ยา ของ การรักษาตาเหล่

ผู้ใหญ่ที่ร่วมมือได้จะสามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยาที่กล้ามเนื้อตาโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ในแผนกผู้ป่วยนอก และสำหรับยาบางชนิด โดยใช้ยาสลบแบบไม่แรง[3][4]ในกรณีแรก สามารถวางเข็มในตำแหน่งของกล้ามเนื้อที่ต้องการฉีดโดยใช้ EMG (Electromyography) ได้[5]เพราะคนไข้ที่มีสติจะสามารถมองไปในทิศที่แพทย์กำหนด ผู้จะเลื่อนเข็มไปตาม electromyogram ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มาจากกล้ามเนื้อที่กำลังทำงาน และจะบ่งตำแหน่งที่ดีที่สุด ทำให้สามารถฉีดยาเข้าอย่างแม่นยำได้และยาบางประเภท (เช่น โบทูลินั่ม ท็อกซิน) จะสามารถฉีดเข้าที่จุดดึงกล้ามเนื้อ (insertional end) โดยใช้คีมพิเศษและตาเปล่า[6]แล้วปล่อยให้กระจายไปเอง เทียบกับยาอื่น ๆ (เช่น bupivacaine) ที่ต้องฉีดกระจายให้ทั่วกล้ามเนื้อเอง[7]ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีการกำหนดตำแหน่งโดยเครื่องมือดังนั้น Electromyography จึงสามารถใช้กำหนดตำแหน่งให้ฉีดยาได้แม่นยำขึ้น แต่จะใช้ได้กับผู้ใหญ่ที่มีสติและให้ความร่วมมือได้เท่านั้น

เพราะการฉีดยาไม่มีผลเป็นแผลเป็นที่บ่อยครั้งเป็นผลของการผ่าตัดแก้ตาเหล่ดังนั้น ถ้าไม่ได้ผลที่ต้องการโดยฉีดยาเพียงครั้งเดียว ก็อาจฉีดยาซ้ำหรือผ่าตัดได้อย่างไม่มีปัญหา[8][9]

การฉีดยารักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดเริ่มที่งานศึกษา พ.ศ. 2516 ที่พัฒนาใช้โบทูลินั่ม ท็อกซินเพื่อรักษา[10]เนื่องจากตาเหล่บางรูปแบบสามารถแก้ได้โดยทำกล้ามเนื้อตาบางมัดให้อ่อนแรงดังนั้น จึงสามารถใช้โบทูลินั่ม ท็อกซินเพื่อลดการสื่อประสาทไปยังกล้ามเนื้อ มีผลทำกล้ามเนื้อที่ฉีดยาให้อัมพาต[11][12][13]

ความอัมพาตจะเป็นเพียงแค่ชั่วคราว แม้ดูเหมือนว่าการฉีดยาจะต้องทำอย่างซ้ำ ๆแต่กล้ามเนื้อก็จะปรับตัวให้ยาวเท่ากับตำแหน่งที่อยู่ประจำเสมอ ๆดังนั้น กล้ามเนื้อที่อัมพาตจึงมักยืดออกเพราะกล้ามเนื้อตรงกันข้ามเป็นตัวดึง แล้วยาวขึ้นโดยเพิ่มหน่วย sarcomere ซึ่งเป็นหน่วยหดเกร็งพื้นฐานของกล้ามเนื้อ โดยเพิ่มต่อ ๆ กัน และกล้ามเนื้อตรงข้ามก็จะสั้นลงโดยสละ sarcomere ออก[14]ดังนั้น กล้ามเนื้อทั้งสองจึงอาจลงตัวพอดีเมื่อความอัมพาตสิ้นสุดลงนอกจากนั้น ถ้าสามารถเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ดีเมื่อความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อลดลงพอ กลไก motor fusion ที่ประสาทและกล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่เล็งตาไปยังเป้าหมายที่เห็นได้ด้วยทั้งสองตา ก็จะสร้างความเสถียรให้กับแนวตาที่ตรง[15]

โบทูลินั่ม เอ ท็อกซิน (ซึ่งเริ่มขายเป็น Oculinum และปัจจุบันเรียกว่าโบท็อกซ์) เป็นยาที่ใช้ทำกล้ามเนื้อตาให้อัมพาตชั่วคราวเป็นหลัก และปัจจุบันแพทย์ได้นำมาใช้อย่างกว้างขวาง โดยเป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งนอกเหนือจากการผ่าตัดสำหรับตาเหล่บางชนิด[16][1] ยังมีพิษงู (Crotoxin) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่กำลังพัฒนาใช้เพื่อการนี้ในประเทศบราซิล[17]

โบทูลินั่ม ท็อกซิน

การฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซินมักจะใช้สำหรับอาการตาเหล่เข้าของทารก (Infantile esotropia) ตาเหล่ที่เกิดในวัยผู้ใหญ่ และตาเหล่ที่เกิดเพราะการผ่าตัดแก้จอตาลอก โดยจะเป็นตาเหล่แบบค่อนข้างน้อยจนถึงปานกลางซึ่งก็คือ เป็นกรณีของคนไข้ที่มีโอกาสมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ดี เพราะตาที่มองตรงจะเกิดความเสถียรผ่านกระบวนการ motor fusion

ความอัมพาตของกล้ามเนื้อตา lateral rectus เหตุเส้นประสาทสมองที่หก (Sixth nerve) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่หมุนตาออกนอก มักมีเหตุจากการขาดเลือด และบ่อยครั้งจะฟื้นสภาพได้ค่อนข้างมากในระยะอัมพฤกษ์ฉับพลัน (acute stage) กล้ามเนื้อจะยืดยาวออก และกล้ามเนื้อตรงข้ามได้คือ medial rectus จะสั้นลงอาการนี้อาจรักษาโดยฉีดยาเข้าที่กล้ามเนื้อ medial rectus ซึ่งก็จะช่วยกล้ามเนื้อ lateral rectus ที่แม้จะอัมพฤกษ์ ให้สามารถยืดกล้ามเนื้อ medial rectusโดยตนเองจะสั้นลงและในที่สุด เมื่ออัมพฤกษ์บรรเทาลง แนวของตาก็จะดีขึ้นท็อกซินยังมีประโยชน์ในอัมพฤษ์เหตุเส้นประสาทสมองอื่น ๆ ที่มีผลต่อกล้ามเนื้อตา

นอกจากนั้น แนวตาที่ไม่ตรงที่เหลือหลังจากการผ่าตัดโดยทั่วไปยังสามารถแก้ได้ด้วยการฉีดยาการฉีดท็อกซินยังสามารถบรรเทาอย่างชั่วคราวระยะฉับพลันของ thyroid ophthalmopathy ที่แนวตาซึ่งไม่ตรงจะผันผวนเกินไปที่จะผ่าตัดแก้ได้ยังมีการฉีดท็อกซินในระหว่างการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาเพื่อเพิ่มผลอีกด้วยและในกรณีตาเหล่ที่ซับซ้อน ยังสามารถฉีดท็อกซินเพื่อช่วยวินิจฉัยและวางแผนการผ่าตัดได้ด้วย[3][1][18]

กล้ามเนื้อออกแรงโดยเกร็ง (ซึ่งควบคุมโดยเส้นประสาท) และยืดโดยทั้งสองจะขึ้นอยู่กับความยาวของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นตัวกำหนดการยืดหดเนื่องกับตาไปสู่ตำแหน่งต่าง ๆโบทูลินั่ม ท็อกซินจะทำให้กล้ามเนื้ออัมพาตแล้วลดแรง โดยกำจัดหรือลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ[19]

โบทูลินั่ม ท็อกซิน เป็นพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ที่พบในไซโทพลาซึมของแบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศ Clostridium botulinumซึ่งเข้ายึดอย่างมีสัมพรรคภาพสูงกับจุดยึดต่าง ๆ ที่ปลายประสาทแบบ cholinergic และลดการหลั่งสารสื่อประสาท acetylcholine ดังนั้นจึงลดการสื่อประสาทไปยังกล้ามเนื้อ (neuromuscular transmission) และทำให้กล้ามเนื้ออัมพาต[12][13]โดยพิษงู Crotoxin ก็ปรากฏว่ามีฤทธิ์คล้าย ๆ กัน[20]

เพื่อจะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแอ แพทย์จะฉีดท็อกซินประมาณ 1-12 หน่วย (ไม่กี่นาโนกรัม) เข้าไปในกล้ามเนื้อโดยตรงโดยกล้ามเนื้อจะอ่อนแรงลงภายใน 48-72 ชม. แล้วเป็นอัมพฤกษ์ (คือเป็นอัมพาตบางส่วน) เป็นระยะเวลา 2-4 เดือน ซึ่งกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนความยาว แล้วกระบวนการ motor fusion ก็จะทำแนวตาใหม่ให้เสถียร[1]

ภาวะแทรกซ้อน

การตกเลือดใต้เยื่อตา หนังตาตก และตาที่เหล่ขึ้น/ลงเป็นอาการแทรกซ้อนที่สามัญที่สุด แต่โดยมากจะหายไปภายในไม่กี่อาทิตย์โดยหนังตาตกและความตาเหล่ขึ้น/ลง จะมีเหตุจากท็อกซินที่กระจายไปยังกล้ามเนื้อรอบ ๆ ดังนั้น ความเสี่ยงก็จะลดลงถ้าใช้ยาน้อยลงและใช้เทคนิคการฉีดยาที่แม่นยำมากขึ้นส่วน "การรักษาแก้เกิน" เช่นตาที่เหล่ออกหลังจากรักษาตาเหล่เข้าในวัยทารก (infantile esotropia) ปกติจะทำให้ตาตรงดีในระยะยาว ดังนั้น จึงเป็นภาวะแทรกซ้อนเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาการแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่น การทะลุลูกตา (globe perforation) หรือการตกเลือดหลังลูกตา (retrobulbar hemorrhage) มีน้อยมาก[16][1]ไม่มีรายงานว่ามีผลข้างเคียงทั้งระบบในคนไข้ที่รักษาความตาเหล่ และไม่ปรากฏว่าภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นต่อต้านโบทูลินั่ม ท็อกซิน แม้หลังการฉีดยาหลายครั้ง

Bupivacaine

การฉีดยา Bupivacaine เป็นวิธีการรักษาโดยยาอย่างเดียวที่มีหลักฐานทางคลินิกแสดงว่า ทำให้กล้ามเนื้อตาสั้นลงหรือยาวขึ้นได้[21][22][9][23]ส่วน Myogenic growth factors (IGF และ FGF) ได้ทดสอบแล้วในสัตว์เท่านั้น[24][25]

bupivacaine ได้ใช้เป็นยาชาในการผ่าตัดต้อกระจกมานานแล้ว โดยบางครั้งพบว่าเป็นเหตุให้ตาเหล่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะฉีดเข้ากล้ามเนื้อตาโดยบังเอิญและในเบื้องต้นให้เหตุผลว่าเพราะเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อ[26]แต่สังเกตการณ์อย่างละเอียดเกี่ยวกับความเป็นไปของอาการพบความซับซ้อนยิ่งกว่านั้น รวมทั้งการหดเกร็งและความไม่ยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อแข็งขึ้น[27]แล้วต่อมาจึงชัดเจนว่า การฉีด bupivacaine ก่อให้กล้ามเนื้อโตเกิน (hypertrophy) อย่างอ่อน ๆ ซึ่งสามารถใช้ลดความยาวของกล้ามเนื้อเพื่อทำตาให้ตรง[22]

การฉีด Bupivacaine ปัจจุบันเป็นวิธีการที่ทำได้ในคลินิก โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ในผู้ใหญ่ซึ่งให้ความร่วมมือได้และได้ใช้เป็นทางเลือกการผ่าตัดรักษาตาเหล่ระดับปานกลาง ที่ไม่ได้มีเหตุจากอัมพาต หรือจากการจำกัดการทำงานของกล้ามเนื้อตั้งแต่ปี 2549ตาที่แก้แล้วบันทึกว่าเสถียรได้ถึง 5 ปี[22][23]

การรักษาเสริม (Adjuvants)

กล้ามเนื้อที่รักษาด้วย bupivacaine จะยาวเปลี่ยนไปขึ้นอยู่ความยาวที่คงสภาพเมื่อมันกำลังฟื้นตัวการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซินขนาดน้อยในกล้ามเนื้อตรงกันข้ามจะทำให้มันไม่มีกำลังหลายสัปดาห์ และลดการยืดของกล้ามเนื้อที่ฉีด bupivacaine ซึ่งทำให้มันเจริญคืนสภาพแต่สั้นลง และดังนั้น จะทำให้ bupivacaine มีฤทธิ์ช่วยทำตาให้ตรงได้ถึงสองเท่าประสิทธิผลของการฉีด bupivacaine ยังอาจเพิ่มขึ้นถ้าใช้ร่วมกับสารบีบหลอดเลือดเอพิเนฟรีน ซึ่งยืดระยะเวลาที่กล้ามเนื้อจะได้รับยา[22]

ใกล้เคียง

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้รส การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้ไฟฟ้า การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรับรู้ความใกล้ไกล การรับน้อง