การรับรู้ร้อนเย็น

การรับรู้ร้อนเย็น (อังกฤษ: Thermoception, thermoreception) เป็นกระบวนการที่ประสาทสัมผัสของสิ่งมีชีวิตรับรู้อุณหภูมิโดยตรงแล้ว เป็นการรับรู้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือการแลกเปลี่ยนความร้อนแต่การทำงานของตัวรับร้อนเย็น/ปลายประสาทรับร้อนก็ยังกำลังตรวจสอบดูอยู่โรค ciliopathy[upper-alpha 1]สัมพันธ์กับสมรรถภาพการรู้ร้อนเย็นที่ลดลง ดังนั้น ซีเลียจึงอาจมีส่วนในการรับรู้[3]ช่องไอออนคือ Transient receptor potential channel (TRP channel) เชื่อว่ามีบทบาทในการรับรู้ร้อน รู้เย็น และรู้ความเจ็บปวดในสิ่งมีชีวิตหลายสปีชีส์สัตว์มีกระดูกสันหลังมีตัวรับรู้อย่างน้อยสองอย่างคือ รู้ร้อนและรู้เย็น[4]รูปแบบพิเศษของการรู้เย็นร้อนมีอยู่ในงูวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) และงูวงศ์งูโบอา (Boidae) ซึ่งเท่ากับเห็นการแผ่รังสีอินฟราเรดของวัตถุ/สัตว์ที่ร้อน[5]คืองูมีอวัยวะเป็นรู 2 รู (pits) เหนือปากที่บุด้วยตัวรับอุณหภูมิตัวรับจะตรวจจับความร้อนที่เกิดตรงผิวหนังภายในอวัยวะเนื่องกับการแผ่รังสีอินฟราเรด จึงเป็นการตรวจจับการแผ่รังสีโดยอ้อมงูจะรู้ว่าส่วนไหนของอวัยวะร้อนที่สุด ดังนั้น จึงรู้ทิศทางของต้นความร้อน ซึ่งอาจเป็นเหยื่อที่มีเลือดอุ่นเมื่อรวมข้อมูลจากรูทั้งสอง งูก็จะสามารถประมาณระยะของวัตถุได้ค้างคาวแวมไพร์ธรรมดามีตัวรับรู้อินฟราเรดภายในจมูก[6][7]เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่กินเลือดเพียงอย่างเดียวดังนั้น ตัวรู้อินฟราเรดจึงช่วยให้ค้างคาวระบุตำแหน่งของสัตว์เลือดอุ่น เช่น วัวควาย ม้า และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นสัตว์ป่า ภายในระยะ 10-15 ซม. ได้ซึ่งน่าจะช่วยระบุบริเวณที่เลือดไหลมากที่สุดบนตัวของเหยื่อสัตว์อื่นที่มีตัวตรวจับความร้อนพิเศษรวมทั้ง แมลงทับพันธุ์ Melanophila acuminata ซึ่งสืบหาไฟป่าเพราะจะวางไข่ในต้นสนที่พึ่งตายเพราะไฟป่า, ผีเสื้อสีเข้มพันธุ์ Pachliopta aristolochiae และ Troides rhadamathus ที่ใช้ตัวตรวจจับความร้อนพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายเมื่อาบแดด และแมลงกินเลือดพันธุ์ Triatoma infestans ที่อาจมีอวัยวะพิเศษด้วยในมนุษย์ ปลายประสาทรับร้อนโดยมากส่งกระแสประสาทไปยังสมองผ่าน anterolateral system/spinothalamic tract คือจะส่งข้อมูลอุณหภูมิจากร่างกายรวมศีรษะครึ่งหลัง ผ่านไขสันหลังไปยังทาลามัส แล้วต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของเปลือกสมอง โดย first order neuron อยู่ที่ปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglion) ซึ่งส่งแอกซอนขึ้น/ลงผ่าน Lissauer's tract 1-2 ข้อไขสันหลังไปยัง second order neuron ในปีกหลังของไขสันหลัง (dorsal horn) ในซีกร่างกายเดียวกันแต่อยู่ต่างระดับไขสันหลังกัน second order neuron ก็จะส่งแอกซอนข้ามไขว้ทแยงที่ไขสันหลังแล้วขึ้นไปตาม anterolateral column/spinothalamic tract ไปยังทาลามัสส่วน ventral posteriorlateral nucleus (VPL)[8]

ใกล้เคียง

การรับรู้รส การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้ไฟฟ้า การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรัดเท้า การรับรู้ความใกล้ไกล