จุดกำเนิด ของ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

บรรดาจำเลยในคอก จำเลยหลัก คือ แฮร์มันน์ เกอริง (แถวล่าง ริมซ้าย) ซึ่งชื่อว่าเป็นข้าราชการคนสำคัญที่สุดของนาซีเยอรมนีที่รอดชีวิตอยู่มาได้หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ตาย

เอกสารของคณะรัฐมนตรีสงครามแห่งอังกฤษ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2006 ระบุว่า ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 คณะรัฐมนตรีได้อภิปรายนโยบายการลงโทษผู้นำนาซีที่ถูกจับ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร สนับสนุนให้มีการประหารชีวิตอย่างรวบรัดในบางพฤติการณ์ โดยใช้พระราชบัญญัติกบฏ (Act of Attainder) เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางกฎหมายบางประการ อย่างไรก็ดี เมื่อได้สนทนากับสหรัฐอเมริกาภายหลังสงครามยุติ สหรัฐอเมริกาปรามเขามิให้ใช้นโยบายนี้ ครั้นปลาย ค.ศ. 1943 ระหว่างงานสโมสรไตรภาคีเลี้ยงอาคารค่ำในการประชุมเตหะราน โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต เสนอให้ประหารชีวิตนายทหารชาวเยอรมันราว ๆ ห้าหมื่นถึงหนึ่งแสนคน แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวติดตลกว่า เอาแค่สี่หมื่นเก้าก็พอ และเชอร์ชิลติเตียนแนวคิด "ประหารชีวิตทหารที่สู้เพื่อประเทศของตนให้ตายเสียอย่างเลือดเย็น" นี้ แต่เขายืนยันว่า ผู้กระทำความผิดอาญาสงครามต้องชดใช้ความผิดของตน และตามปฏิญญามอสโกที่เขาเขียนขึ้นเองนั้น เขายังว่า บุคคลเหล่านั้นจักต้องถูกพิจารณา ณ สถานที่ที่ความผิดอาญาได้กระทำลง เชอร์ชิลล์ต่อต้านการประหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างแข็งขัน[1] [2] ตามรายงานการประชุมระหว่างโรสเวลต์-สตาลินในการประชุมยัลตาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ที่พระราชวังลิวาเดีย ประธานาธิบดีโรสเวลต์ "กล่าวว่า ขอบเขตการทำลายล้างของทหารเยอรมันในไครเมียนั้นสร้างความตระหนกให้แก่เขาเป็นอันมาก และเพราะฉะนั้น เขาจึงกระหายเลือดต่อชาวเยอรมันมากยิ่งกว่าปีก่อน และเขาหวังว่าจอมพลสตาลินจะเสนอแผนการประหารชีวิตนายทหารจำนวนห้าหมื่นคนของกองทัพบกเยอรมันอีกครั้ง"[3]

เฮนรี มอร์เกนเธา จูเนียร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เสนอแผนการให้ทำลายความเป็นนาซีจากเยอรมนีอย่างสมบูรณ์[4] แผนการดังกล่าวเรียกกันว่า "แผนการมอร์เกนเธา" (Morgenthau Plan) มีเนื้อหาสนับสนุนการบังคับให้เยอรมนีสูญเสียอำนาจทางอุตสาหกรรมของตน ในเบื้องต้น โรสเวลต์สนับสนุนแผนการนี้ และโน้มน้าวให้เชอร์ชิลล์สนับสนุนในรูปแบบที่เบาบางลง แต่แผนการเกิดรั่วไหลไปสู่สาธารณชนเสียก่อน จึงมีการประท้วงเป็นวงกว้าง เมื่อทราบว่าประชาชนไม่เอาด้วยอย่างเด็ดขาด โรสเวลต์จึงละทิ้งแผนการดังกล่าว ความที่แผนการมอร์เกนเธาถึงแก่จุดจบลงเช่นนี้ ก็บังเกิดความจำเป็นจะต้องหาวิธีสำรองสำหรับรับมือกับเหล่าผู้นำนาซีขึ้น เฮนรี แอล. สติมสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงของเขา จึงยกร่างแผนการสำหรับ "พิจารณาชาวยุโรปผู้กระทำความผิดอาญาสงคราม" ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เมื่อโรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนใหม่ แสดงความเห็นด้วยอย่างแรงกล้าในอันที่จะให้มีกระบวนการยุติธรรม และหลังสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส ได้เจรจากันหลายยกหลายคราว ก็ได้ข้อสรุปเป็นรายละเอียดของการพิจารณาคดี โดยเริ่มพิจารณาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 ณ เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี

ใกล้เคียง

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ การพิสูจน์ตัวจริงด้วยปัจจัยหลายอย่าง การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค การพิชิตจักรวรรดิแอซเท็กของสเปน การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม การพิชิตมักกะฮ์ การพิสูจน์ตัวจริงโดยไร้รหัสผ่าน การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน การพิมพ์ การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค http://www.randomhouse.com/catalog/display.pperl?i... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://nuremberg.law.harvard.edu/php/docs_swi.php?... http://www.fdrlibrary.marist.edu/psf/box31/t297a01... http://w3.salemstate.edu/~cmauriello/pdf_his102/nu... http://www.law.uga.edu/academics/profiles/dwilkes_... http://digicoll.library.wisc.edu/cgi-bin/FRUS/FRUS... http://avalon.law.yale.edu/imt/countb.asp http://avalon.law.yale.edu/imt/judfrick.asp http://avalon.law.yale.edu/imt/judfritz.asp