โครงการในความรับผิดชอบ ของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

กรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ชื่อว่า รถไฟฟ้ามหานคร แบ่งเป็นหลายสาย ดังนี้

  • รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) เป็นสัมปทานของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2547
    • ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-เตาปูน เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2560
    • ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2562
    • ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระ เปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2562
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) เป็นโครงการที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
    • ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - สุวินทวงศ์ อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาที่ 1-6[7]
    • ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์ อยู่ระหว่างการเตรียมเปิดประกวดราคา
  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) เป็นสัมปทานของ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) เป็นสัมปทานของ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (ช่วงแคราย-บึงกุ่ม) อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด

นอกจากนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ยังได้รับหน้าที่ในการก่อสร้างส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (ช่วงลำลูกกา - สมุทรปราการ) ต่อจากกรุงเทพมหานคร เพื่อทำการขยายเส้นทางจากตัวเมืองออกสู่จังหวัดใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ เส้นทางดังกล่าวจะตกเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครตามมติของคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้จะมีความยาวถึง 66.5 กิโลเมตร (รวมเส้นทางสัมปทานและส่วนต่อขยายของกรุงเทพมหานคร) และได้แบ่งโครงการในการก่อสร้างดังนี้

  • ส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ (ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ) เปิดให้บริการแล้ว
  • ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต) การก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดแล้วเสร็จ อยู่ในระหว่างดำเนินการติดตั้งระบบรถไฟฟ้า โดยกำหนดเปิดให้บริการเป็น 3 ส่วน ภายในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563[8]

จังหวัดเชียงใหม่

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้เข้าไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่จำนวนสามสายทาง ดังนี้

  • รถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ - แยกพรอเมนาดา)
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงท่าอากาศยานเชียงใหม่ - แยกรวมโชค)

ปัจจุบันทั้งสามสายทางยังอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด และรับฟังความเห็นจากประชาชน

จังหวัดภูเก็ต

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้เข้าไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบาในจังหวัดภูเก็ต โดยมีเส้นทางทั้งหมดสองช่วง ดังนี้

  • ช่วงห้าแยกฉลอง - ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
  • ช่วงสถานีรถไฟท่านุ่น - ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต

ปัจจุบันทั้งสองช่วงยังอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด

ใกล้เคียง

การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การรถไฟมาลายา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (สิงคโปร์) การรถไฟรัฐซาบะฮ์ การรถไฟแห่งรัฐเกาหลี การรถไฟแห่งชาติฟิลิปปินส์ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเกาสฺยง การรถไฟสหพันธรัฐออสเตรีย การรถไฟเวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย http://www.mrta.co.th/ http://www.mrta.co.th http://www.mrta.co.th/about_mrta.htm http://www.mrta.co.th/project/project_new.htm http://www.thairath.co.th/content/487058 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0001950... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/... https://www.naewna.com/politic/452206