ความคล้ายคลึงกับบำบัดอื่น ของ การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา

ACT, พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (DBT), functional analytic psychotherapy (FAP), การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ (MBCT) และการบำบัดที่อาศัยการยอมรับและสติอื่น ๆ มักจะรวมเรียกว่า "คลื่นลูกที่สามของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม"[20][21]คลื่นลูกแรก คือ การบำบัดพฤติกรรม (behaviour therapy) เริ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยมีมูลฐานทฤษฎีในการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (Classical conditioning) และเงื่อนไขจากตัวดำเนินการ (operant conditioning) ที่มีสหสัมพันธ์กับผลที่ได้การเสริมแรงส่วนคลื่นลูกที่สองเกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 และรวมการบำบัดความคิดในรูปแบบความเชื่อที่ไม่สมเหตุผล ทัศนคติที่ใช้ไม่ได้ผล และการให้เหตุผลเรื่องต่าง ๆ ที่ก่อความซึมเศร้า[22]ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 หลักฐานที่จำกัดและความแคลงใจทางปรัชญาของคลื่นลูกที่สอง ทำให้ ศ. ดร. เฮยส์พัฒนาทฤษฎี ACT ที่เปลี่ยนความสนใจจากรูปแบบและองค์ประกอบของพฤติกรรมผิดปกติไปยังตัวบริบทที่พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น[22]งานวิจัยเกี่ยวกับ ACT แสดงว่า วิธีการต่อต้านอารมณ์ที่ใช้ในการแก้ความผิดปกติ จริง ๆ กลับพัวพันก่อความทุกข์ให้[23]

ดร. เฮย์ส กล่าวถึงวิธีการรักษาแบบคลื่นลูกที่สามเหล่านี้ในปาฐกถาในฐานะประธานสมาคมการบำบัดพฤติกรรมและความคิด (Association for Behavioral and Cognitive Therapies) ว่า

โดยมีฐานอยู่ในวิธีการที่มีหลักฐานและมีหลักการ คลื่นลูกที่สามของการบำบัดพฤติกรรมและความคิดสนใจเป็นพิเศษในเรื่องบริบทและการทำงานของปรากฏการณ์ทางจิต ไม่ใช่เพียงแค่รูปแบบของพวกมัน และดังนั้นมักจะเน้นกลยุทธ์บำบัดแบบเปลี่ยนบริบทหรือเปลี่ยนประสบการณ์

นอกเหนือไปจากกลยุทธ์แบบตรง (แบบเปลี่ยนพฤติกรรม) และแบบให้ความรู้การรักษาเช่นนี้จะพยายามสร้างคลังทักษะที่กว้างขวาง ยืดหยุ่นได้ และมีประสิทธิผลนอกเหนือไปจากวิธีการกำจัดปัญหาแคบ ๆ และจะเน้นความเกี่ยวข้องของปัญหาที่พยายามแก้กับทั้งผู้รักษาและกับคนไข้คลื่นลูกที่สามเปลี่ยนและสังเคราะห์การบำบัดพฤติกรรมและความคิดรุ่นก่อน ๆ และนำไปสู่การไขคำถาม ปัญหา และเรื่องอื่น ๆ ที่เมื่อก่อนต้องใช้วิธีการอย่างอื่นเป็นหลักเพื่อแก้โดยหวังว่าจะเพิ่มทั้งความเข้าใจและผลที่ได้[24]

มีการปรับใช้ ACT เพื่อสร้าง Acceptance and Commitment Training (การฝึกการยอมรับและการให้สัญญา) ที่ไม่ได้ใช้เพื่อรักษาเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาความมีสติ การยอมรับ และทักษะเกี่ยวกับค่านิยม ในสถานการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ เช่น ในธุรกิจหรือโรงเรียน ซึ่งก็มีงานวิจัยหลายงานได้ตรวจสอบแล้วพบผลที่ดีในเบื้องต้น[25]ซึ่งคล้ายกับขบวนการบริหารความสำนึกในโปรแกรมการศึกษาทางธุรกิจ ที่ใช้สติและการเปลี่ยนความคิดเป็นเทคนิค[ต้องการอ้างอิง]งานศึกษาปี 2543 ได้ตรวจสอบความเข้ากันได้ระหว่าง ACT และการรักษาการติดที่เรียกว่า 12-step แล้วอ้างว่า โดยไม่เหมือนจิตบำบัดวิธีอื่น ๆ ทั้งสองวิธีสามารถรวมเข้าด้วยกันได้เพราะว่าคล้ายกันมากคือ ทั้งสองวิธีสนับสนุนการยอมรับแทนที่การควบคุมที่ไม่ได้ผลACT เน้นความเป็นไปไม่ได้ของการพึ่งกลยุทธ์ที่ไม่ได้ผลเพื่อควบคุมประสบการณ์ทางใจ เหมือนกับวิธี 12-step ที่เน้นการยอมรับความช่วยไม่ได้ในการติดทั้งสองวิธีสนับสนุนให้เปลี่ยนวิถีชีวิตแบบกว้าง ๆ แทนที่จะมุ่งกำจัดการใช้สารเสพติด และทั้งสองให้คุณค่าสูงกับแผนระยะยาวเพื่อสร้างชีวิตให้มีความหมายตามค่านิยมของคนไข้ทั้งสองวิธีสนับสนุนการพัฒนาความรู้สึกที่เหนือตน โดยเป็นเรื่องทางจิตวิญญาณที่ไม่ต้องเป็นไปตามแบบแผนของสังคมโดยเป็นของเฉพาะบุคคลอย่างสุดท้ายก็คือ ทั้งสองยอมรับปฏิทรรศน์ว่า การยอมรับเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อที่จะเปลี่ยน และทั้งสองสนับสนุนให้เข้าใจอย่างขำ ๆ ถึงความสามารถที่จำกัดของการคิด[26]

ใกล้เคียง

การรับรู้รส การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้ไฟฟ้า การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรัดเท้า การรับรู้ความใกล้ไกล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา http://actmindfully.com.au/upimages/Dr_Russ_Harris... http://www.blakepsychology.com/2014/04/act-self-co... http://www.ijpsy.com/volumen10/num1/256.html http://www.irishtimes.com/newspaper/health/2011/06... http://m.psychologytoday.com/blog/insight-therapy/... http://www.psychologytoday.com/blog/two-takes-depr... http://www.stevenchayes.com http://www.unr.edu/psych/shayes.html http://www.eric.ed.gov/ERICWebPortal/search/detail... http://www.eric.ed.gov/ERICWebPortal/search/detail...