ภูมิหลัง ของ การปิดล้อมไซ่ง่อน

ในปี 1858 พลเรือเอก ชาลส์ ริโก เดอ เยนูลีโจมตีเวียดนามภายใต้คำสั่งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 หลังจากที่ภารกิจของทูตชาลส์ เดอ มอทินีล้มเหลว ภารกิจของเขาคือการหยุดการดำเนินคดีกับผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกในเวียดนาม และทำให้การเผยแพร่ศาสนาเป็นไปอย่างไม่ติดขัด[2] เพื่อยกพลขึ้นเวียดนาม ริโก เดอ เยนูลีนำเรือรบ 14 ลำ, ทหารนาวิกโยธินฝรั่งเศส 1,000 นาย และทหารสเปนที่ประจำการอยู่ในฟิลิปปินส์อีก 1,000 นาย (ประกอบไปด้วยทหารราบชาวสเปน 550 นาย และทหารราบเบาชาวฟิลิปปินส์อีก 450 นาย)[3] กองกำลังพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ท่าเรือของเมืองทูฮาน (ดานัง) ในเดือนกันยายน ปี 1858 และยึดเมืองได้ หลังจากระดมยิงด้วยปืนใหญ่สักพักหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยึดเมืองได้ไม่นานเท่าไร ฝ่ายพันธมิตรก็ถูกปิดล้อมโดยฝ่ายเวียดนาม ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนทัพเข้าไปได้ไกลเกินว่าการคุ้มกันจากปืนใหญ่ของกองเรือ และจำต้องประจำการอยู่ที่เมืองทูฮาน[4][5]

ใกล้เคียง

การปิดล้อม (ยุทธวิธีควบคุมฝูงชน) การปิดกั้นเบอร์ลิน การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี พ.ศ. 2560 การปิดบริการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ พ.ศ. 2556 การปิดล้อมไซ่ง่อน การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 การปิดประเทศอินเดียเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 การปิดเมืองอู่ฮั่นเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 การปิดสถานี การปิดอิตาลี พ.ศ. 2563