การจัดตั้งศาล ของ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1942 ผู้แทนจากกลุ่มประเทศที่ถูกยึดครองเก้าประเทศเดินทางมาพบกันในกรุงลอนดอน เพื่อที่จะร่างมติร่วมกันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรเกี่ยวกับอาชญากรสงครามชาวเยอรมัน ในการประชุมเตะหราน (ค.ศ. 1943) การประชุมยัลตา และการประชุมพอตสดัม (ค.ศ. 1945) มหาอำนาจทั้งสามระหว่างสงคราม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักร ได้ตกลงกันในรูปแบบของการลงโทษสำหรับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งฝรั่งเศสได้รับเกียรติให้มีที่ในศาลชำระความด้วยเช่นกัน

หลักกฎหมายในการพิจารณาคดีถูกจัดตั้งขึ้นโดยธรรมนูญลอนดอน ซึ่งมีผลในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งกำหนดในมีการพิจารณาคดีเพื่อลงโทษอาชญากรสงครามหลักแห่งกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในทวีปยุโรป อาชญากรสงครามราว 200 คนจะถูกพิจารณาคดีที่เนือร์นแบร์ค ในขณะที่อีกราว 1,600 คนจะถูกพิจารณาดคีโดยศาลทหารทั่วไป ส่วนหลักกฎหมายสำหรับเขตอำนาจศาลนั้นถูกกำหนดโดยตราสารยอมจำนนของเยอรมนี อำนาจทางการเมืองในเยอรมนีถูกโอนไปยังสภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอำนาจอธิปไตยเหนือเยอรมนี และสามารถเลือกที่จะลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายสงคราม เนื่องจากศาลถูกจำกัดไว้ในการฝ่าฝืนกฎหมายสงคราม ศาลดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจพิจารณาอาชญการรมสงครามที่เกิดขึ้นก่อนการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939

อาชญากรรมสงครามฝ่ายสัมพันธมิตร

ศาลพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามได้พิจารณาคดีและลงโทษแต่เพียงบุคคลจากกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะเท่านั้น จึงได้เกิดการกล่าวโทษว่าศาลดังกล่าวได้ใช้ความยุติธรรมของผู้ชนะ เนื่องจากไม่มีคดีความของฝ่ายสัมพันธมิตรเลย ซึ่งนายพลชัก เยเกอร์ ได้เขียนไว้ในอัตชีวประวัติของเขาว่าในภารกิจบางอย่างของเหล่าทหารอากาศอาจถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมสงครามได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภารกิจ "ยิงทุกอย่างที่เคลื่อนไหว" ในชนบทของเยอรมนี) เขาและนักบินคนอื่น ๆ จำเป็นจะต้องปฏิบัติภารกิจเพื่อหลีกเลี่ยงคำตัดสินของศาลทหารฐานขัดคำสั่ง เขายังได้กล่าวอีกว่า เขาหวังว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะชนะสงคราม มิฉะนั้นเขาอาจถูกพิจารณาคดีในข้อหาก่ออาชญกรรมสงคราม[5]

การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของฝ่ายอักษะเป็นสิ่งที่ผิดปกติ และนำไปสู่การก่อตั้งศาลชำระความระหว่างประเทศ โดยทั่วไปแล้ว สงครามระหว่างประเทศจะยุติลงอย่างมีเงื่อนไข และการปฏิบัติต่ออาชญากรรมสงครามจะรวมเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพนั้น ในหลายกรณี ผู้ที่มิได้เป็นอาชญากรสงครามก็ถูกพิจารณาคดีโดยระบบยุติธรรมในชาติของตนเช่นเดียวกัน หากผู้นั้นถูกสงสัยว่าก่ออาชญากรรมสงคราม ในการจำกัดวงในศาลชำระความระหว่างประเทศในการไต่สวนอาชญากรสงครามฝ่ายอักษะที่เป็นที่ต้องสงสัย ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป

สถานที่พิจารณาคดี

ไลพ์ซิจ มิวนิก และลักเซมเบิร์กเคยได้รับพิจารณาให้เป็นสถานที่พิจารณาคดี[6] ส่วนสหภาพโซเวียตต้องการให้จัดการพิจารณาคดีขึ้นในกรุงเบอร์ลิน เนื่องจากเห็นว่าเป็นเมืองหลวงของฟาสซิสต์[6] แต่เนือร์นแบร์คถูกเลือกให้เป็นสถานที่พิจารณาคดีด้วยเหตุผลเฉพาะหลายประการ:

  • พื้นที่ส่วนใหญ่ของทำเนียบยุติธรรมยังคงไม่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร นอกจากนี้ยังมีเรือนจำเป็นส่วนหนึ่งของอาคารด้วย
  • เนือร์นแบร์คถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของพรรคนาซี รวมทั้งมีการจัดการชุมนุมโฆษณาชวนเชื่อทุกปี[6] ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมอบจุดจบให้กับนาซีในเชิงสัญลักษณ์

ด้วยการประนีประนอมกับสหภาพโซเวียต กรุงเบอร์ลินถูกจัดให้เป็นสถานที่พักอย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่ระหว่างการพิจารณาคดี[7][8][9] และยังได้มีการตกลงในฝรั่งเศสมีที่นั่งถาวรในศาลชำระความระหว่างประเทศ[10] และการพิจารณาคดีครั้งแรกจะถูกจัดขึ้นที่เนือร์นแบร์ค[7][9]

ผู้พิพากษา

ผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค: (จากซ้ายไปขวา) จอห์น ปาร์กเกอร์, ฟรานซิส บิดเดิล, อะเลคซันดร์ โวลชคอฟ, อีโอนา นีคีตเชนโค, จีออฟรี ลอว์เรนซ์, นอร์แมน บีร์แคทท์

แต่ละประเทศในศาลทหารระหว่างประเทศ มีผู้พิพากษาและผู้ช่วยอย่างละหนึ่งคน

ทนาย

  • ทนายฝ่ายโจทก์:
  • ทนายฝ่ายจำเลย: จำเลยแต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะต่อสู้คดีโดยมีทนายความประจำตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทนายความชาวเยอรมัน[11]

ใกล้เคียง

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ การพิสูจน์ตัวจริงด้วยปัจจัยหลายอย่าง การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค การพิชิตจักรวรรดิแอซเท็กของสเปน การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม การพิชิตมักกะฮ์ การพิสูจน์ตัวจริงโดยไร้รหัสผ่าน การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน การพิมพ์ การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค http://www.randomhouse.com/catalog/display.pperl?i... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://nuremberg.law.harvard.edu/php/docs_swi.php?... http://www.fdrlibrary.marist.edu/psf/box31/t297a01... http://w3.salemstate.edu/~cmauriello/pdf_his102/nu... http://www.law.uga.edu/academics/profiles/dwilkes_... http://digicoll.library.wisc.edu/cgi-bin/FRUS/FRUS... http://avalon.law.yale.edu/imt/countb.asp http://avalon.law.yale.edu/imt/judfrick.asp http://avalon.law.yale.edu/imt/judfritz.asp