การผ่าตัด ของ การรักษาตาเหล่

ดูบทความหลักที่: การผ่าตัดกล้ามเนื้อตา

การรักษาปกติจะเป็นการผ่าตัด โดยทำที่จุดดึงกล้ามเนื้อตา (insertional end) ซึ่งเป็นส่วนที่ยึดอยู่กับลูกตาการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อออก (Resection) จะยืดกล้ามเนื้อการร่น (recession) จะเลื่อนจุดยึดกล้ามเนื้อออกเพื่อลดการยืดการย้ายข้าง (transposition) จะเลื่อนจุดยึดกล้ามเนื้อไปข้าง ๆ เพื่อเปลี่ยนทิศทางการทำงานของกล้ามเนื้อposterior fixation เป็นการย้ายจุดยึดกล้ามเนื้อไปยังตำแหน่งที่ทำให้สมรรถภาพทางกายภาพลดลงทั้งหมดเหล่านี้เป็นการสร้างความบกพร่องเพื่อชดเชยการทำงานไม่สมดุลของกล้ามเนื้อและโดยเปรียบเทียบแล้ว การฉีดยาเพื่อรักษาจะมีโอกาสเพิ่มหรือลดกำลังกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นได้ เปลี่ยนความยาวของกล้ามเนื้อ โดยที่ไม่ต้องตัดเนื้อออกหรือเปลี่ยนกลไกการทำงานของตา[28][21][22]วิธีการรักษาตาเหล่โดยการตัดใยกล้ามเนื้อได้เสนอโดยแพทย์ชาวอเมริกันตั้งแต่ปี 2380[29]

นอกจากนั้นเลนส์แว่นตาทรงกลมและยาหยอดตาที่หดรูม่านตา สามารถช่วยบรรเทาตาเหล่ไปทางด้านข้างเป็นบางชนิด โดยเปลี่ยนความสมดุลของการทำงานระหว่างการเบนตาเข้า (convergence) และการปรับตาดูใกล้ไกล ส่วนเลนส์ปริซึมจะช่วยลดการเห็นภาพซ้อน (diplopia) โดยการหักเหแสง[30][31]แต่การรักษาเช่นนี้ไม่ได้แก้ปัญหากล้ามเนื้อตาที่ไม่สมดุล แต่การผ่าตัดก็สามารถรักษาภาวะ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน

ใกล้เคียง

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้รส การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้ไฟฟ้า การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรับรู้ความใกล้ไกล การรับน้อง