รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ศัตรูที่ไม่ใช่รัฐรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (อังกฤษ: Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (อาหรับ: الدولة الإسلامية‎, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้"[85][86][87][88] สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISILกลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก[89][90][91][92]เดือนตุลาคม 2557 กองกำลังเฉพาะกิจร่วมนำโดยสหรัฐเริ่มปฏิบัติการโจมตีรัฐอิสลามทางอากาศอย่างหนัก พร้อมด้วยสนับสนุนด้านที่ปรึกษา ยุทโธปกรณ์และการฝึกให้แก่กองทัพอิรักและกองทัพประชาธิปไตยซีเรีย ปฏิบัติการนี้สร้างความเสียหายให้รัฐอิสลามอย่างมาก[93] เดือนกันยายน 2558 รัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางอากาศในซีเรีย ซึ่งยิ่งสร้างความเสียหายแก่รัฐอิสลาม[94] เดือนกรกฎาคม 2560 รัฐอิสลามเสียเมืองโมซูลซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ตามด้วยอัรร็อกเกาะฮ์ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเมืองหลวงให้แก่กองทัพอิรัก[95] หลังจากนั้น รัฐอิสลามเสียดินแดนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเดือนธันวาคม 2560 ไฮเดอร์ อัล-อะบาดี นายกรัฐมนตรีอิรักประกาศว่ากองทัพอิรักสามารถขับไล่ที่มั่นสุดท้ายของรัฐอิสลามในอิรักได้สำเร็จ[96] เดือนมีนาคม 2562 รัฐอิสลามเสียที่มั่นสำคัญสุดท้ายในตะวันออกกลาง[47] ในวันที่ 27 ตุลาคม 2562 อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี เคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลามปลิดชีพตัวเองด้วยระเบิดที่ติดไว้กับตัวหลังถูกหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐไล่ล่า[97][98][99][100][101] วันที่ 31 ตุลาคม 2562 รัฐอิสลามยืนยันการเสียชีวิตของอัลบัฆดาดี และประกาศว่าอะบู อิบราฮิม อัล ฮาชิมี อัล-กุเรชีจะขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์คนใหม่[102]

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

ปรปักษ์ รัฐศัตรู
อื่น ๆ

ศัตรูที่ไม่ใช่รัฐ

รายชื่อทั้งหมด
ผู้นำ
แนวคิด
กำลังพล
จำนวนทหาร
ประชากร
  • ในปีค.ศ. 2015 (ใกล้จุดขยายสูงสุด): 8–12 ล้าน[53][54]
กองบัญชาการ
กลุ่ม
พันธมิตร ดูข้างล่าง
พื้นที่ปฏิบัติการ
ดินแดนของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์เป็นสีเทา ในช่วงเวลาที่ขยายได้สูงสุด (พฤษภาคม ค.ศ. 2015).
รายละเอียดในแผนที่
แผนที่ที่มีรายละเอียดในปัจจุบัน
ปฏิบัติการ
1999–ปัจจุบัน
ถือกำเนิดที่ ญะมาอัต อัตเตาฮีด วัลญิฮาด (1999)[55]

ใกล้เคียง

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ รัฐอิลลินอย รัฐอินดีแอนา รัฐอิสราเอลในโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 รัฐอิสราเอล รัฐอิดัลโก รัฐอิสราเอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 รัฐอิสราเอลในโอลิมปิก รัฐอิหม่ามโอมาน รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ http://www.defence.gov.au/Operations/Okra/default.... http://www.nationalsecurity.gov.au/Listedterrorist... http://www.forces.gc.ca/en/operations-abroad-curre... http://global.britannica.com/EBchecked/topic/19635... http://www.businessinsider.com/heres-what-we-know-... http://edition.cnn.com/2016/03/14/politics/u-s-con... http://www.cnn.com/2015/03/07/africa/nigeria-boko-... http://greece.greekreporter.com/2014/09/25/greece-... http://www.hindustantimes.com/india-news/is-announ... http://www.military.com/video/operations-and-strat...