ข้อวิจารณ์ ของ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

โดยนักปรัชญาร่วมสมัย

ผู้สนับสนุน ดร.ป็อปเปอร์พูดถึง "ปรัชญามืออาชีพ" อย่างไม่เกรงใจ เป็นต้นว่า

เซอร์คาร์ล ป็อปเปอร์ จริง ๆ ไม่ใช่เป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดกับนักปรัชญามืออาชีพร่วมสมัย แต่ตรงกันข้ามกันทีเดียว เขาได้ทำการแลกเปลี่ยนความคิดนั่นให้เสียหายถ้าเขากำลังดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง นักปรัชญามืออาชีพโดยมากในโลกก็ได้เสียเวลาหรือกำลังเสียเวลาไปกับอาชีพที่ใช้สติปัญญาของตนช่องว่างระหว่างวิธีการทางปรัชญาของป็อปเปอร์กับของนักปรัชญามืออาชีพร่วมสมัยโดยมาก กว้างใหญ่เหมือนกับที่อยู่ระหว่างโหราศาสตร์กับดาราศาสตร์[16]

หรือว่า

แนวคิดของป็อปเปอร์ไม่สามารถทำให้นักปรัชญามืออาชีพโดยมากเชื่อได้ เพราะว่า ทฤษฎีเรื่องความรู้แบบคาดคะเนของเขาไม่แม้แต่จะแกล้งให้เหตุผลเชิงบวกเกี่ยวกับความเชื่อคนอื่นก็ไม่ได้ทำได้ดีกว่า แต่พวกเขาก็พยายามกันต่อไป เหมือนกับพวกนักเคมีที่ยังพยายามหาศิลานักปราชญ์ หรือนักฟิสิกส์]ที่ยังพยายามสร้างเครื่องจักรที่สามารถเคลื่อนที่ได้ตลอดกาล (perpetual motion machine)[17]

หรือ

"สิ่งที่แยกวิทยาศาสตร์ออกจากความพยายามอย่างอื่นของมนุษย์ทั้งหมดก็คือ วิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดและพัฒนาแล้วให้คำอธิบายเรื่องโลกที่สนับสนุนอย่างเข้มแข็งโดยหลักฐาน และหลักฐานนี่แหละเป็นเหตุผลหนักแน่นที่สุดที่ควรจะเชื่อคำอธิบายเหล่านั้น"นั่นเป็นคำที่กล่าวในเบื้องต้นของโฆษณาสำหรับงานประชุมเกี่ยวการอุปนัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ศูนย์กลางการเรียนรู้ในสหราชอาณาจักรซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่นิยมเหตุผลแบบคิดวิเคราะห์ ยังมีงานเหลือมากขนาดไหนที่จะเผยแพร่สาระสำคัญของ "ตรรกะของงานวิจัย"ว่าหลักฐานเชิงประสบการณ์นั้นสามารถทำอะไรได้และทำอะไร[18]

อย่างไรก็ดี นักปรัชญาวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาเชิงวิเคราะห์ร่วมสมัยเดียวกันเป็นจำนวนมาก พากันวิจารณ์ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ของป็อปเปอร์[19]และความไม่เชื่อการคิดหาเหตุผลโดยอุปนัยของเขาทำให้มีคนอ้างว่า ดร.ป็อปเปอร์บิดเบือนข้อปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์

คูนและลอกอโตช

เทียบกับ ดร.ป็อปเปอร์ที่สนใจเรื่อง "ตรรกะ" ของวิทยาศาสตร์เป็นหลัก หนังสือทรงอิทธิพลของ ดร.โทมัส คูน โครงสร้างของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (The Structure of Scientific Revolutions) ตรวจสอบประวัติวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดดร. คูนอ้างว่า นักวิทยาศาสตร์ทำงานภายในระบบเชิงแนวคิด (conceptual paradigm) ที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการมองเห็นความจริงและนักวิทยาศาสตร์จะทำอะไรมากมายเพื่อที่จะป้องกันระบบไม่ให้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ โดยเพิ่มสมมติฐานเฉพาะกิจเข้ากับทฤษฎีที่มีอยู่ดังนั้น การเปลี่ยนระบบ (paradigm) จึงเป็นเรื่องยาก เพราะว่า มันบังคับให้นักวิทยาศาสตร์แต่ละคนต้องตีห่างจากเพื่อนแล้วป้องกันทฤษฎีใหม่ที่นอกคอก

ผู้สนับสนุนคตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จบางท่าน เห็นงานของ ดร. คูนว่าเป็นเครื่องพิสูจน์ความเห็นของตน เพราะว่า ดร. คูน ให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าโดยปฏิเสธทฤษฎีที่ไม่สมบูรณ์ และเป็น "การตัดสินใจ" ของนักวิทยาศาสตร์ ที่จะยอมรับหรือปฏิเสธทฤษฎี ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของคตินิยม คนเด่นที่สุดในกลุ่มนี้ก็คือ นักปรัชญาชาวฮังการี ดร.อีมเร ลอกอโตช

ดร.ลอกอโตชพยายามอธิบายงานของ ดร.คูน โดยอ้างว่า วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าโดยพิสูจน์ว่า "โปรแกรมงานวิจัย" เป็นเท็จ แทนที่จะพิสูจน์ประพจน์สากลโดยเฉพาะ ๆ ดังที่พบในการพิสูจน์ว่าเท็จแบบสามัญโดยวิธีของ ดร.ลอกอโตช นักวิทยาศาสตร์ทำงานภายในโปรแกรมการวิจัย ที่คล้าย ๆ กับระบบ (paradigm) ของ ดร.คูนและเปรียบเทียบกับ ดร.ป็อปเปอร์ ที่ปฏิเสธการใช้สมมติฐานเฉพาะกิจว่า ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ดร.ลอกอโตชยอมรับการใช้เมื่อกำลังพัฒนาทฤษฎีใหม่ ๆ[20]

ฟายอาเบ็นด์

ส่วน ดร. พอล ฟายอาเบ็นด์ (Paul Feyerabend) ตรวจสอบประวัติวิทยาศาสตร์แบบวิเคราะห์ แล้วปฏิเสธระเบียบวิธีที่เป็นกฎทุกอย่างเขาคัดค้านข้ออ้างของ ดร.ลอกอโตช เกี่ยวกับสมมติฐานเฉพาะกิจ โดยอ้างว่า วิทยาศาสตร์จะไม่สามารถก้าวหน้าโดยไม่ใช้กลวิธีทุกอย่างที่มีเพื่อสนับสนุนทฤษฎีใหม่ ๆ เขาปฏิเสธการอิงระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ และการยกย่องเป็นพิเศษของวิทยาศาสตร์ที่อาจสืบมาจากการใช้ระเบียบวิธีเช่นนั้นเขาอ้างว่า ถ้าจะต้องมีกฎทางระเบียบวิธีที่สมเหตุสมผลอย่างสากล หลัก "epistemological anarchism (อนาธิปไตยทางญาณวิทยา)" หรือว่า "ทำอะไรก็ได้" ก็จะเป็นกฎเดียวที่มีสำหรับ ดร. ฟายอาเบ็นด์ ฐานะพิเศษที่วิทยาศาสตร์อาจจะมี สืบมาจากคุณค่าทางสังคมและทางกายภาพที่ได้จากผลงานของวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่จากระเบียบวิธี

โซกัลและบรีกมอนต์

ในหนังสือ เรื่องเหลวไหลที่เป็นแฟชั่น (Fashionable Nonsense) หรือที่พิมพ์ในสหราชอาณาจักรในชื่อ เรื่องหลอกลวงทางปัญญา (Intellectual Impostures) นักฟิสิกส์ อัลแลน โซกัล และชอน บรีกมอนต์ วิจารณ์การพิสูจน์ว่าเท็จว่า ไม่ได้บรรยายการทำงานของวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องพวกเขาอ้างว่า มีการใช้ทฤษฎีต่าง ๆ เพราะความสำเร็จของทฤษฎี ไม่ใช่เพราะความล้มเหลวของทฤษฎีอื่น การกล่าวถึง ดร.ป็อปเปอร์ การพิสูจน์ว่าเท็จ และปรัชญาวิทยาศาสตร์อยู่ในบทชื่อว่า "Intermezzo"ซึ่งแสดงจุดยืนของตนว่าอะไรเป็นความจริง เปรียบเทียบกับสัมพัทธนิยมทางญาณวิทยาแบบสุดโต่ง (extreme epistemological relativism)

พวกเขาได้กล่าวไว้ว่า

เมื่อทฤษฎีหนึ่งยืนหยัดความพยายามพิสูจน์ว่าเท็จได้สำเร็จ นักวิทยาศาสตร์โดยธรรมชาติก็จะพิจารณาทฤษฎีนี้ว่ายืนยันแล้วในระดับหนึ่ง และจะให้คะแนนว่ามีโอกาสเป็นจริงที่สูงกว่า...แต่ว่าป็อปเปอร์ไม่เอาอย่างนี้ทั้งหมด ทั้งชีวิตของเขาเป็นคนต่อต้านอย่างดื้อรั้นแนวคิดทุกอย่างเกี่ยวกับการยืนยันทฤษฎี หรือแม้แต่ "ความน่าจะเป็น" (ที่ทฤษฎีจะเป็นจริง)... (แต่) ประวัติวิทยาศาสตร์สอนเราว่า ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ กลายเป็นเรื่องที่ยอมรับก่อนอื่นทั้งหมดก็เพราะความสำเร็จของพวกมัน"[21]

พวกเขาอ้างต่อไปว่า การพิสูจน์ว่าเท็จไม่สามารถแยกแยะระหว่างโหราศาสตร์กับดาราศาสตร์ เพราะว่า ทั้งสองล้วนแต่ทำการพยากรณ์ที่บางครั้งก็ผิดพลาด

นักปรัชญาร่วมสมัย ศ.ดร.เดวิด มิลเล่อร์ ผู้เคยทำงานเป็นผู้ช่วยงานวิจัยของ ดร.ป็อปเปอร์[22][23] ได้พยายามตอบโต้ต่อข้อวิจารณ์เหล่านี้ป้องกันแนวคิดของ ดร.ป็อปเปอร์[24][23] โดยอ้างว่า โหราศาสตร์ไม่ได้เปิดให้พิสูจน์ว่าเป็นเท็จเท่ากับดาราศาสตร์ และนี่เป็นการทดสอบแบบเฉียบขาด (litmus test) สำหรับความเป็นวิทยาศาสตร์

ใกล้เคียง

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ การพิสูจน์ตัวจริงด้วยปัจจัยหลายอย่าง การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค การพิชิตจักรวรรดิแอซเท็กของสเปน การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม การพิชิตมักกะฮ์ การพิสูจน์ตัวจริงโดยไร้รหัสผ่าน การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน การพิมพ์ การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ http://books.google.com.au/books/about/The_Logic_o... http://books.google.com/books?id=C_O8QgAACAAJ http://books.google.com/books?id=JLBrL3WALTQC&pg=P... http://books.google.com/books?id=ibePpZ-6lkgC&pg=P... http://www.the-rathouse.com/bartagree.html http://www.time.com/time/archive/preview/0,10987,1... http://www.gkpn.de/popper.htm http://cla.calpoly.edu/~fotoole/321.1/popper.html http://plato.stanford.edu/entries/methodological-i... http://plato.stanford.edu/entries/popper/