์ทุกภาษาทั่วประเทศ[1][2] การปิดการเข้าถึงนี้ถูกกำหนดตามกฎหมายตุรกีมาตราที่ 5651[3] เนื่องจากบทความstate-sponsored terrorism (ในฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560) ของฉบับภาษาอังกฤษที่กล่าวถึงตุรกีว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์กับอัลกออิดะฮ์ ซึ่งศาลตุรกีมองว่าเป็นการชักใยของสื่อมวลชนสาธารณะ[4]แคเธอรีน มาร์ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียกล่าวในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ว่า มูลนิธิ"ไม่แน่ใจว่าทำไมยังคงถูกแบนอีก"[5] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 หน้าเฟสบุ๊กของวิกิพีเดียเริ่มต้นแคมเปญ"เราคิดถึงตุรกี" (ตุรกี: Özledik) และเปลี่ยนแถบเซ็นเซอร์สีดำบนโลโก้วิกิพีเดียไปเป็นสีแดง และยังมาพร้อมกับแฮชแท็กที่มีชื่อเดียวกัน[6]ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญตุรกีกล่าวว่า การบล็อกวิกิพีเดียถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสั่งให้ยกเลิกการแบนนี้[7] ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 จึงมีการยกเลิกการบล็อกวิกิพีเดียในประเทศตุรกี[8][9][10]

ใกล้เคียง

การปิดล้อม (ยุทธวิธีควบคุมฝูงชน) การปิดกั้นเบอร์ลิน การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี พ.ศ. 2560 การปิดบริการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ พ.ศ. 2556 การปิดล้อมไซ่ง่อน การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปิดประเทศอินเดียเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 การปิดเมืองอู่ฮั่นเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 การปิดสถานี การปิดอิตาลี พ.ศ. 2563

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี_พ.ศ._2560 http://www.cp24.com/world/turkey-u-s-move-armored-... http://www.dw.com/de/t%C3%BCrkei-blockiert-wikiped... http://www.hurriyetdailynews.com/pirate-wikipedia-... http://www.hurriyetdailynews.com/turkey-may-hit-yp... http://www.hurriyetdailynews.com/wikipedia-ban-to-... http://www.hurriyetdailynews.com/wikipedia-still-n... http://www.nrttv.com/en/Details.aspx?Jimare=14156 http://observer.com/2017/05/turkey-wikipedia-ipfs/ http://www.webtekno.com/wikipedia-nin-engellenemey... http://www.focus.de/politik/ausland/internet-zensu...